'หมอยง' เปิดข้อมูลการให้วัคซีนสลับเชื้อตาย กับ mRNA สร้างภูมิคุ้มกันสูง

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ (แฟ้มภาพ)

มอยง แสดงความเห็นเรื่อง โควิด 19 วัคซีน การให้วัคซีนสลับเชื้อตาย กับ mRNA

24 ต.ค. 2564 – ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความเห็นเรื่อง โควิด 19 วัคซีน การให้วัคซีนสลับเชื้อตาย กับ mRNA โดยระบุว่า

วัคซีนเชื้อตาย เป็นตัว prime ที่ดี ทำให้ร่างกายเราเหมือนกับรับรู้ว่าเคยติดเชื้อเพราะได้รับ แอนติเจนทั้งตัวไวรัส เมื่อมีการกระตุ้นด้วย ไวรัสเวกเตอร์หรือ mRNA วัคซีน จะมีผลที่เรียกว่าปฏิกิริยาการกระตุ้น หรือตามประสาวัคซีนเรียกว่า booster effect

ดังที่ทราบกันว่า เมื่อให้วัคซีนเชื้อตาย เริ่มต้นแล้วให้ไวรัสเวกเตอร์ ที่ใช้อยู่ขณะนี้ กระตุ้นภูมิต้านทานได้ดี และก็เช่นเดียวกัน ถ้าให้วัคซีนเชื้อตายครบ 2 เข็ม แล้วกระตุ้นเข็ม 3 ด้วยไวรัสเวกเตอร์ ก็จะได้ปฏิกิริยาภูมิต้านทานร่างกายตอบสนองที่สูงมาก

จากการศึกษาในสถานการณ์จริง ที่มีการฉีดวัคซีนสลับโดยให้เข็มแรก เป็นวัคซีนเชื้อตาย (sinovac) แล้วตามด้วยเข็มที่ 2 เป็น mRNA (pfizer) ปฏิกิริยาการตอบสนองก็เช่นเดียวกัน กับการให้วัคซีนสลับ เชื้อตายกับไวรัสเวกเตอร์ ดังแสดงในรูป

การศึกษาทางคลินิก กำลังดำเนินการต่อไปให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน

ในอนาคตถ้าวัคซีนเชื้อตายสามารถใช้ในเด็กในประเทศไทยได้ วิธีการให้สลับโดยเริ่มต้นจากวัคซีนเชื้อตายเข็มแรก แล้วตามด้วย mRNA ก็จะเป็นวิธีการหนึ่งในการหลีกเลี่ยงการให้วัคซีน mRNA เข็มที่ 2 ในเด็ก เพื่อไม่ให้เกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

สิ่งที่ปรากฏชัดอีกอย่างหนึ่งก็คือว่าปฏิกิริยาการตอบสนอง หรือที่เรียกว่า booster effect จะเกิดได้ดีระยะห่างระหว่างเข็ม 1 และเข็ม 2 ถ้ายิ่งห่างก็จะมีปฏิกิริยากระตุ้นภูมิได้สูงมาก แต่การเว้นระยะห่างหลังฉีดวัคซีนเข็มแรกเพียงเข็มเดียว จะเกิดการติดเชื้อเสียก่อน

จากข้อมูลในรูปเราเห็นว่าระยะห่างระหว่างเข็ม 1 และเข็ม 2 ถ้าห่างถึง 3 เดือน จะกระตุ้นภูมิต้านทานได้สูงมาก แต่ไม่ควรทำเพราะจะเกิดการติดเชื้อระหว่างรอเข็ม 2 ได้

การศึกษา booster effect เห็นได้ชัดจากการศึกษาตั้งแต่ไวรัสตับอักเสบ บี การให้วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี 3 เข็ม ถ้าห่างกันระยะ 1 เดือน ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจะไม่แตกต่างกับการให้ 2 เข็มที่ห่างกัน 1 เดือน แต่ถ้าให้เข็ม 3 ห่างออกไปที่ 6 เดือน (0, 1 และ 6) หรือ 12 เดือน ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นหลังเข็ม 3 จะมีปฏิกิริยาการกระตุ้นที่สูง (booster effect)

ดังนั้นกฎเกณฑ์ในการให้วัคซีน ถ้าลืม หรือยังไม่พร้อมในการให้ และเลื่อนออกไป สามารถให้ต่อได้เลย โดยไม่ต้องมีการเริ่มต้นใหม่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน

ย้อนดู 5 ปี 'โควิด 19' ความสับสนของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬา โพสต์เฟซบุ๊กว่า

‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'

หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform

'หมอยง' ชวนฉีดวัคซีน ปีนี้ไข้หวัดใหญ่ระบาดหนัก

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ไข้หวัดใหญ่ปีนี้ระบาดมาก

'หมอยง' เปิดผลวิจัยการให้วัคซีน หลังสัมผัสเชื้อ 'ฝีดาษลิง'

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ

'หมอยง' แจงยิบ 'วัคซีนฝีดาษ' รุ่น 1-3 และอาการข้างเคียง

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ