‘3จว.’ชายแดนใต้ ชูประยุทธ์อีกสมัย

"บิ๊กตู่" ครองใจคนสามจังหวัดชายแดนใต้ หนุนนั่งนายกฯ ชี้ซื่อสัตย์สุจริต ทำบ้านเมืองสงบ ส่วน ส.ส.เขตเลือก "ประชาชาติ" ปาร์ตี้ลิสต์ "เพื่อไทย" ขณะที่คนไทยอยากได้ผู้นำที่เข้าถึงประชาชน แก้เศรษฐกิจ-ค่าแรง 600  นโยบายหาเสียงโดนใจ "ภท." แซง "พท." กวาด ส.ส.มากกว่า 25 คน

เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชนเรื่อง “คนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เลือกพรรคไหน”   ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 10-20 ก.พ. 2566 และมีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,100 หน่วยตัวอย่าง โดยเมื่อถามถึงบุคคลที่คนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 19.82 ระบุว่าเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) เพราะเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต ทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบ ขณะที่บางส่วนระบุว่าจะได้บริหารประเทศอย่างต่อเนื่อง และชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา, อันดับ 2 ร้อยละ 17.55 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) เพราะมีประสบการณ์ในการทำงาน เป็นคนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่อง

อันดับ 3 ร้อยละ 16.73 น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊ง) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะต้องการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามาบริหารประเทศ ชื่นชอบพรรคเพื่อไทย นโยบายของพรรคที่ผ่านมาสามารถทำได้จริง และชื่นชอบผลงานในอดีตของตระกูลชินวัตร, อันดับ 4 ร้อยละ 10.45 ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้, อันดับ 5 ร้อยละ 9.82 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ กล้าคิด กล้าทำ ชื่นชอบแนวคิดและวิธีการทำงาน และชื่นชอบนโยบายของพรรคก้าวไกล, อันดับ 6 ร้อยละ 5.91 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) เพราะสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ ชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา และชื่นชอบวิธีการทำงาน, อันดับ 7 ร้อยละ 4.18 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) เพราะเป็นคนตรงไปตรงมา พูดจริงทำจริง มีความซื่อสัตย์สุจริต ชื่นชอบรูปแบบการทำงาน และชื่นชอบนโยบายของพรรคเสรีรวมไทย

อันดับ 8 ร้อยละ 3.64 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะมีประสบการณ์ในการบริหารประเทศ ชื่นชอบนโยบายของพรรคไทยสร้างไทย และต้องการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามาบริหารประเทศ, อันดับ 9 ร้อยละ 2.91 นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) เพราะชื่นชอบนโยบายของพรรคภูมิใจไทย และชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา, อันดับ 10 ร้อยละ 2.27 นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า) เพราะเป็นคนมีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ในการบริหารประเทศ เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ และชื่นชอบนโยบายของพรรคชาติพัฒนากล้า,  อันดับ 11 ร้อยละ 2.00 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) เพราะเป็นคนน่าเชื่อถือ ทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบ ขณะที่บางส่วนระบุว่าสนับสนุนพรรคพลังประชารัฐ, อันดับ 12 ร้อยละ 1.36 นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) เพราะชื่นชอบนโยบายของพรรคเพื่อไทย ชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา และเป็นคนพูดจริงทำจริง

ส.ส.เขตเลือกประชาชาติ

สำหรับพรรคการเมืองที่คนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส.แบบแบ่งเขต ในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 22.64 พรรคประชาชาติ,  อันดับ 2 ร้อยละ 19.64 พรรคเพื่อไทย,  อันดับ 3 ร้อยละ 15.27 พรรคประชาธิปัตย์, อันดับ 4 ร้อยละ 12.91 พรรครวมไทยสร้างชาติ, อันดับ 5 ร้อยละ 10.73 พรรคก้าวไกล, อันดับ 6 ร้อยละ 4.91 พรรคพลังประชารัฐ, อันดับ 7 ร้อยละ 3.82 พรรคภูมิใจไทย, อันดับ 8 ร้อยละ 3.18 ระบุว่ายังไม่ตัดสินใจ, อันดับ 9 ร้อยละ 2.36 พรรคเสรีรวมไทย, อันดับ 10 ร้อยละ 1.45 พรรคชาติพัฒนากล้า และพรรคไทยสร้างไทย ในสัดส่วนที่เท่ากัน และร้อยละ 1.64 ระบุอื่นๆ ได้แก่ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อชาติ พรรคไทยภักดี พรรคเศรษฐกิจใหม่ พรรคกล้า พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรครวมพลัง และพรรคสร้างอนาคตไทย 

ด้านพรรคการเมืองที่คนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 20.64 พรรคเพื่อไทย,  อันดับ 2 ร้อยละ 19.91 พรรคประชาชาติ,  อันดับ 3 ร้อยละ 14.73 พรรคประชาธิปัตย์, อันดับ 4 ร้อยละ 13.55 พรรครวมไทยสร้างชาติ, อันดับ 5 ร้อยละ 10.73 พรรคก้าวไกล, อันดับ 6 ร้อยละ 4.91 พรรคพลังประชารัฐ, อันดับ 7 ร้อยละ 4.73 ระบุว่ายังไม่ตัดสินใจ, อันดับ 8 ร้อยละ 4.36 พรรคภูมิใจไทย, อันดับ 9 ร้อยละ 2.36 พรรคเสรีรวมไทย, อันดับ 10 ร้อยละ 1.55 พรรคไทยสร้างไทย, อันดับ 11 ร้อยละ 1.36 พรรคชาติพัฒนากล้า และร้อยละ 1.17 ระบุอื่นๆ ได้แก่ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคไทยภักดี พรรคเพื่อชาติ พรรคไทยศรีวิไลย์ และพรรคเศรษฐกิจใหม่

 “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนกรณี “ประชาชนคิดอย่างไรกับศึกเลือกตั้ง 2566” โดยสำรวจเฉพาะผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,031 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 20-23 ก.พ.2566 สรุปผลได้ดังนี้  “5 อันดับ” คุณสมบัติของแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีที่ประชาชนอยากได้ (คะแนนเต็ม 10) อันดับ 1 เข้าถึงประชาชน ช่วยเหลือประชาชน 8.18 คะแนน รองลงมา ความคิดทันสมัย วิสัยทัศน์กว้างไกล 8.14 คะแนน, เป็นคนเก่ง มีความรู้ความสามารถ 8.04 คะแนน, เก่งเรื่องเศรษฐกิจ การเงิน 7.99 คะแนน และเป็นนักบริหาร บริหารงานได้ดี 7.98 คะแนน

ส่วน “5 อันดับ” นโยบายหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองที่โดนใจประชาชน อันดับ 1 เน้นเศรษฐกิจ ค่าแรง 600 บาทต่อวัน ปริญญาตรีเงินเดือน 25,000 บาท บัตรประชาชนใบเดียวรักษาฟรีทั่วประเทศ รถไฟฟ้าความเร็วสูง ยาเสพติดหมดไป ฯลฯ  7.73 คะแนน รองลงมา รื้อ-บางอย่างไม่ดีก็เลิก ปรับให้ทันสมัยมีความเป็นสากล/ลด-ภาระต่างๆ ของประชาชน/ปลดเปลื้อง-ค่าครองชีพและหนี้สินของประชาชน/สร้าง-สังคมของชาติที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ฯลฯ 7.67 คะแนน, บัตรประชารัฐ 700 บาทต่อเดือน บริหารจัดการน้ำ แก้ปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วม แก้ปัญหาความยากจน ปฏิรูประบบที่ดิน คืนที่ดินทำกินให้ประชาชน ฯลฯ 7.61 คะแนน, เกษตรร่ำรวย พักหนี้ 3 ปี หยุดต้นปลอดดอกคนละไม่เกิน 1 ล้านบาท เครื่องฉายรังสีรักษามะเร็งฟรีทุกจังหวัด ศูนย์ฟอกไตฟรีทุกอำเภอ พลังงานสะอาด ฯลฯ 7.58 คะแนน และปิดสวิตช์ 3 ป. แก้มาตรา 112 ยกเลิกเกณฑ์ทหาร หวยใบเสร็จ ช่วย SME รัฐโปร่งใส AI จับโกง สวัสดิการลดเหลื่อมล้ำ เด็กเล็ก 1,200 บาทต่อเดือน ผู้สูงวัย 3,000 บาทต่อเดือน ฯลฯ 7.53 คะแนน

ขณะที่ “5 อันดับ” ผลงาน/โครงการของพรรคการเมืองทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือก ส.ส. อันดับ 1 สิทธิสวัสดิการต่างๆ ของรัฐ  49.24% รองลงมา ขึ้นค่าแรง 36.30%,  ปรับโครงสร้างหนี้ ลดหนี้  26.72%, การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน 21.68%, การกระตุ้นเศรษฐกิจ 16.64%

"การเลือกตั้งปี 2566 นี้ ประชากรกลุ่มอายุ 18-42 ปี มีจำนวนกว่า 22 ล้านเสียง กลุ่มตัวอย่างกลุ่มนี้ชอบแคนดิเดตที่เป็นผู้นำที่เด็ดขาด เชื่อมั่นในตัวเอง ความคิดทันสมัย วิสัยทัศน์ดี ส่วนนโยบายที่โดนใจ คือ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ การแก้กฎหมาย ปิดสวิตช์ 3 ป. ส่วนกลุ่มอายุ 43 ปีขึ้นไปรวมกว่า 29 ล้านเสียง กลุ่มตัวอย่างชอบแคนดิเดตที่เข้าถึงประชาชน ชอบนโยบายลดหนี้ และสร้างสังคมที่เอื้อเฟื้อต่อกัน การเลือกตั้งหนนี้ทุกพรรคเร่งทำพื้นที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว แม้จะยังไม่ยุบสภา แต่ทุกเสาทุกพื้นที่เริ่มเต็มไปด้วยป้ายหาเสียง จากลักษณะแคนดิเดตและนโยบายที่ชอบ ก็พอจะสะท้อนลักษณะพรรคการเมืองที่สนใจได้ หน้าตาของรัฐบาลใหม่อาจผสมผสานสุดขั้วแบบที่ไม่เคยเห็น หรืออาจจะเป็นหน้าเดิมที่เห็นมาตลอดก็เป็นได้" นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัยสวนดุสิตโพลระบุ

ภท.แซงหน้า พท.

สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจเรื่อง "จัดเทียร์พรรคการเมือง เสนอชื่อนายกฯ" กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 1,444 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 23-25 ก.พ.2566 โดยเมื่อถามถึงการรับรู้ต่อกฎหมายเรื่องพรรคการเมืองที่เสนอชื่อผู้เข้าชิงนายกรัฐมนตรีต้องมี ส.ส. 25 คนขึ้นไปจึงมีสิทธิเสนอชื่อเข้าชิง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.2 ไม่ทราบในรายละเอียด ไม่แน่ใจ ไม่ทราบเลย ในขณะที่เพียงร้อยละ 7.8 ทราบมาก่อนแล้วอย่างละเอียด

เมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่คาดว่าจะได้รับการเลือกตั้งมี ส.ส. 25 คนขึ้นไป พบว่ามีสองพรรคการเมืองสูสีไม่แตกต่างกันในทางสถิติคือ พรรคเพื่อไทยกับพรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 58.6 กับร้อยละ 57.4 ในขณะที่พรรครวมไทยสร้างชาติได้ร้อยละ 54.9, พรรคก้าวไกล ร้อยละ 44.3,  พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 40.7, พลังประชารัฐ ร้อยละ 36.1, ไทยสร้างไทย ร้อยละ 24.3, เสรีรวมไทย ร้อยละ 23.6,  ชาติพัฒนากล้า ร้อยละ 22.2 และชาติไทยพัฒนา ร้อยละ 20.6 ตามลำดับ

ที่น่าสนใจคือ ผลประเมินทางสถิติ ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง พรรคการเมืองที่คาดว่าจะได้ ส.ส. 25 คนขึ้นไป จำแนกเป็น เทียร์ 1 และเทียร์ 2 พบว่า ในกลุ่มเทียร์ 1 คือกลุ่มพรรคการเมืองที่มีความเป็นไปได้มากที่จะได้ ส.ส. 25 คนขึ้นไป ได้แก่ พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 32.3 ขึ้นนำหน้า  พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 26.8, รวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 11.0, ก้าวไกล ร้อยละ 10.7, ประชาธิปัตย์ ร้อยละ 5.3 และพลังประชารัฐ ร้อยละ 5.0 ในขณะที่กลุ่มเทียร์ 2 คือ กลุ่มพรรคการเมืองที่มีความเป็นไปได้น้อยถึงไม่มีเลยที่จะได้ ส.ส. 25 คนขึ้นไป ได้แก่ ไทยสร้างไทย เสรีรวมไทย ชาติพัฒนากล้า ชาติไทยพัฒนา และอื่นๆ รวมกันได้ร้อยละ 8.9 ในการสำรวจครั้งนี้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด

นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด

‘หนู’ ลั่นฟังแค่ ‘อิ๊งค์’ ยันร่วมรัฐบาลเป็นไฟต์บังคับ ‘ทักษิณ’ พูดไม่นำพา

"อนุทิน" ลั่น! รับสัญญาณจากนายกฯ อิ๊งค์เท่านั้น ยันที่ "ทักษิณ" พูดไม่ได้หมายถึงรัฐมนตรีจากพรรคภูมิใจไทย "ท่านทักษิณพูดถึงพรรคที่ไม่เข้าร่วมประชุม ผมก็ไม่นำพาไปฟังอะไรมาก"

ใต้อ่วม! ทางรถไฟ-ถนนขาด

ฝนตกหนักน้ำท่วม เส้นทางลงใต้อัมพาต ทางขาดทั้งรถไฟและถนนสายเอเชีย รถไฟไปต่อไม่ได้ ติดค้างที่ชุมพรเพียบ ชาวบ้านเดือดร้อนหนัก ส่วนที่นครศรีฯ น้ำทะเลจ่อหนุนซ้ำเติม

เตือนภัยบุหรี่ไฟฟ้า ผสมนํ้ายาดองศพ

เตือนภัยบุหรี่ไฟฟ้า พบน้ำยาดองศพ สารก่อมะเร็งในบุหรี่ไฟฟ้าเพียบ เสี่ยงเกิดมะเร็ง แนะผู้ปกครองสอดส่องพฤติกรรมบุตรหลาน ย้ำเตือนเด็กและเยาวชนอย่าหลงเชื่อค่านิยมผิดๆ

บึ้มงานกาชาด สอบเกียร์ว่าง! ตำรวจอุ้มผาง

"ผบ.ตร." สั่งสอบตำรวจพื้นที่ปล่อยปละละเลยหรือไม่ เหตุ 2 คนร้ายปาระเบิดกลางเวทีรำวงงานกาชาดอุ้มผาง ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย เจ็บ 48 คน "อุ๊งอิ๊ง"