ยิ่งใหญ่! “อนุทิน” จัดเต็ม เปิดประชุมระดับสูงด้านสุขภาพ “เอเปก” รัฐมนตรี สธ.ทั่วโลกร่วมงานเพียบ
เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2565 ที่โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพฯ ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการประชุมระดับรัฐมนตรีสาธารณสุขของเขตเศรษฐกิจเอเปก ภายใต้หัวข้อ “Open to partnership. Connect with the World. Balance Health and the Economy. หรือเปิดกว้างสร้างสัมพันธ์กับภาคี เชื่อมโยงกันกับโลก สู่สมดุลระหว่างสาธารณสุขและเศรษฐกิจ” ซึ่งเป็นการจัดประชุมด้านสาธารณสุขครั้งแรกของประเทศไทย (APEC Health Week) ระหว่างวันที่ 22-26 สิงหาคม 2565 โดยวันนี้เป็นวงเสวนา เพื่อถอดบทเรียนนานาชาติในการรับมือโรคระบาด ขณะที่พรุ่งนี้ จะเป็นการประชุมเพื่อแสวงหาความร่วมมือระหว่างกัน
มีผู้เข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีสาธารณสุขจากเขตเศรษฐกิจเอเปก ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ จีนไทเป ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม เข้าร่วมแบบออนไซต์ และมีจีน จีนฮ่องกง เกาหลีใต้ และรัสเซีย เข้าร่วมในรูปแบบออนไลน์ รวมถึงมีผู้นำระดับสูงของหน่วยงานระหว่างประเทศ อาทิ เลขาธิการอาเซียน ผู้อำนวยการบริหารสำนักงานเลขาธิการเอเปก และมีข้าราชการระดับสูงและภาคเอกชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
นายอนุทินกล่าวว่า ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้านต้อนรับผู้บริหารระดับสูงจากนานาชาติมาร่วมประชุมในครั้งนี้ ซึ่งเป็นการต่อยอดมาจากที่ไทยจะได้เป็นเจ้าภาพจัดงานเอเปก ภายใต้หัวข้อ OPEN CONNECT และ BALANCE ถึงเวลาแล้วที่ผู้คนจะต้องก้าวข้ามวิกฤตโควิด-19 และเปิดรับโอกาสใหม่ๆ เข้ามา ภายใต้การอยู่ร่วมกันกับโรคอย่างเข้าใจ ถึงเวลาที่เราจะต้องกลับไปเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างกันอีกครั้ง พร้อมกับการสร้างสมดุลในเรื่องของสุขภาพและเศรษฐกิจ ซึ่งมา ณ จุดนี้ การก้าวไปข้างหน้าต้องมองให้ครบทั้ง 3 มิติ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม เราเคยมีบทเรียนจากช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่เราทุ่มเทให้กับเรื่องสุขภาพ จนกระทั่งเกิดความเสียหายอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจ ปัจจุบัน เราต้องกลับมาบาลานซ์ 2 เรื่องนี้ให้ไปด้วยกันได้
การที่ผู้นำด้านสุขภาพของหลายชาติมารวมกันตรงนี้ คือโอกาสที่ดีมาก ในการแบ่งปันข้อมูล ความรู้ และประสบการณ์ เมื่อครั้งต้องต่อกรกับโควิด-19 และไม่เพียงแต่เรื่องสุขภาพ แต่เรายังต้องหารือเรื่องของเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และสังคมด้วย เพื่อให้การพัฒนานั้น ครอบคลุมในทุกมิติ เราจะทิ้งเรื่องหนึ่ง เรื่องใดไว้ข้างหลังไม่ได้ และเชื่อว่าทุกชาติ ที่มาร่วมแชร์ข้อมูล ต่างมีประสบการณ์ที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่า
“กับประเทศไทย การเกิดขึ้นของ ศบค. ช่วยสร้างประสิทธิภาพในการจัดการ และบูรณาการทุกหน่วยงานให้เป็นไปอย่างคล่องตัว ทันต่อสถานการณ์ นอกจากนั้น เรายังมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่เข้มแข็ง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านสาธารณสุข ไปจนถึงพลังของ อสม. และความสำเร็จในการจัดหา และให้บริการวัคซีนอย่างทั่วถึง เหล่านี้คือปัจจัยบวกของไทย ที่เราพร้อมถ่ายทอดให้นานาชาติได้รับทราบ ก้าวต่อไปของการสาธารณสุขไทย คือต้องนำทุกภาคส่วนให้เข้ามามีส่วนร่วมกับการรับมือกับโรคระบาดและโรคอุบัติใหม่ในอนาคต ซึ่งศูนย์ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข และโรคอุบัติใหม่ของอาเซียน (ACPHEED) ที่ตั้งในไทย ก็จะทำหน้าที่นี้ด้วย เพื่อให้ประชาคมอาเซียนมีความมั่นคงทางสุขภาพและเศรษฐกิจต่อไป สำหรับประเทศไทย ระบบสาธารณสุขของเราได้รับการยอมรับ และเป็นจุดแข็งในเรื่องของการดึงดูดการลงทุนจากในประเทศและต่างประเทศ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ”.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แฉระบบเด็กฝาก ทำลายองค์กรตร. ดับฝัน‘ดาวฤกษ์’
เช็ก 41 รายชื่อแต่งตั้งนายพลสีกากี ระดับรอง ผบ.ตร.-ผบช.
ยธ.เมินแจงกมธ. ปมนักโทษเทวดา รพ.ตำรวจชั้น14
ชั้น 14 น่าพิศวง "โรม" กวักมือเรียก “ทักษิณ” ไปสภา เข้าแจง กมธ.มั่นคงฯ
แจกเฟส2เอื้อเลือกอบจ. เตือนร้องถอดถอนครม.
นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ยันไทยสงบ สันติ หวังแม้รัฐบาลเปลี่ยน
ฟ้อง9บิ๊กมท.ทุจริตที่เขากระโดง
เรื่องถึงศาล "ณฐพร" ฟ้องกราวรูด "บิ๊ก ขรก.มหาดไทย"
ลุ้นศาลรับคดีล้มล้าง ตุลาการถก6ประเด็น‘ทักษิณ-พท.’/ดันแก้ประชามติไม่รอ180วัน
"ทักษิณ-พท." ระทึก! 9 ตุลาการศาล รธน.ยืนยันนัดประชุมวาระพิเศษ 22 พ.ย.นี้
สั่งประหารชีวิต ‘แอม ไซยาไนด์’ คุกผัวเก่า-ทนาย
ศาลพิพากษาประหารชีวิต "แอม ไซยาไนด์" วางยาฆ่าก้อย พร้อมชดใช้ 2.3 ล้าน