ซูเปอร์โพลสำรวจประเด็น ขบวนการทำลายศรัทธาผู้อื่น พบประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้ขบวนการเคลื่อนไหวเรียกร้องการเปลี่ยนแปลง ควรให้เกียรติ เคารพความรักความศรัทธาของผู้อื่นที่มีต่อจารีตประเพณี สถาบันต่างๆ ของผู้อื่น คนจะเท่ากันต้องเคารพความเห็นต่าง
เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2564 ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) มูลนิธิสถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ ร่วมกับนางจุฬารัตน์ นิรัติศยกุล นักวิชาการอิสระด้านการพัฒนายั่งยืน เสนอผลสำรวจภาคสนามเรื่อง ขบวนการทำลายศรัทธาผู้อื่น กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,032 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 27-30 ตุลาคม 2564
พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 98.0 ระบุขบวนการเคลื่อนไหวเรียกร้องการเปลี่ยนแปลง ควรให้เกียรติ เคารพความรัก ความศรัทธาของผู้อื่นที่มีต่อจารีตประเพณี สถาบันต่างๆ ของผู้อื่น เช่น ความรักศรัทธา เทิดทูนสถาบันหลักของชาติ และกรณีขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวของจุฬาลงกรณ์ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 97.8 ระบุขบวนการที่ต้องการเปลี่ยนแปลงแบบทำลายความรักความศรัทธาและคุกคามข่มขืนจิตใจผู้อื่น เป็นขบวนการมุ่งทำลายมากกว่าสร้างสรรค์ความสงบสุขเรียบร้อยในสังคม และร้อยละ 95.1 ระบุขบวนการเคลื่อนไหวให้คนเท่ากัน แต่ทำลายประเพณี ทำลายคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เป็นแค่การหลอกลวงเพื่อทำให้ตนเองและพรรคพวกขึ้นมีอำนาจอยู่เหนือผู้อื่นเสียเอง
ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.9 เห็นด้วยว่าคนเราจะเท่ากัน ต้องเคารพในความเห็นที่ต่างกัน ไม่เป็นเหตุ เปลี่ยนแปลงไปสู่ความแตกแยก ขัดแย้งรุนแรงบานปลาย ในขณะที่เพียงร้อยละ 4.1 เห็นด้วยน้อยถึงไม่เห็นด้วยเลย นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.3 เห็นด้วยว่าคุณค่าความเป็นไทย ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี เป็นสิ่งที่มีคุณค่ารักษาให้อยู่ร่วมสมัยได้ในทุกยุค เป็นคุณค่าทางจิตใจและเสริมสร้างการมีส่วนร่วม หนุนใจ หนุนพลังต่อกันของคนในสังคม ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 98.5 เห็นด้วยว่าขบวนการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงต่างๆ ควรนำวัฒนธรรมและประเพณีไทย ผสมผสานและเข้ากับการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขสู่ความสงบสุขเรียบร้อยของบ้านเมืองและประชาชน
ผอ.ซูเปอร์โพลกล่าวว่า จากผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า ขบวนการเคลื่อนไหวต่างๆ ที่จะทำให้คนจะเท่ากัน ต้องเริ่มจากการเคารพและยอมรับความเห็นที่แตกต่างของกันและกัน ถ้าจริงใจต้องทำสิ่งที่ทำให้เกิดการชวนกันทำสร้างสรรค์ ไม่ใช่ชวนทะเลาะและนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงบานปลาย เพราะความหมายหรือสิ่งที่นึกถึงคำว่า “คนเท่ากัน” ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน และไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทั้งหมด การเคลื่อนไหวของขบวนการเปลี่ยนแปลงต้องไม่นำไปสู่ความแตกแยกของคนในชาติ เป็นขบวนการทำลายศรัทธาผู้อื่น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘จุรินทร์’ เผย8ปัจจัย การเมืองปี68เดือด!
"จุรินทร์" เปิด 8 ปัจจัยการเมืองปี 2568 จับตามีคดีความที่มีผู้ร้องไปยื่นร้องนายกฯ และผู้เกี่ยวข้องไว้ที่ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีเรื่องที่ค้างอยู่อย่างน้อย
‘จ่าเอ็ม’ ผวาขออารักขา
กัมพูชาส่งตัว "จ่าเอ็ม" ให้ไทยแล้ว นำตัวเข้ากรุงสอบเครียดที่ สน.ชนะสงคราม แจ้งข้อหาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เจ้าตัวร้องขอเจ้าหน้าที่คุ้มครองเป็นพิเศษ
เป็นแม่ที่ดีหรือยัง! ‘อิ๊งค์’ เปิดอกวันเด็กสมัยก่อนไม่มีไอแพดโวยถูกบูลลี่
"นายกฯ อิ๊งค์" เปิดงานวันเด็กคึกคัก! เด็กขอถ่ายรูปแน่น พี่อิ๊งค์ล้อมวงเปิดอกตอบคำถามเด็กๆ มีพ่อเป็นต้นแบบ เผยวัยเด็กไม่มีไอแพด โทรศัพท์ ไลน์ พี่มีลูกสองคน
‘บิ๊กอ้วน’ เอาใจทอ. เคาะซื้อ ‘กริพเพน’
ปิดจ๊อบภายในปีนี้! "บิ๊กอ้วน" ไฟเขียว ทอ.เลือก "กริพเพน" มั่นใจคนใช้เป็นคนเลือก รออนุมัติแบบหลังทีมเจรจาออฟเซตกับสวีเดนจบ แจงทูตสหรัฐแล้ว ไทยยันไม่มีนโยบายกู้เงินซื้ออาวุธตามข้อเสนอขายเอฟ
กฤษฎีกายี้กม.เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์
จับตา ครม.ถกร่าง กม.เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ 13 ม.ค.นี้
กสม.ตบปากทักษิณ ซัดปราศรัยเหยียดเชื้อชาติ/‘พท.’ชง‘ลูกอิ๊งค์’คุยพ่อลดดีกรี
"ประธาน กกต." ลั่นพร้อมดูแลเลือกตั้งนายก อบจ. 1 ก.พ.แล้ว