ตรึงดอกเบี้ย กนง.หั่นจีดีพี พิษน้ำมันแพง

กนง.เอกฉันท์คงดอกเบี้ย 0.5% พร้อมหั่นจีดีพีเหลือ 3.2% ผลพวงศึกรัสเซีย-ยูเครน จ่อร่อนหนังสือแจง "คลัง" หลังเงินเฟ้อหลุดกรอบแตะ 4.9%   ยังการันตีเศรษฐกิจไทยไม่ถดถอย

เมื่อวันที่ 30 มีนาคม นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน  ธนาคารแห่งประเทศไทย ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยภายหลังการประชุม กนง. ว่า ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี และปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2565 เหลือ 3.2% จากเดิม 3.4% ส่วนปี 2566 ปรับลดลงเหลือ 4.4% จากเดิม 4.7% โดยเศรษฐกิจไทยในปี 2565 ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน -0.1% เศรษฐกิจคู่ค้าชะลอตัวจากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน -0.2% และผลกระทบจากราคาน้ำมัน -0.3%

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2565 และ 2566 คาดว่าจะอยู่ที่ 4.9% และ 1.7% ตามลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นกว่า 5% ในไตรมาสที่ 2 และ 3 ในปี 2565 จากราคาพลังงานและการส่งผ่านต้นทุนในหมวดอาหารเป็นหลัก ก่อนที่จะปรับลดลงเข้าสู่กรอบเป้าหมายที่ 1-3% ในปี 2566 ส่วนหนึ่งจากราคาพลังงานที่คาดว่าจะไม่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง โดย กนง.เตรียมทำหนังสือเปิดผนึกถึงกระทรวงการคลังเพื่อชี้แจงกรณีอัตราเงินเฟ้อเกินกรอบเป้าหมาย

อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อยังมีความเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่มีโอกาสสูงกว่าที่ประเมินไว้ และการส่งผ่านต้นทุนของผู้ประกอบการที่อาจมากกว่าคาด ซึ่งอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเป็นผลจากแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปทาน ในขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ยังอยู่ในระดับต่ำจากรายได้ที่เพิ่งเริ่มฟื้นตัว รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย

“การปรับดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อที่สูงขึ้น มองว่ามีผลกระทบที่กว้าง ที่จำเป็นต้องชั่งน้ำหนักให้ดีในการขยับ การขึ้นดอกเบี้ยเพื่อลดเงินเฟ้อ หากขึ้นแรงก็ลดเงินเฟ้อได้ แต่จะฉุดอุปสงค์ให้ถดถอย และเมื่อมองไปข้างหน้าเงินเฟ้อก็ไม่ได้ขึ้นร้อนแรงและต่อเนื่อง จึงไม่อยากใช้เครื่องมือที่มีผลกระทบค่อนข้างมากในขณะนี้กับปัจจัยที่มีลักษณะชั่วคราว เพราะดอกเบี้ยมีผลพอสมควร” นายปิติ ระบุ

ทั้งนี้ กนง.ยืนยันว่าเศรษฐกิจไทยไม่ได้เข้าสู่ภาวะถดถอยและเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น หรือ STAGFLATION เพราะภาวะดังกล่าว เศรษฐกิจจะต้องตกต่ำ ไม่ขยายตัว  ขยายตัวช้าเป็นเวลายาวนาน ส่วนเงินเฟ้อก็อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง แต่เมื่อมองไปข้างหน้าเศรษฐกิจไทยอยู่ในลักษณะกำลังทะยานขึ้น ในปี 2566 ก็โตเร็วกว่าศักยภาพ และคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับเข้าสู่ช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ได้ในช่วงปลายปี 2565 หรือต้นปี 2566

ขณะที่การปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จากการติดตามตลาดตราสารพันธบัตร ยังไม่เห็นสัญญาณเคลื่อนย้ายเงินทุนที่มีลักษณะหวือหวา แม้ว่าตลาดจะมีการคาดการณ์ว่าเฟดอาจปรับขึ้นดอกเบี้ย 5-6 ครั้ง หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2% แต่ถ้าดูผลตอบแทนพันธบัตร 2 ปี สหรัฐอยู่ที่ประมาณ 2% ส่วนของไทยอยู่ที่ 0.7-0.8% มองไปข้างหน้าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยจะไม่กระทบต่อค่าเงินบาท และความเสี่ยงเงินทุนไหลออกยังอยู่ในขอบเขตที่ดูแลได้ เพราะนักลงทุนจะให้ความสำคัญต่อการขยายตัวเศรษฐกิจในภาพรวม ซึ่งเศรษฐกิจไทยกำลังจะทะยานขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐมีการคาดการณ์ว่าใกล้จะชะลอตัวแล้ว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นักกฎหมาย ชี้ไม่ง่าย 'โต้ง' ว่าที่ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ จะแทรกแซงผู้ว่าแบงก์ชาติ

ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ ดร.ณัฏฐ์ นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีหลายฝ่ายคัดค้าน นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นประธานบอร์ดแบงก์ชาติคนใหม่ เป็นตัวแทนฝ่

LH Bank ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ พร้อมออกแคมเปญสุดยิ่งใหญ่ “คิดถึงสินเชื่อบ้าน คิดถึงธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์” ด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษและรูปแบบการผ่อนชำระที่ยืดหยุ่นโดนใจ

LH Bank ตอกย้ำความแข็งแกร่งด้านสินเชื่อบ้าน ออกแคมเปญสุดพิเศษมุ่งหวังเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความสุขให้กับทุกครอบครัว ตอบโจทย์ด้วยผลิตภัณฑ์สินเชื่อบ้านที่หลากหลาย ที่ครอบคลุมทั้งสินเชื่อบ้านใหม่ สินเชื่อรีไฟแนนซ์ และสินเชื่ออเนกประสงค์

รัฐบาลดี๊ด๊า! เปิดทำเนียบฯ รับม็อบเชียร์ 'กิตติรัตน์' นั่งปธ.บอร์ดแบงก์ชาติ

เครือข่ายภาคประชาสังคมฯ ยื่น 1.5 หมื่นรายชื่อ หนุน 'กิตติรัตน์' นั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติ 'รองเลขาฯนายกฯ' รีบหอบส่ง ธปท.ทันที แย้มวันนี้ไม่เลื่อนแล้ว

ลุ้น! นัดครั้งที่3 เลื่อน-ไม่เลื่อน ลงมติเลือก ‘ปธ.บอร์ดธปท.’ จันทร์นี้

นัดครั้งที่ 3 รอบนี้ ลุ้นเลื่อน-ไม่เลื่อน ลงมติเลือกประธานบอร์ดธปท.จันทร์นี้ กรรมการฯปิดปากเงียบ คลัง เปลี่ยนตัว กิตติรัตน์หรือยัง ม็อบนัดรวมพลัง ยื่น45,000 ชื่อ  ต้าน’เสี่ยโต้ง’ยึดแบงก์ชาติ