มติศาลรัฐธรรมนูญ 8 ต่อ 1 ชี้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินให้อำนาจนายกฯ ออกข้อกำหนดห้ามชุมนุมมั่วสุม ไม่ขัดหรือแย้ง รธน. คกก.วินิจฉัยข้อมูลข่าวสารฯ สั่ง "บช.น." เปิดยอดกำลังพล-แก๊สน้ำตา-กระสุนยาง ที่ใช้คุมม็อบตั้งเเต่ปี 63 ถึงปัจจุบัน
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาคดีที่สำคัญ กรณีศาลแขวงดุสิตส่งคำโต้แย้งของจำเลย (นายปิยรัฐ จงเทพ หรือโตโต้) ในคดีหมายเลขดำที่ อ 1762/2563 เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 ว่าพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาตรา 9 (2) และมาตรา 11 (6) ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 26 หรือไม่
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติโดยเสียงข้างมาก 8 ต่อ 1 วินิจฉัยว่า พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มาตรา 9 (2) ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติลงได้โดยเร็ว หรือป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น ให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกข้อกำหนดห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ หรือกระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย และมาตรา 11 (6) ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่สถานการณ์ฉุกเฉินมีการก่อการร้าย การใช้กำลังประทุษร้ายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน หรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตหรือทรัพย์สินของรัฐหรือบุคคล และมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาให้ยุติได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีให้นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศให้สถานการณ์ฉุกเฉินนั้นเป็นสถานการณ์ที่มีความร้ายแรง และให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศห้ามมิให้กระทำการใดๆ หรือสั่งให้กระทำการใดๆ เท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยของประชาชนนั้น ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการได้เผยแพร่ผลการประชุมของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร สาขาสังคม การบริหารราชการแผ่นดิน และการบังคับใช้กฎหมาย คณะ 3 (กวฉ.คณะ 3) ซึ่งมี พล.อ.กฤษณะ บวรรัตนารักษ์ เป็นหัวหน้าคณะ และมี พล.ต.ต. ประสิทธิ์ เฉลิมวุฒิศักดิ์, นายธนกฤต วรธนัชชากุล รองศาสตราจารย์วรรณภา ติระสังขะ และนายพีระศักด์ ศรีรุ่งสุขจินดา เป็นกรรมการ ในการประชุมครั้งที่ 10/2565 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2565
โดยเป็นเรื่องการเปิดเผย “ข้อมูลจำนวนกำลังพลและเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมการชุมนุมทางการเมือง ระหว่างปี พ.ศ.2563 ถึงปัจจุบัน มีนายพงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์ บรรณาธิการอาวุโสสำนักข่าว The MATTER ผู้อุทธรณ์ ความว่า ผู้อุทธรณ์ขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับคู่มือในการปฏิบัติการควบคุมฝูงชนของตำรวจ จำนวนกำลังพล รวมทั้งจำนวนแก๊สน้ำตาและกระสุนยางที่เบิกมาและใช้ไปในการควบคุมฝูงชนในการชุมนุมทางการเมือง ระหว่างปี พ.ศ.2563 ถึงปัจจุบัน (ยอดรวม และแยกเป็นรายเหตุการณ์ โดยแยกตัวเลข เบิกมา กับใช้ไป หรือส่งคืน) แต่หน่วยงาน A ปฏิเสธการเปิดเผยโดยให้เหตุผลว่า การเปิดเผยจะส่งผลต่อการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการยุติหรือให้เลิกการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย ตามมาตรา 15 (2) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
คณะกรรมการวินิจฉัยฯ พิจารณาแล้วมีความเห็น ดังนี้ 1.คู่มือในการปฏิบัติการควบคุมฝูงชนของตำรวจ ข้อมูลข่าวสารดังกล่าวมีลักษณะเป็นคู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารดังกล่าวไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (4) แห่ง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 แม้ว่าบุคคลที่ขอข้อมูลจะไม่มีส่วนได้เสียหรือเกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารดังกล่าวก็ย่อมมีสิทธิเข้าตรวจดูได้ รวมถึงสามารถขอสำเนาหรือขอสำเนาที่มีคำรับรองถูกต้องของข้อมูลข่าวสารดังกล่าวได้เช่นกัน ตามมาตรา 9 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 ดังนั้น คู่มือในการปฏิบัติการควบคุมฝูงชนของตำรวจจึงเป็นข้อมูลข่าวสารที่เปิดเผยได้
2.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 41 (1) ได้บัญญัติรับรองสิทธิของประชาชนในการได้รู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ ในการดำเนินการต่างๆ ของรัฐ และมาตรา 59 ยังกำหนดหน้าที่ของรัฐในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารในความครอบครองของหน่วยงานของรัฐที่มิใช่ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐหรือเป็นความลับของทางราชการ ดังนั้น เมื่อพิจารณาแล้วการเปิดเผยยอดรวมทั้งหมดของจำนวนกำลังพล รวมทั้งจำนวนแก๊สน้ำตาและกระสุนยางที่ใช้ในการควบคุมฝูงชนในการชุมนุมทางการเมือง โดยไม่ระบุหรือแยกเป็นรายเหตุการณ์ จึงไม่กระทบกับความมั่นคงของรัฐ และมิได้ทำให้ผู้อุทธรณ์ทราบถึงอัตราการจัดกำลังพลและเครื่องมือที่นำมาใช้ในการควบคุมฝูงชนอันจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมฝูงชนของเจ้าหน้าที่ตำรวจเสื่อมประสิทธิภาพหรือไม่อาจสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ตามมาตรา 15 (2) แห่ง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 และการเปิดเผยยังจะเป็นการแสดงถึงความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงาน A ด้วย ดังนั้น จึงเปิดเผยให้ผู้อุทธรณ์ทราบได้ถึงยอดรวมจำนวนกำลังพล รวมทั้งยอดรวมจำนวนแก๊สน้ำตาและกระสุนยางที่เบิกมา ใช้ไป และส่งคืน ในการควบคุมฝูงชนในการชุมนุมทางการเมือง
ส่วนการเปิดเผยข้อมูลจำนวนกำลังพล และจำนวนแก๊สน้ำตาและกระสุนยาง โดยแยกเป็นรายเหตุการณ์ และแยกตัวเลขเบิกมา กับใช้ไป หรือส่งคืน อาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการควบคุมการชุมนุมเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยสาธารณะ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และการปกป้องคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น รวมทั้งอาจไม่สามารถป้องกันเหตุความไม่สงบอันอาจเกิดขึ้นหรือเกี่ยวข้องจากการชุมนุม ตลอดจนอาจไม่สามารถทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนส่วนรวมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมที่ผิดกฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามมาตรา 15 (2) แห่ง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ดังนั้นจึงไม่อาจเปิดเผยให้ผู้อุทธรณ์ทราบโดยแยกเป็นรายเหตุการณ์ ได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หน่วยงาน A ดังกล่าว ที่คณะกรรมการวินิจฉัยข้อมูลข่าวสารคณะ 3 สั่งให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารนี้คือ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.)
สำหรับ กวฉ.คณะ 3 นี้ เป็นคณะที่เคยมีคำวินิจฉัยให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กรณีเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นครั้งที่ 2 และนายวิษณุ เครืองาม กรณีเข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี เป็นครั้งที่ 2 ภายหลังการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 ที่ผ่านมา.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จ่อร้องยุบรัฐบาล! ‘วีระ’ อ้างเป็นกบฏทำ เสียดินแดน / ‘ผบ.ทร.’ ลงพื้นที่เกาะกูด
ผบ.ทร.ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจกำลังพลหน่วยปฏิบัติการเกาะกูด กำชับกำลังพลหากมีเรื่องใดขัดข้องให้รีบแจ้งเพื่อแก้ไข ขณะที่นายอำเภอเกาะกูดลั่นเป็นของไทยมากว่า
ฮือ! ขวาง ‘โต้ง’ ยึดธปท.
นักวิชาการ-กลุ่มเศรษฐศาสตร์เพื่อสังคม ย้ำหากฝ่ายการเมืองเข้าไปเป็นบอร์ด ธปท. สุ่มเสี่ยงเกิดการกินรวบ เป็นหายนะต่อประเทศ “กองทัพธรรม” ขยับล่าชื่อต้าน
ปลื้ม ‘UN’ ชม แจก ‘สัญชาติ’ ยันไม่มี ‘สีเทา’
รัฐบาลปลื้มยูเอ็น ยกย่องไทยยุติภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ โฆษกรัฐบาลยัน กลุ่มคนสีเทา หรือแรงงานต่างด้าว หรือผู้หลบหนีเข้าเมือง ไม่ได้สัญชาติไทย เผยเหตุให้รวดเดียว 4.8 แสนคน
‘อิ๊งค์’ ส่งสัญญาณ! กวาดล้างพ่อค้ายา
“นายกฯ อิ๊งค์” ย้ำแผนปราบยา ตัดวงจร ฝึกอาชีพ ส่งสัญญาณกวาดล้างผู้ค้าในพื้นที่ระบาด ยึด อายัดทรัพย์ เอาผิดอย่างจริงจังและเด็ดขาด
นพดลวอนหยุดปั่นเกาะกูด ‘คำนูณ’ แนะชั่งข้อ ‘ดี-เสีย’
“นพดล” ย้ำ “เกาะกูด” เป็นของไทย เอ็มโอยู 44 ไม่ได้ทำให้เสียดินแดน วอนเลิกบิดเบือนหวังผลการเมือง “คำนูณ” ชำแหละบันทึกความตกลง เป็นคุณกับกัมพูชามากกว่า
อดีตคนธปท.ต้านแทรกแซง
แรงต้านแทรกแซงแบงก์ชาติขยายวง อดีตพนักงาน ธปท.อีก 416 คน ร่วมลงชื่อจดหมายเปิดผนึก ยกจรรยาบรรณประธานบอร์ดห้ามเอี่ยวการเมือง เรียกร้องคณะกรรมการสรรหาฯ