ศาลฎีกาสั่ง 'ปารีณา' หยุดปฏิบัติหน้าที่ กมธ.

9 พ.ย.2564 - ที่ศาลฎีกา นัดพิจารณาคดีครั้งแรก (สอบคำให้การ) คดีหมายเลขดำที่คมจ.1/2564 ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงของ น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ กรณีบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนในจังหวัดราชบุรี อันเป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและส่วนรวม

ทั้งนี้การนัดตรวจหลักฐาน ผู้ร้องขอส่งพยานหลักฐาน 58 อันดับ และขอนำพยานบุคคลเข้าไต่สวน 12 ปาก ขณะที่ผู้คัดค้านขอส่งพยานหลักฐาน 18 อันดับ พร้อมขอไต่สวนพยานบุคคล 10 ปาก ศาลสอบถามคู่ความทั้งสองฝ่ายแล้วไม่โต้แย้ง องค์คณะฯ เห็นควรให้ไต่สวนพยานตามที่ทั้งสองฝ่ายแถลง ให้คู่ความทำบันทึกยืนยันข้อเท็จจริงส่งให้ศาลไม่น้อยกว่า 14 วัน

โดยกำหนดนัดไต่สวนพยานวันที่ 8, 22, 28 ก.พ. 2565 และวันที่ 1-3, 8, 10 มี.ค. 2565 เวลา 9.30-16.30 น. และนัดพิพากษาวันที่ 7 เม.ย. 2565 เวลา 10.30 น.

ผู้ร้อง(ปปช.) ยังขอให้ศาลวินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านสามารถทำหน้าที่กรรมาธิการวิสามัญร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 ในขณะที่ศาลสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.ตามคำร้องได้หรือไม่

องค์คณะเสียงข้างมากเห็นว่า การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 เป็นหน้าที่ของสภาฯ การทำหน้าที่กรรมาธิการวิสามัญ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่อย่างหนึ่งของ ส.ส. ดังนั้น เมื่อผู้คัดค้านยังเป็น ส.ส. แต่อยู่ระหว่างหยุดปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ จึงไม่อาจปฏิบัติหน้าที่กรรมาธิการได้

ส่วนที่ผู้คัดค้าน ขอให้ศาลส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ป.ป.ช.ไต่สวนคดีนี้โดยไม่ผ่านมติกรรมาธิการจริยธรรมสภาผู้แทนราษฏร เป็นมติที่ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น ศาลเห็นว่าข้อห้ามตามคำร้องไม่ขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญ จึงไม่ต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย อีกทั้งข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการพ.ศ. 2563 ไม่ตัดอำนาจ ป.ป.ช.ที่จะเสนอข้อเท็จจริง จึงยกคำร้องในส่วนนี้

นางสาวปารีณา ได้ให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า เคารพการตัดสินใจของศาล ถึงแม้จะถูกสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ ก็ยังคงเป็นส.ส. และปกติที่ผ่านมาก็ได้ลงพื้นที่ดูแลพี่น้องประชาชนอย่างสม่ำเสมออยู่แล้ว

ขณะที่ นายทิวา การกระสัง ทนายความของ น.ส.ปารีณา กล่าวว่า กรณีที่ศาลระบุว่า น.ส.ปารีณาไม่อาจปฏิบัติหน้าที่กรรมาธิการได้นั้น ถือเป็นบรรทัดฐานใหม่ เนื่องจากที่ผ่านมาไม่เคยมีศาลชี้ขาดว่าผู้ที่อยู่ระหว่างสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ไปเป็นกรรมาธิการไม่ได้ แต่กระบวนการแต่งตั้ง น.ส.ปารีณาเป็นกระบวนการโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีการเสนอชื่อผ่านสภาและได้รับความเห็นชอบ

โดย น.ส.ปารีณาไม่ได้เข้าไปเป็นเอง ดังนั้น จึงไม่ส่งผลทำให้งบประมาณรายจ่ายปี 2565 ต้องเป็นโมฆะและไม่ผูกพันใดๆ เป็นเพียงแค่การสร้างบรรทัดฐานใหม่เท่านั้น แต่หากมีข้อสงสัยในประเด็นนี้ ควรจะมีการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดเพื่อความชัดเจน เพราะคำวินิจฉัยของศาลฎีกาไม่ได้ผูกพันทุกองค์กรรวมถึงรัฐสภา.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ

'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง

จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ

ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง

คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ

'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!

นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476

รู้ไว้ซะ 'ปิยบุตร' เผย 'ทักษิณ' ได้กลับบ้าน เพราะก้าวไกลชนะเลือกตั้ง!

นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊กว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาถกเถียงกันอีกครั้ง