"ชัชชาติ" ชงสภา กทม.เก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยายสายสีเขียว 15 บาท เป็นราคาทดลอง จ่อตอบกลับ มท. ไม่เห็นด้วยต่อสัมปทานโดยคำสั่ง คสช. ชี้ต้องใช้วิธีตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน พร้อมขออุดหนุนค่าก่อสร้าง 5.8 หมื่นล้าน ถ้าไม่ได้พร้อมโอนคืนรัฐบาล
ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงวาระการพิจารณาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่จะเสนอเข้าที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร (สภา กทม.) ในวันที่ 26 ต.ค.ว่า เบื้องต้นเสนอให้เก็บค่าโดยสาร 15 บาท เป็นราคาทดลอง และอาจจะปรับอีกครั้งหนึ่ง อย่างน้อยเพื่อให้สภา กทม.รับทราบก่อน เนื่องจากการเก็บค่าโดยสารอัตรา 15 บาทนั้น ไม่พอกับค่าจ้างการเดินรถที่บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) มีต่อ บริษัท ขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ที่มีมูลค่าอยู่ ซึ่งการเก็บ 15 บาท อย่างไรก็ไม่พอ ทางสภา กทม.จึงต้องรับรู้ว่ามีส่วนต่างที่ต้องนำเงินงบประมาณมาจ่าย
ส่วนขั้นตอนหลังจากนำเรื่องเข้าสภา กทม. หากเห็นชอบในเรื่องค่าโดยสารสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 นั้น นายชัชชาติกล่าวว่า จะต้องประกาศเก็บค่าโดยสารภายใน 1 เดือน คาดว่าจะเก็บค่าโดยสารได้ในเดือน ธ.ค.2565 โดยจะสั่งการให้กรุงเทพธนาคมดำเนินการเตรียมเก็บค่าโดยสาร และแจ้งต่อบีทีเอสซี ให้ประชาสัมพันธ์เรื่องอัตราค่าโดยสารให้กับประชาชน
ผู้ว่าฯ กทม.กล่าวว่า เรื่องการตอบกลับหนังสือขอความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวของกระทรวงมหาดไทย เมื่อสภากทม.ให้ความเห็นแล้ว จะมีการตอบกลับหนังสือต่อไป โดยฝ่ายบริหารมีความเห็น 2 ข้อ ได้แก่ 1.ไม่ควรมีการต่อสัมปทาน โดยคำสั่งคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คำสั่ง คสช.) ที่ 3/2562 แต่ควรต่อสัมปทานโดยใช้วิธีการตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 เพราะมีตัวแทนจากหลายหน่วยงานมาร่วมพิจารณา 2.ขอให้รัฐบาลกลางเป็นผู้อุดหนุนค่าก่อสร้างงานโยธา ส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงเนื่องจากรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ก็ได้รับการอุดหนุนค่าก่อสร้างงานโยธาเช่นกัน ทั้งนี้ ต้องหารือให้ดีว่าตรงข้อมอบหมายงานของ กทม. จะปรับเปลี่ยนเป็นสัญญาได้อย่างไรบ้าง หรือจะทำอย่างไรได้บ้าง
ด้านนายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การขออุดหนุนค่าโครงสร้างพื้นฐาน เป็นเรื่องปกติของการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ซึ่งปัจจุบันค่าโครงสร้างงานโยธารถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย 2 กทม. รับโอนหนี้จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ประมาณ 5.8- 5.9 หมื่นล้านบาท (รวมดอกเบี้ย)
"หากรัฐบาลไม่เห็นด้วยในการขออุดหนุน กทม.มีแนวทางที่จะเจรจา เพื่อที่จะขอโอนรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งสาย ได้แก่ ส่วนสัมปทานช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า และส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ให้กับรัฐบาล โดยมีเงื่อนไขบางประการ เช่น การของบประมาณชดเชย กำหนดเพดานค่าโดยสาร เป็นต้น" รองผู้ว่าฯ กทม.ระบุ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘อิ๊งค์’ลุยภูเก็ต หนุนท่องเที่ยว กลุ่ม‘ลักซ์ชูรี’
"นายกฯ อิ๊งค์" เปิดงานแสดงเรือนานาชาติ หนุนท่องเที่ยวลักซ์ชูรีไลฟ์สไตล์
ชงแก้สัญญารถไฟฟ้าเชื่อม3สนามบิน
บอร์ดอีอีซีชงแก้สัญญารถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน เข้า ครม.ภายในเดือนเม.ย.นี้
ศาลนัด10ก.พ. 16บอสขอสิทธิ์ ได้ประกันสู้คดี
"ทนายดิไอคอน" จ่อยื่นประกันตัว 16 บอส ช่วงนัดตรวจหลักฐาน
2สัปดาห์ส่ง‘จ่าเอ็ม’กลับ เชื่อมีผู้ร่วมขบวนการอีก
นายกฯ สั่งทบทวนมาตรการป้องกันก่ออาชญากรรมในไทย
นโยบายตปท.เสียเหลี่ยมเพื่อนบ้าน
สส.ฝ่ายค้านชำแหละ “นโยบายต่างประเทศ” เงียบๆ เสียเหลี่ยมเพื่อนบ้าน
ระวังไม่มีแผ่นดินอยู่ ชวนย้อนคำเตือนแม้ว18ปี ชี้สส.แก่สุดในเพื่อไทย2คน
"ชวน" สวนกลับ “ทักษิณ” สส.แก่สุดอยู่ในพรรคเพื่อไทย 2 คน