"อนุทิน" กางแผนนับถอยหลังประเทศเข้าสู่โควิดเป็นโรคประจำถิ่น ชี้ต้องทำพร้อมกัน ภายใต้คณะกรรมการโรคติดต่อออกแบบให้เหมาะสมกับจังหวัดตนเอง แย้ม 1-2 สัปดาห์ไม่มีติดเชื้อเพิ่ม จ่อยกเลิกตรวจเอทีเค-ไทยแลนด์พลัส เตรียมเฮ สธ.เล็งขอไฟเขียว ศบค.กลางเดือน พ.ค. ทดลองทำแซนด์บ็อกซ์ เปิดทุกกิจกรรม ไม่ต้องใส่หน้ากาก
เมื่อวันพุธ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รายงานสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยว่า พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 14,887 ราย ติดเชื้อในประเทศ 14,771 ราย มาจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 14,747 ราย, มาจากการค้นหาเชิงรุกในชุมชน 24 ราย, มาจากเรือนจำ 45 ราย เป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 71 ราย หายป่วยเพิ่มขึ้น 18,919 ราย อยู่ระหว่างรักษา 162,967 ราย อาการหนัก 1,822 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 850 ราย เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 125 ราย เป็นชาย 74 ราย หญิง 51 ราย อายุ 60 ปีขึ้นไป 102 ราย มีโรคเรื้อรัง 18 ราย ไม่มีประวัติโรคเรื้อรัง 5 ราย
ขณะนี้มียอดผู้ติดเชื้อสะสมยืนยันตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 4,209,571 ราย มียอดหายป่วยสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 4,018,460 ราย มียอดผู้เสียชีวิตสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 28,144 ราย ขณะที่สถานการณ์โลกมีผู้ติดเชื้อสะสม 510,837,733 ราย ผู้เสียชีวิตสะสม 6,249,012 ราย
สำหรับ 10 จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุด ได้แก่ กทม. 3,292 ราย, ขอนแก่น 687 ราย, ศรีสะเกษ 610 ราย, บุรีรัมย์ 537 ราย, ชลบุรี 533 ราย, สมุทรปราการ 452 ราย, มหาสารคาม 374 ราย, อุบลราชธานี 336 ราย, หนองคาย 326 ราย และฉะเชิงเทรา 312 ราย
ด้านนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีโควิด-19 เข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่นว่า ขณะนี้ทุกจังหวัดมีความพร้อมและสนใจเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น ซึ่งหากมีการทำจริงก็จะทำพร้อมกันทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพราะหากทำบางจังหวัด แต่บางจังหวัดไม่ได้ทำก็ยุ่ง ต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันพร้อมกันทั้งประเทศไทย ซึ่งเรื่องนี้กรมควบคุมโรคออกแบบหลักเกณฑ์และเสนอ ศบค.
"ทั้งนี้ ยืนยันทุกขั้นตอนการดำเนินการขณะนี้ก็เรียกว่าทุกอย่างเดินเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น ทั้งการปรับ-ลดมาตรการเข้าไทย ที่ลดการตรวจจาก RT-PCR เหลือ ATK รอบเดียว ซึ่งในอนาคตหากเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น ก็ต้องมีการปรับลดทุกอย่างลงอีก ทั้งนี้ หากผ่านช่วงเทศกาลสงกรานต์ออกไปอีก 1-2 สัปดาห์ ไม่มีการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ก็อาจเสนอให้ไม่ต้องมี ATK หรือยกเลิก Thailand Plus แต่ทั้งนี้ต้องทำให้ทุกอย่างเกิดความสมดุล" นายอนุทินระบุ
นายอนุทินกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่นได้ยังคงต้องมุ่งหน้าเรื่องการฉีดวัคซีน ซึ่งผลจากการดำเนินการฉีดวัคซีนที่ผ่านมาจะเห็นว่าคนที่รับวัคซีนเข็มกระตุ้นเข็ม 3 และเข็ม 4 ไม่มีใครเสียชีวิต และหากมีการติดเชื้ออาการก็ไม่รุนแรง ทั้งนี้ ผ่านมาแล้ว 10 วัน ตัวเลขผู้ป่วยติดเชื้อไม่ได้พุ่งสูง ขอบคุณประชาชนที่ให้ความร่วมมือ
ด้าน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การปรับพื้นที่ให้เข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น ซึ่ง ศบค.ก็แจ้งให้ทุกจังหวัดเร่งจัดทำแผนรับมือกับสถานการณ์โรค เพื่อพร้อมการเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น โดยคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเป็นผู้ออกแบบ เพราะแต่ละพื้นที่มีบริบทที่แตกต่างไม่เหมือนกัน ไม่สามารถใช้แผนแบบเดียวกันได้ เช่น จ.ภูเก็ต เป็นเมืองท่องเที่ยว ก็ออกแบบลักษณะหนึ่ง, จ.ยโสธร มีบริบทของท้องถิ่นเป็นหลัก ก็อีกแบบหนึ่ง
“ตอนนี้สถานการณ์การติดเชื้อคงที่ มาจากความร่วมมือของประชาชน เคารพกติกา และสงกรานต์ก็มีการฉีดวัคซีนพอสมควร ทำให้สถานการณ์ไม่ได้พุ่งไป ทั้งปัจจัยเสี่ยงที่สถานการณ์จะแย่ลงก็ต่อเมื่อมีการกลายพันธุ์ของไวรัส ซึ่งไม่ได้มีอะไรมากนัก การกลายพันธุ์ที่้พบตอนนี้ ยังไม่ดื้อต่อวัคซีน หรือแพร่เร็วมากขึ้น ประเทศไทยได้ผ่านเชื้อที่แรงอย่างเดลตามาแล้ว อีกทั้งตอนนี้พบการกลายพันธุ์เล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น ก็ปล่อยเป็นหน้าที่ของนักวิทยาศาสตร์” นพ.โอภาสระบุ
ด้าน นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผอ.กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีจังหวัดใดสามารถใกล้เข้าสู่การกลายเป็นโรคประจำถิ่นแม้แต่จังหวัดเดียว โดยเงื่อนไขสำคัญของการเป็นโรคประจำถิ่น ต้องประกอบไปด้วยพื้นที่นั้นสถานการณ์การติดเชื้อต้องทรงตัว ไม่ได้พบผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น พื้นที่นั้นต้องมีการรับวัคซีนเข็มกระตุ้นหรือเข็ม 3 เกิน 60% ของจำนวนประชากร และในส่วนของผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ต้องรับวัคซีนเข็ม 1 เกิน 80% และเข็มกระตุ้นเกิน 60%
“ทั้งนี้ หากทุกจังหวัดผ่านเงื่อนไขนี้ ก็จะมาเข้าสู่กระบวนการที่ทาง ศบค.ประกาศไปแล้ว คือให้ทุกจังหวัดทำแผน จากนั้นปฏิบัติตามแผน เพื่อพร้อมเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น ทำในลักษณะของแซนด์บ็อกซ์ ซึ่งคาดว่าจะมีการนำเสนอต่อ ศปก.สธ. และเสนอต่อที่ประชุม ศบค.ต่อไป หรือราวกลางเดือน พ.ค. น่าจะมีการทดลองทำตามแผนการเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่นในแต่ละจังหวัด” นพ.จักรรัฐ ระบุ
นพ.จักรรัฐกล่าวว่า สำหรับแผนสำคัญ คือ ต้องใช้ได้จริง เพราะต้องเปิดกิจกรรม กิจการต่างๆ ตามปกติ ไม่มีการสวมหน้ากากอนามัย ประกอบด้วย 1.ให้ผู้ประกอบการจัดทำแผนรับมือกับสถานการณ์โรคที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งเรื่องของการกลายพันธุ์ เพื่อรับมือกับสถานการณ์จริง 2.มีหน่วยงานกำกับดูแลตรวจสอบที่ชัดเจน เพื่อติดตามกำกับผู้ประกอบการอีกที เช่น การปิด-เปิดสถานประกอบการ ผับบาร์ ไม่ใช่เปิดเกินเวลา และ 3.ประชาชนต้องร่วมสังเกตการณ์ ติดตามกับมาตรการต่างๆ และแจ้งเบาะแส หากพบเห็นการไม่ปฏิบัติตามแผน ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้จะมีการตรวจสอบกันเอง เพื่อให้การทดลองเปิดกิจกรรมกิจการต่างๆ มีความรัดกุม พร้อมการเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่นในวันที่ 1 ก.ค.65.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทอน-เท้งไม่กล้าแตะแม้ว ร้องกกต.ซื้อเสียง52เรื่อง
“อิทธิพร” ยืนยันความพร้อมเลือกตั้งสมาชิก-นายก อบจ.
งบปี69ยึด3เป้า ย้ำขรก.ใช้คุ้มค่า คัด‘ปธ.ธปท.’อืด
นายกฯ มอบนโยบายจัดทำงบปี 69 วาง 3 เป้าหมาย ไม่ลดสัดส่วนนักลงทุน-ไม่เพิ่มงบ-ไม่เพิ่มอัตรากำลัง
สภาไฟเขียว‘สุราชุมชน’ ตีปี๊บซอฟต์พาวเวอร์ไทย
มติสภาเอกฉันท์ 415 เสียง ไฟเขียว "กม.สุราชุมชน" เปิดโอกาสเกษตรกรรายย่อยผลิต-มีเครื่องกลั่นสุรา
อิ๊งค์หวิดโดนตุ๋น/3ทุนใหญ่งาบ
อึ้ง! "นายกฯ อิ๊งค์" หวิดโดนคอลเซ็นเตอร์หลอกโอนเงิน
ลากทักษิณขึ้นเขียง แพทยสภาเปิดวอร์รูมตรวจเวชระเบียนชั้น14เร่งจบมี.ค.
แพทยสภาเข็นนักโทษเทวดาขึ้นเขียง “หมออมร” เปิดวอร์รูมนัดแรกตรวจเอกสารลับ
27ม.ค.โอนเงินหมื่นเฟส2 คลังยันคุยธปท.ดันศก.โต
นายกฯ สรุปทิศทางทำงบปี 69 ย้ำต้องตอบโจทย์พัฒนาประเทศ