“นิด้าโพล” เผยคนกรุงส่วนใหญ่เลือกพ่อเมืองจากนโยบายเป็นหลัก ชี้การเมืองระดับชาติอาจส่งบ้าง “ซูเปอร์โพล” บอกปริญญ์เอฟเฟกต์ไม่มีผลกระทบผู้สมัคร แต่ “สกลธี” มาแรงโดดมารั้งอันดับ 3 ผู้สมัครโนเนม วอนสื่อให้พื้นที่เท่าบิ๊กเนม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน ศูนย์สำรวจความคิดเห็นสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) หรือนิด้าโพล ได้เผยผลสำรวจของประชาชนเรื่อง “ปัจจัยในการชนะการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.” ซึ่งสำรวจระหว่างวันที่ 4-8 เม.ย.2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวม 1,325 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับปัจจัยในการชนะการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.
โดยเมื่อถามประชาชนถึงสถานการณ์การเมืองระดับชาติกับการส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ว่าฯ กทม. พบว่า 31.25% ระบุว่าส่งผลต่อการตัดสินใจอย่างมาก รองลงมา 30.41% ระบุว่าไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลย, 24.38% ระบุว่าค่อนข้างส่งผลต่อการตัดสินใจ และ 13.96% ระบุว่า ไม่ค่อยส่งผลต่อการตัดสินใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนถึงปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. พบว่า 44.75% ระบุว่านโยบายของผู้สมัคร, 28.91% ระบุว่าคุณสมบัติ/ชื่อเสียงส่วนตัวของผู้สมัคร, 9.36% ระบุว่าฐานเสียงจัดตั้งของผู้สมัคร, 6.19% ระบุว่าอิทธิพลของบุคคล/กลุ่มบุคคลที่สนับสนุนผู้สมัคร, 6.04% ระบุว่ากลยุทธ์/แนวทางการหาเสียงของผู้สมัคร, 4% ระบุว่าการสนับสนุนของสื่อมวลชนที่มีต่อผู้สมัคร และ 0.75% ระบุว่างบประมาณในการหาเสียงของผู้สมัคร
ขณะเดียวกัน ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล ได้เผยผลสำรวจเรื่อง ปริญญ์เอฟเฟกต์ เลือกตั้ง กทม. ซึ่งศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน กทม. 1,548 ตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่หรือ 48.5% ติดตามข่าว เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.มากถึงมากที่สุด, 32.3% ติดตามปานกลาง และ 19.2% ติดตามน้อยถึงไม่ติดตามเลย
เมื่อถามถึงการรับรู้ข่าวนายปริญญ์ พานิชภักดิ์ ของคน กทม. พบว่า ส่วนใหญ่หรือ 46.3% รับรู้มากถึงมากที่สุด, 31.3% รับรู้ปานกลาง และ 22.4% รับรู้น้อยถึงไม่รู้เลย ที่น่าพิจารณาคือผลกระทบของข่าวนายปริญญ์ต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.หลังจากทดสอบค่านัยสำคัญทางสถิติ พบว่าไม่มีนัยสำคัญทางสถิติต่อนายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ในนามพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) แม้มีค่าติดลบ คือ -.029 ก็ตาม นอกจากนี้ ไม่มีนัยสำคัญต่อผู้สมัครคนอื่นด้วย เช่น พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง แม้ติดค่าลบจากข่าว นายปริญญ์เช่นกัน คือ -.054 และไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แม้นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ มีค่าเป็นบวก คือ +.054
ที่น่าสนใจคือ มีผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 2 คนที่ผลการทดสอบปริญญ์เอฟเฟกต์พบว่ามีค่าผลกระทบเป็นบวก และมีนัยสำคัญทางสถิติคือ นายสกลธี ภัททิยกุล ได้ +.161 และมีนัยสำคัญทางสถิติกว่า 99% รวมถึงนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ที่ได้รับผลกระทบในทางบวกคือได้ +.091 และมีนัยสำคัญทางสถิติกว่า 90% ตามลำดับ ส่วนผู้สมัครคนอื่นๆ ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติคือ ไม่มีผลกระทบอะไรต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ของคน กทม.
เมื่อถามถึงการตัดสินใจเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ของคน กทม. เปรียบเทียบระหว่างครั้งแรกและครั้งที่สอง หลังลงสมัครรับเลือกตั้งอย่างเป็นทางการแล้ว พบว่าแนวโน้มคนจะเลือกเพิ่มขึ้นทุกคน แต่อันดับสลับกันอยู่บ้าง กล่าวคือ นายชัชชาติยังคงนำเพิ่มจาก 20.3% ในครั้งที่ 1 มาเป็น 24.5% ในครั้งที่ 2 นายสุชัชวีร์เพิ่มขึ้นจาก 9.8% ในครั้งที่ 1 มาเป็น 13.9% ในครั้งที่ 2 และที่น่าสนใจจากปริญญ์เอฟเฟกต์ พบว่านายสกลธีเพิ่มขึ้นจาก 5.7% ในครั้งที่ 1 มาเป็น 10.1% ในการสำรวจครั้งล่าสุด และขยับขึ้นมาเป็นอันดับ 3 ในขณะที่ พล.ต.อ.อัศวิน เพิ่มขึ้นจาก 7.1% มาอยู่ที่ 9.8% นายวิโรจน์เพิ่มขึ้นจาก 2.5% มาอยู่ที่ 5.5% และอื่นๆ ได้แก่ น.ส.รสนา โตสิตระกูล น.ต.ศิธา ทิวารี เป็นต้น เพิ่มขึ้นจาก 5.9% มาอยู่ที่ 7.5% ในขณะที่กลุ่มคนไม่ตัดสินใจลดลงจาก 48.7% มาอยู่ที่ 28.7% ในการสำรวจครั้งนี้
น.ต.ศิธากล่าวถึงผลสำรวจความคิดเห็นของนิด้าโพลว่า เชื่อว่านโยบายของผู้สมัครแต่ละคนไม่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับใครจะหยิบยกเรื่องไหนขึ้นมาเน้นให้เกิดประโยชน์ และแก้ไขปัญหาให้กับคน กทม.อย่างไรมากกว่า ซึ่งยอมรับว่าพรรคใหญ่ที่ส่งผู้สมัครมีความได้เปรียบกว่า โดยขอให้ลดการใส่ร้ายโจมตีกันทำลายป้ายหาเสียง ขอให้ลดการเอาชนะกัน และไม่ว่าใครจะได้เป็นผู้ว่าฯ กทม. ก็ยินดีให้เอานโยบายไปใช้ได้
นายวิโรจน์กล่าวถึงโพลเช่นกันว่า ไม่แปลกใจตอบผลโพลดังกล่าว เพราะกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางของการบริหารและมีประชาชนจากทุกจังหวัดเข้ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งกลยุทธ์หาเสียงในช่วงโค้งสุดท้ายตนเองพร้อมทีม ส.ก.ยังเชื่อว่าการลงพื้นที่พบปะประชาชนแบบเห็นหน้าเห็นตามองตา พร้อมรับฟังปัญหาสะท้อนความคิดเห็นยังเป็นปัจจัยหลักสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง
สำหรับการลงพื้นที่หาเสียงของบรรดาผู้สมัครต่างๆ นั้น นายสกลธีได้ลงพื้นที่ตลาดกิตติ, ตลาดสะพาน 2 และตลาดแสงจันทร์ เขตสาทร ท่ามกลางประชาชนที่เดินทางมาจับจ่ายใช้สอยในช่วงเช้า โดยนายสกลธีระบุถึงการลงพื้นที่ตลาดในเกือบทุกเช้าในแต่ละเขต ว่าจะได้พบกับคนในพื้นที่ที่สามารถสะท้อนปัญหาหลายๆ อย่าง รวมทั้งข้อแนะนำที่เฉพาะเจาะจง โดยเฉพาะกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากในการทำมาหากิน ซึ่งพบว่าปัญหาไม่แตกต่างกัน คือเรื่องกำลังซื้อที่หายไป และเรื่องเงินช่วยเหลือในการประกอบอาชีพ สำหรับผู้ที่เดือดร้อนจริงๆ และการหาแหล่งเงินทุนใหม่ๆ ที่ดอกเบี้ยไม่สูง
ส่วนนายชัชชาติได้ปั่นสามล้อถีบแจกแผ่บพับหาเสียงพื้นที่เขตบางขุนเทียน พร้อมหารือผู้ค้าหาบเร่แผงลอยและวินมอเตอร์ไซค์ เสนอให้เป็นพื้นที่การค้า ถ.พระราม 2 ซอย 69 เป็น 1 ใน 3 พื้นที่ต้นแบบจัดการหาบเร่แผงลอยที่สามารถอยู่ร่วมกับพื้นที่สาธารณะได้ โดยได้เสนอเพิ่มสัดส่วนผู้ค้าแผงลอย-ประชาชนในพื้นที่ เข้าคณะกรรมการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอยระดับเขต ร่วมกำหนดรูปแบบพื้นที่แผงลอยที่เหมาะสมสอดคล้องเอกลักษณ์พื้นที่ และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
"การจัดการหาบเร่แผงลอยไม่ได้มีต้นแบบเดียว เพราะแต่ละพื้นที่มีบริบทแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นต้องมีคณะกรรมการฯ เข้ามาจัดการและดูแล จริงๆ ควรดูแลผู้ค้าที่เป็นชุมชนในพื้นที่ก่อน เพราะชุมชนจะช่วยดูแลพื้นที่ ไม่ต้องเดินทางไปไกลบ้าน และมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชนอีกด้วย" นายชัชชาติ กล่าว
ส่วนผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.อิสระ 6 คน นำโดยนายวรัญชัย โชคชนะ, พล.อ.ต.ทูตปรีชา เลิศสันทัดวาที, นายธเนตร วงษา, นายภูมิพัฒน์ อัศวภูมินทร์, นายประยูร ครองยศ, นายวิทยา จังกอบพัฒนา และนายกฤติชัย พยอมแย้ม ได้ร่วมกันแถลงเรียกร้องให้สื่อมวลชนเปิดพื้นที่สื่อในการหาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้ ด้วยความเสมอภาคเท่าเทียม และแจงเกี่ยวกับแนวทางการหาเสียงในช่วง 35 วันที่เหลือนับจากนี้ก่อนถึงวันเลือกตั้ง 22 พ.ค. ที่จะหาเสียงแบบกลุ่ม พร้อมเชิญชวนให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งให้มากที่สุด
นายภูมิพัฒน์ระบุว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ควรจัดเวทีปราศรัยให้ผู้สมัครทุกคน หรือ 30 คนได้หาเสียงกันอย่างเท่าเทียม ผู้สมัครบางคนยอมรับอาจไม่ได้ชนะเลือกตั้งครั้งนี้ แต่ต้องการความเท่าเทียมในพื้นที่สื่อ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘จุรินทร์’ เผย8ปัจจัย การเมืองปี68เดือด!
"จุรินทร์" เปิด 8 ปัจจัยการเมืองปี 2568 จับตามีคดีความที่มีผู้ร้องไปยื่นร้องนายกฯ และผู้เกี่ยวข้องไว้ที่ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีเรื่องที่ค้างอยู่อย่างน้อย
‘จ่าเอ็ม’ ผวาขออารักขา
กัมพูชาส่งตัว "จ่าเอ็ม" ให้ไทยแล้ว นำตัวเข้ากรุงสอบเครียดที่ สน.ชนะสงคราม แจ้งข้อหาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เจ้าตัวร้องขอเจ้าหน้าที่คุ้มครองเป็นพิเศษ
เป็นแม่ที่ดีหรือยัง! ‘อิ๊งค์’ เปิดอกวันเด็กสมัยก่อนไม่มีไอแพดโวยถูกบูลลี่
"นายกฯ อิ๊งค์" เปิดงานวันเด็กคึกคัก! เด็กขอถ่ายรูปแน่น พี่อิ๊งค์ล้อมวงเปิดอกตอบคำถามเด็กๆ มีพ่อเป็นต้นแบบ เผยวัยเด็กไม่มีไอแพด โทรศัพท์ ไลน์ พี่มีลูกสองคน
‘บิ๊กอ้วน’ เอาใจทอ. เคาะซื้อ ‘กริพเพน’
ปิดจ๊อบภายในปีนี้! "บิ๊กอ้วน" ไฟเขียว ทอ.เลือก "กริพเพน" มั่นใจคนใช้เป็นคนเลือก รออนุมัติแบบหลังทีมเจรจาออฟเซตกับสวีเดนจบ แจงทูตสหรัฐแล้ว ไทยยันไม่มีนโยบายกู้เงินซื้ออาวุธตามข้อเสนอขายเอฟ
กฤษฎีกายี้กม.เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์
จับตา ครม.ถกร่าง กม.เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ 13 ม.ค.นี้
กสม.ตบปากทักษิณ ซัดปราศรัยเหยียดเชื้อชาติ/‘พท.’ชง‘ลูกอิ๊งค์’คุยพ่อลดดีกรี
"ประธาน กกต." ลั่นพร้อมดูแลเลือกตั้งนายก อบจ. 1 ก.พ.แล้ว