กกต.สั่งทุกจังหวัดรับฟังแบ่งเขต

“วิษณุ” เผย กกต.แจ้งแล้วประกาศเขตเลือกตั้งเดดไลน์ 28 ก.พ.นี้  หรืออาจเร็วกว่า สำนักงาน กกต.เผยให้ทุกจังหวัดออกรูปแบบแบ่งเขตภายใน 3 วัน ย้ำต้องมีอย่างน้อย 3 รูปแบบและรับฟังความเห็นใน 10 วัน พร้อมเปิดรับสมัครผู้อำนวยการและ กกต.ประจำเขต “กทม.” เคาะ 5 รูปแบบ ชี้ลอกข้อสอบเก่าปี 2554, 2557

เมื่อวันที่ 3 ก.พ.2566 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการเลือกตั้งในส่วนของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่า กกต.ได้ประกาศหลักเกณฑ์การแบ่งเขตเลือกตั้งลงราชกิจจานุเบกษาแล้ว ขณะนี้กำลังทยอยส่งในรูปแบบเขตเลือกตั้งที่แบ่งใหม่ตามกฎหมายลูก ให้ กกต.จังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดนำไปรับฟังความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่ จากนั้นเมื่อรับฟังเสร็จแล้วจะส่งกลับมายัง กกต.เพื่อสรุปและเตรียมประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่ง กกต.ได้แจ้งมาว่าจะประกาศเขตเลือกตั้งในราชกิจจานุเบกษาได้ภายในวันที่ 28 ก.พ. หรือเร็วกว่านั้น

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงกรณี กกต.จะเร่งเขตเลือกตั้งให้เสร็จก่อน 28 ก.พ.ว่า เป็นผลดีกับทุกฝ่าย แต่ กกต.ต้องทำด้วยความระมัดระวัง เพราะมีถึง 400 เขต ซึ่งถ้าได้เร็วก็ดี แต่เร็วแล้วก็ต้องมีความรอบคอบด้วย เห็นใจและเป็นกำลังใจให้กับ กกต.ให้เวลา กกต.ทำให้รอบคอบดีกว่าทำออกมาแล้วผิดพลาด เพราะครั้งนี้ประชาชนทุกคนมีความตั้งใจอยากเลือกตั้งเต็มที่

ขณะที่สำนักงาน กกต.ได้ออกเอกสาร ชี้แจงหลังออกประกาศ กกต.เรื่อง การแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2566 และประกาศ กกต.เรื่อง จำนวน ส.ส.และเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดในการเลือกตั้ง ส.ส.เป็นการทั่วไปครั้งแรก ระบุว่าให้สำนักงาน กกต.ประจำจังหวัดแบ่งเขตเลือกตั้ง ซึ่งจังหวัดที่มีจำนวน ส.ส.มากกว่า 1 คน ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดจัดทำรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งภายใน 3 วัน โดยต้องแบ่งพื้นที่ของเขตเลือกตั้งแต่ละเขตให้ติดต่อกัน และต้องจัดให้มีจำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้งใกล้เคียงกัน แล้วประกาศรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งอย่างน้อย 3 รูปแบบ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของพรรคการเมืองและประชาชนในจังหวัดเป็นเวลา 10 วัน ซึ่งแต่ละรูปแบบต้องประกอบด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับอำเภอหรือตำบล หรือเขตพื้นที่ที่อยู่ในเขตเลือกตั้งแต่ละเขต จำนวนราษฎรของแต่ละเขตเลือกตั้ง และผลต่างของจำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้ง จากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส. 1 คนในจังหวัดนั้น

ทั้งนี้ ผลต่างของจำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้งไม่ควรเกิน 10% ของจำนวนเฉลี่ยต่อ ส.ส. 1 คนในจังหวัดนั้น เว้นแต่เป็นกรณีจำเป็นเพื่อให้ราษฎรในชุมชนเดียวกันหรือใกล้เคียงกันสามารถเดินทางได้โดยสะดวก นอกจากนี้ต้องมีเหตุผลประกอบการเสนอแนะการแบ่งเขตเลือกตั้ง แผนที่แสดงรายละเอียดของพื้นที่ที่ประกอบเป็นเขตเลือกตั้งแต่ละเขตเลือกตั้ง

ในกรณีที่จังหวัดใดมีจำนวน ส.ส.แบบแบ่งเขตเท่ากับจำนวน ส.ส.ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2562 และมีผลต่างของจำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้งจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อสมาชิก ส.ส.หนึ่งคนในจังหวัดนั้น ไม่เกินจำนวนผลต่างที่กำหนดไว้ ให้จัดทำรูปแบบการแบ่งเขตที่ใช้ในการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปเมื่อปี 2562 และประกาศรับฟังความคิดเห็นในการแบ่งเขตเลือกตั้งในครั้งนี้ด้วย โดยให้ปิดประกาศรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งไว้ที่สำนักงาน กกต.ประจำจังหวัด, ศาลากลางจังหวัด, ที่ว่าการอำเภอ, สำนักงานเทศบาล, ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) รวมถึงศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร, สำนักงานเขต และศาลาว่าการเมืองพัทยา และให้เผยแพร่ในเว็บไซต์ของสำนักงาน กกต.ประจำจังหวัด รวมทั้งประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ด้วย เพื่อเปิดโอกาสให้พรรคการเมืองและประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น

 “กรณีจังหวัดที่มีจำนวนสมาชิก ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 1 คน ให้ปิดประกาศเขตเลือกตั้งที่สำนักงาน กกต.ประจำจังหวัด, ศาลากลางจังหวัด, ที่ว่าการอำเภอ, สำนักงานเทศบาล, ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล และให้เผยแพร่ในเว็บไซต์ของสำนักงาน กกต.ประจำจังหวัด รวมทั้งประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ”

นอกจากนั้น สำนักงาน กกต.ยังได้เปิดรับสมัครบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็นผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งและ กกต.ประจำเขตเลือกตั้ง เพื่อรองรับการเลือกตั้ง ส.ส.ที่จะมีขึ้น โดย กกต.จะแต่งตั้งบุคคลเป็นผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งละ 1 คน และ กกต.ประจำเขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งละ 3 คน ในระหว่างวันที่ 6-10 ก.พ.นี้ โดยผู้ประสงค์จะเข้ารับการสรรหาต้องยื่นใบสมัครต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ตามแบบใบสมัครด้วยตนเองต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด 

ทั้งนี้ ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติ สัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์ในวันสมัครหรือวันที่ได้รับการทาบทาม มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนั้น มีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริต และห้ามมีลักษณะต้องห้าม และเมื่อเสร็จสิ้นการรับสมัครแล้ว หากมีผู้สมัครผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งน้อยกว่า 2 คน หรือ กกต.ประจำเขตเลือกตั้งน้อยกว่า 6 คน ให้ผู้อำนวยการประจำจังหวัดทาบทามบุคคลจากผู้มีคุณสมบัติ้อำนวยการki3 ก.พ..พ.และไม่มีลักษณะต้องห้ามให้ครบตามจำนวน โดยยื่นใบสมัคร แล้วแต่กรณีภายใน 3 วันนับแต่วันสิ้นสุดการรับสมัคร และตรวจสอบคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม ประวัติ และพฤติการณ์ของผู้เข้ารับการสรรหาและผู้ที่ได้รับการทาบทามให้แล้วเสร็จภายใน 10 วัน นับแต่วันปิดรับสมัคร

ด้านนายสำราญ ตันพานิช ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานครเผยว่า สำนักงาน กกต.กทม.ได้ประกาศรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส.เพื่อรับฟังความคิดเห็นของพรรคการเมืองและประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นเวลา 10 วัน โดยจะเริ่มแสดงความคิดเห็นได้ในวันที่ 4 ก.พ.2566 จนถึงวันที่ 13 ก.พ. ซึ่งสำนักงาน กกต.กทม.ได้จัดทำประกาศ แผนที่รูปแบบการแบ่งเขต บรรจุไว้ใน QR CODE โดย กทม.จัดทำรูปแบบการแบ่งเขตไว้ 5 รูปแบบ

นายสำราญกล่าวว่า การแบ่งเขตเลือกตั้งเป็นเพียงขั้นตอนการเริ่มต้น โดยให้ ผอ.กกต.จังหวัดและ กทม.เป็นผู้ดำเนินการจัดการแบ่งเขตเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 3 รูปแบบต่อ 1 จังหวัด เพื่อประกาศ รับฟังความคิดเห็น พรรคการเมือง ประชาชนในเขตนั้นๆ ยังไม่ได้เคาะว่ารูปแบบไหนดีกว่าแบบไหน ซึ่ง กทม.แบ่งไว้ 5 รูปแบบ ทุกรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ทุกประการ โดยจะรับฟังความเห็นพรรคการเมือง คนกรุงเทพฯ ว่ารูปแบบไหนที่เห็นว่ามีความเหมาะสมที่สุดกับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น หลังจาก 10 วันแล้ว ก็จะรวบรวมความคิดเห็นทั้งหมดในแต่ละรูปแบบเสนอต่อ กกต.กลางให้วินิจฉัยรูปแบบเขตเลือกตั้งที่เห็นว่าเหมาะสมที่สุด โดยภายในวันที่ 16 ก.พ. ทุกจังหวัดก็จะพิจารณารูปแบบที่เห็นว่ามีความเหมาะสมเรียงตามลำดับ

  “การแบ่งเขตครั้งนี้ กทม.มีการเปลี่ยนแปลงจากการเลือกตั้งปี 2562 ซึ่งเดิมมี 30 เขต ส.ส. 30 คน ปัจจุบันเพิ่มมาเป็น 33 เขต ส.ส. 33 คน ซึ่งได้นำรูปแบบการแบ่งเดิมมาปรับปรุงแก้ไขให้เป็นไปตามเงื่อนไขในมาตรา 27 กฎหมายเลือกตั้ง ส.ส.ก่อนเปิดรับฟังความคิดเห็น ขณะเดียวกันก็ย้อนไปดูการเลือกตั้งเมื่อปี 2554 และ 2557 ที่มี 33 เขตเลือกตั้งเท่ากัน” นายสำราญกล่าว 

ส่วนที่สำนักงาน กกต.บุรีรัมย์ ได้ออกรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตไว้ 3 รูปแบบเรียบร้อยแล้ว พร้อมปิดประกาศไว้ ณ สำนักงาน กกต.บุรีรัมย์, ศาลากลาง, ที่ว่าการอำเภอ, สำนักงานเทศบาล, ที่ทำการ อบต.บุรีรัมย์ และเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ https/www.ect go.th/buriram ให้พรรคการเมืองพรรคใดหรือประชาชนผู้ใด มีข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ภายในวันที่ 13 ก.พ.2566.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘จุรินทร์’ เผย8ปัจจัย การเมืองปี68เดือด!

"จุรินทร์" เปิด 8 ปัจจัยการเมืองปี 2568 จับตามีคดีความที่มีผู้ร้องไปยื่นร้องนายกฯ และผู้เกี่ยวข้องไว้ที่ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีเรื่องที่ค้างอยู่อย่างน้อย

‘จ่าเอ็ม’ ผวาขออารักขา

กัมพูชาส่งตัว "จ่าเอ็ม" ให้ไทยแล้ว นำตัวเข้ากรุงสอบเครียดที่ สน.ชนะสงคราม แจ้งข้อหาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เจ้าตัวร้องขอเจ้าหน้าที่คุ้มครองเป็นพิเศษ

เป็นแม่ที่ดีหรือยัง! ‘อิ๊งค์’ เปิดอกวันเด็กสมัยก่อนไม่มีไอแพดโวยถูกบูลลี่

"นายกฯ อิ๊งค์" เปิดงานวันเด็กคึกคัก! เด็กขอถ่ายรูปแน่น พี่อิ๊งค์ล้อมวงเปิดอกตอบคำถามเด็กๆ มีพ่อเป็นต้นแบบ เผยวัยเด็กไม่มีไอแพด โทรศัพท์ ไลน์ พี่มีลูกสองคน

‘บิ๊กอ้วน’ เอาใจทอ. เคาะซื้อ ‘กริพเพน’

ปิดจ๊อบภายในปีนี้! "บิ๊กอ้วน" ไฟเขียว ทอ.เลือก "กริพเพน" มั่นใจคนใช้เป็นคนเลือก รออนุมัติแบบหลังทีมเจรจาออฟเซตกับสวีเดนจบ แจงทูตสหรัฐแล้ว ไทยยันไม่มีนโยบายกู้เงินซื้ออาวุธตามข้อเสนอขายเอฟ