ยื้่อเคาะค่าไฟฟ้า สร.กฟผ.จี้รัฐยุติ แปรรูปทางอ้อม

นายกฯ เผยที่ประชุม กพช.ยังไม่เคาะค่าไฟ ขอฟังความคิดเห็นให้รอบคอบก่อน ยันจะไม่ทำให้ ปชช.เดือดร้อน ขอภาคอุตสาหกรรมอย่าขึ้นราคาสินค้า "สุพัฒนพงษ์" การันตีค่าไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรมงวด 2 ต่ำกว่างวดแรก ขณะที่ "สร.กฟผ." บุกทำเนียบฯ จี้รัฐยุตินโยบายบริหารพลังงาน เหตุทำลายรัฐวิสาหกิจแปรรูปทางอ้อม ทำให้ กฟผ.เป็นเอกชนโดยปริยาย ขัด พ.ร.บ.กฟผ.

ที่ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล วันที่ 9 มีนาคม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 2/2566 ว่า ที่ประชุม กพช.หารือในหลายเรื่อง โดยเฉพาะทำอย่างไรจะทำให้มีการปรับพลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้น ให้มีการขยายกำลังการผลิตในเรื่องของพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะในระดับท้องถิ่น เพราะมีความจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาเรื่องของโลกร้อน ขยะ เพื่อนำกลับมาเป็นพลังงาน ให้สอดคล้องกับแผนพลังงานของเราในการลดพลังงานฟอสซิลลง นอกนั้นได้มีการหารือถึงการบริหารภายในเป็นเรื่องของการดูแลเกี่ยวกับค่าไฟฟ้าต่างๆ

 “ก็พยายามจะไม่ให้เกิดความเดือดร้อนกับประชาชนในทุกกลุ่ม การดูแลประชาชนผู้มีรายได้น้อยก็ยังมีความจำเป็น ในส่วนของราคาพลังงานก็อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็น ยืนยันว่ารัฐบาลไม่ต้องการทำให้ใครเดือดร้อนทั้งสิ้น แต่ต้องเข้าใจว่าเราต้องบริหารอย่างระมัดระวังที่สุด ถ้าเราบริหารไม่ถูกต้องหรือไม่ดี ก็จะมีปัญหาระยะยาวในวันข้างหน้า ซึ่งผมยืนยันและได้ให้แนวทางไปแล้วว่าจะต้องทำให้เดือดร้อนน้อยที่สุดหรือไม่เดือดร้อนเลย ถ้าสถานการณ์มันดีขึ้น สถานการณ์โลกดีขึ้น วันนี้เรายังมีความเป็นห่วงกังวลในเรื่องของอัตราเงินเฟ้อ เรื่องการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของต่างประเทศ เพราะส่งผลกระทบกับเรา"

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวต่อว่า รัฐบาลทำอย่างเต็มที่แล้ว เมื่อสักครู่ได้พูดคุยกับคณะทำงานด้านเศรษฐกิจกระทรวงการคลัง นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วันนี้เราถือว่าเราทำได้ดีมากพอสมควร และถือว่าดีมากด้วยซ้ำไปถ้าเทียบกับหลายๆ ประเทศ ก็ขอให้ประชาชนเข้าใจ และร่วมมือกับรัฐบาลบ้างก็แล้วกัน ทั้งนี้ ที่ประชุมไม่ได้พิจารณาและพูดถึงเรื่องของค่าก๊าซธรรมชาติและก๊าซหุงต้ม แต่มีการพูดถึงพิจารณาเรื่องของค่าไฟฟ้า

ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ประชุม กพช.ได้มีการพิจารณาตรึงเรื่องราคาค่าไฟฟ้าอย่างไร พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า มาตรการใดที่เราเคยทำไว้แล้วเราก็จะทำต่อเนื่อง ซึ่งเช้าวันเดียวกันนี้ก็มีข่าวว่าราคาค่าไฟฟ้าจะพุ่งไปถึง 4 บาทกว่า ขณะนี้ทางคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็น มันนิดๆ นิดหน่อยๆ ก็ต้องช่วยกันบ้าง ไม่เช่นนั้นรัฐบาลก็จะต้องใช้เงินเดือนละเป็นหมื่นๆ ล้านบาท ก็ขอความเข้าใจด้วยก็แล้วกัน เราก็พยายามทำให้เต็มที่เพื่อไม่ให้ระยะยาวมันมีปัญหาเกิดขึ้นในอนาคตด้วย และไม่อยากสร้างภาระให้กับรัฐบาลใหม่ นี่คือความในใจของนายกฯ เป็นแบบนี้ ไม่อยากสร้างภาระใครจะเป็นรัฐบาล ก็ถือว่าทำให้ดีที่สุดก็แล้วกัน

ผู้สื่อข่าวถามว่า ในส่วนของภาคเอกชน หากไม่สามารถลดค่าไฟฟ้าลงได้ก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่างๆ สูงขึ้นประชาชนก็จะได้รับผลกระทบ นายกฯ กล่าวว่า เรื่องนี้ก็ต้องขอร้องกัน วันนี้รัฐบาลก็พยายามทำอย่างเต็มที่ และดูแลภาคอุตสาหกรรมอย่างเต็มที่แล้ว และได้มีการพูดคุยและหารือกันไปบ้างแล้ว ทุกคนก็โอเค บางอย่างก็ต้องนึกถึงผู้ที่มีรายได้น้อยหรือกลุ่มเปราะบาง ก็ต้องดูแลกันว่าตรงนี้ต่อเดือนใช้เงินเป็นหมื่นๆ ล้านบาท ก็ดูแลกันอย่างเต็มที่แล้ว ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมก็ต้องขอร้องกันว่าอย่าขึ้นราคาสินค้าอะไรเลย

นายสุพัฒนพงษ์​ พันธ์มีเชาว์​ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พลังงาน​ เปิดเผยว่า​ อัตราค่าไฟฟ้างวดที่ 2 ของปี 2566 (พ.ค.-ส.ค.2566) ของภาคอุตสาหกรรมจะต้องต่ำกว่างวดแรกปี 2566 และจะเป็นอัตราเดียว​ ไม่ใช่​ 2 อัตราเหมือนที่ผ่านมา​ ที่รัฐบาลพยายามช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ​ เนื่องจากขณะนี้สถานการณ์ราคาพลังงานดีขึ้น ทำให้ต้นทุนต่างๆ ลดลงได้​ อัตราค่าไฟฟ้าเมื่อรวมไฟฟ้าฐาน​ ควรจะอยู่ไม่เกิน​ 4.72 บาทต่อหน่วย​ ทั้งครัวเรือนและอุตสาหกรรม ซึ่งคงต้องมาดูรายละเอียด​ โดยเฉพาะการคืนหนี้​ที่​การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.​) แบกรับภาระต้นทุนไว้​กว่า​ 1.3 แสนล้านบาท จะสามารถปรับอย่างไรได้บ้าง

ที่ผ่านมา​ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.​) พิจารณาอัตราค่าไฟฟ้าเป็น 2 อัตรา คือครัวเรือนคิดค่าไฟที่ 4.72​ บาทต่อหน่วย และผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่น และอุตสาหกรรม​ คิดอัตรา 5.33 บาทต่อหน่วย​

นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขานุการสำนักงาน กกพ. กล่าวว่า เบื้องต้นได้รับทราบข้อห่วงใยจาก กพช.แล้ว โดยอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยที่เรียกเก็บกับประชาชนงวดเดือน พ.ค.-ส.ค.2566 จะต่ำกว่า 5 บาท/หน่วยแน่นอน ส่วนรายละเอียดจะกำหนดเป็นอัตราเดียวกันทั้งประเทศหรือไม่ กกพ.มีกำหนดการชี้แจงอีกครั้งในวันที่ 10 มี.ค.นี้ ซึ่งมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นวันที่ 10-20 มี.ค.2566 เพื่อนำเสนอให้ที่ประชุม กกพ.พิจารณาในวันที่ 22 มี.ค. ก่อนประกาศอย่างเป็นทางการช่วงต้นเดือนเม.ย.2566 ให้ทันการบังคับใช้ในเดือน พ.ค.2566

ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล กลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สร.กฟผ.) จำนวน 80 คน นำโดยนางณิชารีย์ กิตตะคุปต์ ประธาน สร.กฟผ. ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน กพช. เพื่อขอให้ยุตินโยบายตามมติ กพช.ครั้งที่ 2/2566 (ครั้งที่ 58) โดยนางณิชารีย์กล่าวว่า สร.กฟผ.ไม่เห็นด้วยกับมติเห็นชอบแนวนโยบายในการกำกับดูแลการผลิตไฟฟ้าโดยภาครัฐ ที่ฝ่ายบริหาร กฟผ.จะดำเนินการแยกศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้าออกจาก กฟผ.ด้วยเหตุผล ดังนี้

1.แนวนโยบายในการกำกับดูแลการผลิตไฟฟ้าโดยภาครัฐทั้ง 3 ข้อต้องการให้ กฟผ.บริหารแบบเอกชนเป็นการแปรรูปทางอ้อม โดยทำให้ กฟผ.เป็นเอกชนโดยปริยาย ซึ่งต้องเหมือนกับเอกชนทั่วไป บทบาทหน้าที่ของ กฟผ.จะเปลี่ยนไป ความมุ่งหมายขององค์กรก็เปลี่ยนไป จากทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน เป็นการมุ่งกำไรเช่นเดียวกับเอกชน ซึ่งขัดต่อ พ.ร.บ.กฟผ. พ.ศ.2511 มาตรา 41 ในการดำเนินกิจการของ กฟผ. ให้คำนึงถึงประโยชน์ของรัฐและประชาชน

2.ศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้ามีบทบาทหน้าที่ มีอำนาจควบคุมด้านความมั่นคงและความเป็นธรรมของระบบไฟฟ้าของประเทศ เป็นการควบคุมที่มีผลประโยชน์ ปัจจุบันรัฐมีนโยบายเอื้อประโยชน์เอกชน องค์กรนิติบุคคลใหม่ถึงแม้ว่าจะเป็นองค์กรของรัฐ ก็ย่อมให้ประโยชน์แก่เอกชน ในกิจการไฟฟ้าเมื่อเอื้อต่อเอกชนมากเกินไป ย่อมเป็นการทำลายรัฐวิสาหกิจอย่างเป็นไปเอง อันเป็นการทำลายผลประโยชน์ของชาติและประชาชน

3.ตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงาน ในมาตรา 8 (5) รัฐ หมายถึง 3 การไฟฟ้าเท่านั้น ( กฟผ., กฟภ. และ กฟน.) ไม่มีองค์กรอื่น และแต่ละองค์กรก็ประกอบกิจการตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นผู้ประกอบกิจการระบบส่งไฟฟ้า โดยที่ระบบส่งไฟฟ้าครอบคลุมไปถึงศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า ตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงาน ความพยายามในการแยกศูนย์ควบคุมฯ จึงเป็นเรื่องผิดปกติ

"แนวนโยบายในการกำกับดูแลการผลิตไฟฟ้าโดยภาครัฐ เป็นการทำลายรัฐวิสาหกิจ ทำลายความสมดุลระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน เพราะระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม มิใช่มีแต่เอกชนอย่างเดียว แต่ต้องมีภาครัฐด้วย ต้องมีความสมดุล จึงจะพัฒนาระบบเศรษฐกิจของชาติได้ เมื่อรัฐพยายามทำลายรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นภาครัฐ ก็เป็นการทำลายระบบเศรษฐกิจ ท้ายที่สุดจะมาซึ่งการขูดรีดประชาชนด้วยการค้ากำไรเกินควรของภาคเอกชน จึงขอให้ยุตินโยบายตามแนวนโยบายดังกล่าว" ประธาน สร.กฟผ.กล่าว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตอกยํ้าดีลฮ่องกง ลิ่วล้อแจงแทนนาย ‘พรรคส้ม’ ยากเป็นรัฐบาล

ตอกย้ำดีลฮ่องกงเหลว! "ณัฐวุฒิ" ขยายความ "ทักษิณ" คุย "ธนาธร" แค่เล่าชะตากรรม ไม่มีการพาดพิง ม.112 กับก้าวไกล เผยตั้งแต่โหวต "พิธา"

‘อิ๊งค์’ โชว์30บ. เวทีผู้นำเอเปก

นายกฯ อิ๊งค์โชว์ผลงาน 30 บาทรักษาทุกที่ บนเวทีผู้นำภาคเอกชนเอเปก พร้อมชวนลงทุนด้านธุรกิจดูแลสุขภาพในไทย มั่นใจหลังให้นโยบาย “บีโอไอ”

‘แม้ว’ ย่ามใจไม่เลี้ยงหลาน ทำตัวเป็น ‘ส่วนหนึ่งของปัญหา’

แม้แต่ "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" ประธานคณะก้าวหน้า และอดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ยังตั้งคำถามต่อ "ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี