กกพ.เคาะค่าไฟ ม.ค.-เม.ย.66 ภาคอุตสาหกรรม การค้า การเกษตร การบริการอยู่ที่ 5.69 บาท/หน่วย ขณะที่ค่าไฟภาคครัวเรือน 4.72 บาท/หน่วยตามเดิม
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า ที่ประชุม กกพ.ได้พิจารณาผลการคำนวณค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) ประจำงวดเดือนม.ค.-เม.ย.2566 สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่น (ได้แก่ อุตสาหกรรม การค้า การเกษตร การบริการทั้งหมด ทั้งกิจการขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ โรงแรม กิจการไม่แสวงหากำไร สูบน้ำเพื่อการเกษตร ไฟฟ้าชั่วคราวระหว่างก่อสร้าง) ที่อัตรา 190.44 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้มีค่าไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่อัตรา 5.69 บาทต่อหน่วย ตามที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เสนอตามแนวทางคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เห็นชอบ
“ปัจจัยหลักที่กระทบค่าเอฟทีผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นในรอบนี้มาจากต้นทุนราคาเชื้อเพลิงที่ต้องนำเข้ามาทดแทน การลดลงของก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยและก๊าซธรรมชาติในสหภาพพม่า ตามการประมาณการปริมาณและราคาก๊าซธรรมชาติในการคิดค่าเอฟทีในรอบเดือนม.ค.-เม.ย.2566 และภาระการทยอยจ่ายคืนหนี้เอฟทีให้ กฟผ. โดยส่วนนี้ให้ใช้ราคาก๊าซธรรมชาติ (Pool Gas ส่วนเหลือ) ในราคา 542 บาทต่อล้านบีทียู ทดแทนราคาก๊าซธรรมชาติเดิม” นายคมกฤช กล่าว
ในส่วนของผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่อัตรา 93.43 สตางค์ต่อหน่วย จะทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยอยู่ในระดับเท่าเดิมที่อัตรา 4.72 บาทต่อหน่วย โดยใช้ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยในราคา 238 บาทต่อล้านบีทียู ทดแทนราคาก๊าซธรรมชาติเดิม
โดยใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ กฟผ. บริหารจัดการผลกระทบราคาก๊าซธรรมชาติต่อค่าไฟฟ้า โดยให้ ปตท.คิดราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (IPP) และผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ในระดับราคาเดียวกับที่ใช้ประมาณการค่าไฟฟ้าตามสูตรปรับอัตราค่าเอฟที ตั้งแต่เดือนที่ กพช.มีมติเป็นต้นไป และให้นำส่วนต่างของราคาก๊าซธรรมชาติที่เกิดขึ้นจริงกับราคาก๊าซธรรมที่เรียกเก็บดังกล่าวไปทยอยเรียกเก็บคืนในการคำนวณค่าเอฟทีรอบถัดไป
นอกจากนี้ ให้ ปตท.ทบทวนการประมาณการราคาก๊าซธรรมชาติใหม่อีกครั้งให้สอดคล้องกับมติ กพช. และแนวทางการบริหารเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าของกระทรวงพลังงาน เช่น เพิ่มการใช้น้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาเพื่อทดแทนการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) เพิ่มเติมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ราคาเชื้อเพลิงในตลาดโลกและความสามารถในการขนส่งน้ำมันดีเซลให้กับโรงไฟฟ้า
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มปริมาณก๊าซในอ่าวไทยในการผลิตไฟฟ้าโดยลดปริมาณก๊าซอ่าวไทยเข้าโรงแยกก๊าซ แล้วส่งมาผลิตไฟฟ้าเพื่อทดแทนการลดลงของก๊าซธรรมชาติในสหภาพพม่า การปรับปรุงสมมุติฐานราคานำเข้าแอลเอ็นจี สปอต อ้างอิงตามแนวโน้มที่ดีขึ้น และเดินเครื่องโรงไฟฟ้าแม่เมาะ หน่วยที่ 4 ที่ปลดแล้วตามความจำเป็น เป็นต้น
นอกจากนี้ กกพ.จะพิจารณาภาระการเงินและภาระหนี้สินสะสมของ กฟผ. ให้มีการทยอยจ่ายคืนหนี้เอฟทีคงค้าง เพื่อไม่ให้เป็นภาระปัญหาสภาพคล่องของ กฟผ. และไม่เกิดภาระต่อผู้ใช้ไฟฟ้ามากเกินไป โดย กฟผ.ขอเสนอให้เฉลี่ยยอดหนี้ ณ เดือน ส.ค.2565 จำนวน 122,257 ล้านบาท โดยเฉลี่ยการเรียกเก็บไปเป็นเวลา 2 ปี.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แฉระบบเด็กฝาก ทำลายองค์กรตร. ดับฝัน‘ดาวฤกษ์’
เช็ก 41 รายชื่อแต่งตั้งนายพลสีกากี ระดับรอง ผบ.ตร.-ผบช.
ยธ.เมินแจงกมธ. ปมนักโทษเทวดา รพ.ตำรวจชั้น14
ชั้น 14 น่าพิศวง "โรม" กวักมือเรียก “ทักษิณ” ไปสภา เข้าแจง กมธ.มั่นคงฯ
แจกเฟส2เอื้อเลือกอบจ. เตือนร้องถอดถอนครม.
นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ยันไทยสงบ สันติ หวังแม้รัฐบาลเปลี่ยน
ฟ้อง9บิ๊กมท.ทุจริตที่เขากระโดง
เรื่องถึงศาล "ณฐพร" ฟ้องกราวรูด "บิ๊ก ขรก.มหาดไทย"
ลุ้นศาลรับคดีล้มล้าง ตุลาการถก6ประเด็น‘ทักษิณ-พท.’/ดันแก้ประชามติไม่รอ180วัน
"ทักษิณ-พท." ระทึก! 9 ตุลาการศาล รธน.ยืนยันนัดประชุมวาระพิเศษ 22 พ.ย.นี้
สั่งประหารชีวิต ‘แอม ไซยาไนด์’ คุกผัวเก่า-ทนาย
ศาลพิพากษาประหารชีวิต "แอม ไซยาไนด์" วางยาฆ่าก้อย พร้อมชดใช้ 2.3 ล้าน