สวนดุสิตโพลเผยคนไทยส่วนใหญ่เห็นด้วยควรส่งเสริมอาหารไทยเป็นซอฟต์เพาเวอร์ ชี้มีเอกลักษณ์พิถีพิถัน ชี้ประชาชนทุกคนต้องร่วมส่งเสริม อาจารย์คหกรรมแนะสถาบันศึกษาต้องร่วมผลักดัน
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้เผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศทางออนไลน์ จำนวน 1,044 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 9-24 พ.ย.2565 ในหัวข้อ “อาหารไทย...เอกลักษณ์ไทย” โดยเมื่อถามว่าประชาชนคิดว่าเอกลักษณ์ของอาหารไทยคืออะไร
พบว่า 83.96% ความพิถีพิถัน ประณีตสวยงาม, 81.17% อาหารไทยมีประโยชน์ เป็นยา มีคุณค่าตามหลักโภชนาการ และ 75.98% มาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็น Soft Power มีต้นทุนทางวัฒนธรรม
ถามถึง 5 อันดับเมนูอาหารไทยที่เป็นเอกลักษณ์ไทย พบว่า 57.65% ต้มยำกุ้ง, 33.17% ผัดไทย, 23.89% ส้มตำ, 22.11% แกงเขียวหวาน และ 13.23% แกงมัสมั่น ทั้งนี้ เมื่อถามสิ่งที่เป็นห่วงหรือกังวลเกี่ยวกับอาหารไทย พบว่า 90.75% การรักษาสูตรต้นตำรับ รสชาติดั้งเดิม, 74.95% การรักษาคุณภาพของอาหารไทย วัตถุดิบของไทย และ 68.02% คนสนใจเรียนอาหารไทยลดลง ไม่มีผู้สืบทอด สานต่อ
โพลยังถามว่า ประชาชนคิดว่าควรทำอย่างไรจึงจะรักษาเอกลักษณ์ของอาหารไทยไว้ได้ พบว่า 88.85% ภาครัฐส่งเสริมอย่างจริงจัง ผลักดันเป็น Soft power, 82.50% ปลูกฝังให้กับคนรุ่นหลังได้เห็นถึงคุณค่า ความสำคัญและสานต่อ และ 77.31% ประชาสัมพันธ์ให้คนไทยช่วยกันรักษารากเหง้า เอกลักษณ์ของอาหารไทย โดยเมื่อถามว่าใคร/หน่วยงานใด ที่จะช่วยส่งเสริมอาหารไทยให้เป็นเอกลักษณ์ของไทยต่อไป, 70% ประชาชนคนไทยทุกคน, 65.38% กระทรวงวัฒนธรรม และ 63.37% คนเก่าแก่ ปราชญ์ชาวบ้าน สุดท้ายเมื่อถามว่า ประชาชนคิดว่าการประชุม APEC 2022 จะช่วยส่งเสริม “อาหารไทย...เอกลักษณ์ไทย” ไปสู่สายตาชาวต่างชาติได้มากน้อยเพียงใด พบว่า 51.44% มองว่าค่อนข้างมาก, 29.79% มากที่สุด, 17.43% ค่อนข้างน้อย และ 1.34%น้อยที่สุด
ผศ.อัครพล ไวเชียงค้า อาจารย์ประจำหลักสูตรคหกรรมศาสตร์ โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ระบุว่า จากการจัดสนทนากลุ่มเรื่องอาหารไทย...เอกลักษณ์ไทย พบว่า อาหารไทยเป็นอาหารที่มีเรื่องราวและความเก่าแก่มายาวนาน มีจุดเชื่อมโยงมาจากข้าว ซึ่งเป็นอาหารหลักในภูมิภาคนี้ อาหารไทยปัจจุบันผ่านการรับรู้และนำไปประกอบอาชีพทั้งในและต่างประเทศ การส่งเสริมเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับอาหารไทยมองว่าหลายภาคส่วนต้องทำงานร่วมกัน การส่งเสริมอาหารไทยจึงควรสร้างการดึงดูดและการมีส่วนร่วมให้กับผู้รับประทาน ผ่านการนำเสนอด้วยการเล่าเรื่องราว (Story Telling) ผ่านช่องทางต่างๆ โดยเฉพาะสื่อดิจิทัล เพื่อให้เกิดการรับรู้และสานต่ออาหารไทยในมุมมองอันหลากหลาย
ผศ.กาญจนา เฟื่องศรี อาจารย์ประจำหลักสูตรคหกรรมศาสตร์ โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ระบุว่า อาหารไทยเป็นอาหารที่มีเอกลักษณ์เฉพาะในหลายมิติด้วยกัน อาทิ อาหารไทยที่มีเอกลักษณ์ตามภูมิศาสตร์ ภูมิปัญญา ฤดูกาล รสชาติ วัตถุดิบ ความประณีต ความพิถีพิถัน เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นจุดเชื่อมโยงผ่านการรับประทานอาหารแบบสำรับ ซึ่งก็เป็นเอกลักษณ์ของอาหารไทยที่มีมาอย่างช้านาน นอกจากนี้ การทราบเรื่องราวความเป็นมาและคุณสมบัติของอาหารผ่านการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เอกลักษณ์ของอาหารไทยสามารถคงอยู่และต่อยอดได้ในอนาคต ดังนั้น สถาบันการศึกษาจึงมีบทบาทสำคัญ และทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันเพื่อผลักดันอาหารไทยเอกลักษณ์ไทยต่อไป.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แฉระบบเด็กฝาก ทำลายองค์กรตร. ดับฝัน‘ดาวฤกษ์’
เช็ก 41 รายชื่อแต่งตั้งนายพลสีกากี ระดับรอง ผบ.ตร.-ผบช.
ยธ.เมินแจงกมธ. ปมนักโทษเทวดา รพ.ตำรวจชั้น14
ชั้น 14 น่าพิศวง "โรม" กวักมือเรียก “ทักษิณ” ไปสภา เข้าแจง กมธ.มั่นคงฯ
แจกเฟส2เอื้อเลือกอบจ. เตือนร้องถอดถอนครม.
นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ยันไทยสงบ สันติ หวังแม้รัฐบาลเปลี่ยน
ฟ้อง9บิ๊กมท.ทุจริตที่เขากระโดง
เรื่องถึงศาล "ณฐพร" ฟ้องกราวรูด "บิ๊ก ขรก.มหาดไทย"
ลุ้นศาลรับคดีล้มล้าง ตุลาการถก6ประเด็น‘ทักษิณ-พท.’/ดันแก้ประชามติไม่รอ180วัน
"ทักษิณ-พท." ระทึก! 9 ตุลาการศาล รธน.ยืนยันนัดประชุมวาระพิเศษ 22 พ.ย.นี้
สั่งประหารชีวิต ‘แอม ไซยาไนด์’ คุกผัวเก่า-ทนาย
ศาลพิพากษาประหารชีวิต "แอม ไซยาไนด์" วางยาฆ่าก้อย พร้อมชดใช้ 2.3 ล้าน