ไทยยิ้มได้ ยอดติดเชื้อโควิดต่ำพัน 3 วันต่อเนื่อง กรมควบคุมโรคปลื้มภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปหรือ LAAB ได้ผล ผู้สูงอายุ 105 ปีไม่เคยฉีดวัคซีนติดเชื้อหายในเวลาไม่ถึง 2 สัปดาห์
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ของไทยว่า พบผู้ป่วยรายใหม่รักษาตัวในโรงพยาบาล 477 ราย ซึ่งเป็นตัวเลขต่ำกว่า 1,000 รายต่อเนื่องเป็นวันที่สาม ทำให้มีผู้ป่วยสะสม 4,673,387 ราย (เฉพาะตั้งแต่ 1 ม.ค.2565 เป็นต้นมา) มีผู้หายป่วยกลับบ้านเพิ่ม 1,170 ราย หายป่วยสะสม 2,463,041 ราย (ตั้งแต่ 1 ม.ค.) ผู้ป่วยกำลังรักษา 9,223 ราย โดยเป็นผู้ป่วยปอดอักเสบรักษาตัวอยู่ใน รพ. 651 ราย และมีผู้เสียชีวิต 12 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสม 10,931 ราย (ตั้งแต่ 1 ม.ค.2565)
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การที่ไทยจัดหาภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป หรือ Long Acting Antibody (LAAB) ให้กลุ่มที่จำเป็นในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 โดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ และกลุ่มเสี่ยง 608 ซึ่งไทยมีการนำเข้าภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป LAAB และฉีดครั้งแรกให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกไต ที่ สถาบันบำราศนราดูร เมื่อวันที่ 27 ก.ค.2565 และส่งไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.2565
นพ.โอภาสกล่าวเพิ่มเติมว่า ช่วงต้นเดือน ก.ย.2565 พบผู้ป่วยโรคโควิด-19 รายหนึ่ง อายุ 105 ปี และยังไม่เคยฉีดวัคซีนโควิด-19 เข้ารับการรักษาที่ รพ.แห่งหนึ่ง เมื่อวันที่ 3 ก.ย.2565 โดยมีอาการไข้สูง มีเสมหะ ค่าออกซิเจนในเลือดต่ำ และต่อมามีปอดติดเชื้อแบคทีเรีย ผู้ป่วยรายนี้ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสในวันแรก แต่เนื่องจากมีอายุมากเสี่ยงต่อการเสียชีวิต แพทย์จึงพิจารณาให้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป หรือ LAAB แก่ผู้ป่วยด้วยในวันที่ 4 ก.ย.2565 ร่วมกับยาปฏิชีวนะ ซึ่งตั้งแต่วันที่ 10 ก.ย.2565 อาการผู้ป่วยค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ อาการปอดติดเชื้อน้อยลง ไข้ลง ค่าออกซิเจนในเลือดกลับมาปกติ และผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้วันที่ 14 ก.ย.2565 รวมระยะเวลาที่ใช้รักษาน้อยกว่า 2 สัปดาห์ โดยการให้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป หรือ LAAB น่าจะมีผลดีในการรักษาผู้ป่วยสูงอายุกลุ่มเสี่ยงที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน แต่ กระทรวงสาธารณสุขยังเน้นย้ำแนะนำให้ผู้สูงอายุทุกคนเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดโดยเร็วก่อนจะเกิดการติดเชื้อ
นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า รัฐบาลห่วงใยประชาชนในข่าย 7 กลุ่มเสี่ยง เนื่องจากในช่วงนี้พบการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นช่วงที่มีการผ่อนคลายมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ซึ่งอาจทำให้ประชาชนลดความเคร่งครัดในการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิดลง โดยเฉพาะการไม่สวมหน้ากากอนามัย รัฐบาลจึงขอให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงรีบเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ที่สถานพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทุกแห่ง
ทั้งนี้ ประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ 1.หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป 2.เด็กอายุ 6 เดือนถึง 2 ปีทุกคน 3.ผู้มีโรคเรื้อรัง (ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับเคมีบำบัด และเบาหวาน) 4.บุคคลที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป 5. โรคธาลัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ) 6. โรคอ้วน (น้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือ BMI มากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร) และ 7.ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เร่งเบิกงบลงทุน ขีดเส้นให้ได้80% กระตุ้นเศรษฐกิจ
นายกฯ อิ๊งค์นั่งหัวโต๊ะประชุมหัวหน้าส่วนราชการ บี้เร่งรัดเบิกจ่ายงบลงทุน 9.6 แสนล้าน
‘เวชระเบียน’หลอนทักษิณ โยนรพ.ตำรวจมอบให้ปปช.
นายกฯ พยักหน้ารับปม "ป.ป.ช." ทวงถามเวชระเบียนรักษาตัว
เพิ่มข้อหาแชร์ลูกโซ่18บอส จ่อหมายจับ‘ตั้ม’โกงเจ๊อ้อย
"ดีเอสไอ" แจ้งข้อหาเพิ่ม 18 บอสดิไอคอน คดีแชร์ลูกโซ่-ขายตรง
หึ่ง!เปลี่ยน‘พงษ์ภาณุ’แทน‘โต้ง’
“คปท.-ศปปส.-กองทัพธรรม” ลุกฮือ ยื่นหนังสือค้านคัดเลือกประธานบอร์ดแบงก์ชาติ
กอดMOUเจรจาเขมร ‘อิ๊งค์’หวั่นโดนฟ้องยันเดินหน้าแบ่งเค้ก/กต.แจงมีข้อดีกว่าเสีย
นายกฯ อิ๊งค์ลั่นเป็นคนไทย 100% ประเทศต้องมาก่อน ยืนยันจะรักษาแผ่นดินไทยไว้อย่างเต็มที่
เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018
การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้