'หน่วงเงิน'ข้อเสนอมาตรการสกัดมิจฉาชีพหลอกโอนเงิน

ลค่าความเสียหายล่าสุด จากภัยมิจฉาชีพทางออนไลน์ของไทย ในช่วง 2 ปีของไทยมียอดสูงถึง 77,360,070,295 บาท ซึ่งนับว่าสูงมาก ปัญหาภัยมิจฉาชีพออนไลน์ จึงเป็นปัญหายุคใหม่ที่เกือบทุกคนต้องประสบพบเจอ  ในรูปแบบ เบอร์แปลกโทรมาอ้างเป็นไปรษณีย์ เจ้าหน้าที่ติ๊กต็อก ตำรวจ หรือหน่วยงานรัฐ หลอกให้โอนเงิน เอสเอ็มเอสแปลก ๆ ที่ส่งมาแจกรางวัล คืนเงิน พร้อมกับแนบลิงก์มาให้ หากเผลอกดเข้าไปและติดตั้งแอปฯ ปลอมก็เสี่ยงถูกดูดเงิน หรือคนแปลกหน้าที่ทักเข้ามาหลอกให้รักแล้วลวงให้โอนเงิน ล้วนเป็นรูปแบบที่มิจฉาชีพใช้ในการโจรกรรมข้อมูลและเงินของผู้บริโภค

 ในฐานะที่เป็นองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ทำให้มีผู้ตกเป็นหยื่อภัยมิจฉาชีพทางออนไลน์ จำนวนมาก ได้เข้ามาร้องเรียนกับสภาผู้บริโภค แม้กระยวนการแก้ปัญหารูปแบบนี้ ในที่สุดจะต้องพึ่งพาการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ทางสภาผู้บริโภค ไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหาดังกล่าว ได้หาทางปัองกันและแก้ไข  นางสาวสารี อ๋องสมหวัง  เลขาธิการสภาผู้บริโภค กล่าวว่า  นอกจากการให้คำปรึกษา แนะนำ และแจ้งเตือนภัยออนไลน์แล้ว สภาผู้บริโภคยังขับเคลื่อนเชิงนโยบายด้วยการจัดเวทียกระดับการป้องกันและเยียวยาผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากภัยไซเบอร์ โดยเชิญหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจไซเบอร์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กระทรวงดีอี) ธนาคารแห่งประเทศไทย มาร่วมแสดงความเห็นและหาทางออกร่วมกันหามาตรการป้องกัน  พร้อมกันนี้  สภาผู้บริโภคได้เสนอ”มาตรการหน่วงการโอนเงิน” หรือ Delayed Transaction  จำนวน 10,000 บาทขึ้นไป เป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง เพื่อให้สถาบันการเงินและผู้บริโภคได้มีเวลาตรวจสอบว่าเป็นธุรกรรมทางการเงินที่สุจริต ปลอดภัยจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือไม่ และต้องแจ้งเตือนโดยทันทีที่มีการโอนเงินเกิน 10,000 บาทไปยังผู้บริโภคเมื่อเกิดธุรกรรมทางการเงินที่มีความเสี่ยงสูงและอาจเกิดความเสียหายกับผู้บริโภคได้

“เรามองว่า  มาตรการต่าง ๆที่ผ่านมา ยังไม่สามารถยับยั้งการโจรกรรมทางการเงินที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ได้ ทำให้เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคม 2567 สภาผู้บริโภคจึงเสนอมาตรการใหม่ การหน่วงเงิน ซึ่งน่าจะช่วยลดคดีมิจฉาชีพหลอกดูดเงินที่น่าจะได้ผล   หากมีการโอนเงินหรือมีเงินจากปัญชีเกิน 1 หมื่นบาท แบงก์ต้องชะลอ 24 ชั่วโมงก่อนอนุมัติจ่ายปลายทาง  เพื่อให้สถาบันการเงินและผู้บริโภคได้มีเวลาตรวจสอบ ว่าเป็นธุอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือไม่ และต้องแจ้งเตือนโดยทันทีที่มีการโอนเงินเกิน 10,000 บาทไปยังผู้บริโภค ทั้งนี้การหน่วงการโอนเงิน  มีข้อยกเว้น หากผู้ใดมีความจำเป็นต้องทำธุรกรรมออนไลน์เกิน 1 หมื่นบาท ก็สามารถติดต่อธนาคารเพื่อปลดล็อกเงื่อนไขนี้ได้”นางสาวสารี กล่าว

เลขาธิการสภาผู้บริโภคกล่าวอีกว่า ปัญหา “มิจฉาชีพหลอกดูดเงิน”ที่สภาฯได้รับร้องมีมาตั้งแต่ปี 2565 – 2567 จำนวน 101 กรณี ปัญหาหนึ่งที่พบคือ มิจฉาชีพมักแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินมากที่สุด จำนวน 21 กรณี รองลงมาคือ เจ้าหน้าที่ธนาคาร  18 กรณี และ เจ้าหน้าที่การไฟฟ้า 11 กรณีนอกจากนี้ ยังมีแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ หรือบริษัทต่าง ๆ เช่น พนักงานบริษัทขนส่ง พนักงานสายการบิน บริษัทประกัน หรือ SMS ลิงก์รับรางวัล

“สาเหตุที่ทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อ เพราะมิจฉาชีพสามารถบอกรายละเอียดส่วนตัวของเหยื่อได้ตรง  เช่น กรณีแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดิน  มีรายหนึ่งเพิ่งรับมรดกเป็นที่ดิน และเพิ่งไปโอนที่ดิน ที่สำนักงานที่ดิน ในวันเดียวกันนั้น ก็มีมิจฉาชีพโทรมาหลอก ว่าเป็นเจ้าหน้าที่ที่ดิน บอกรายละเอียดตรงหมดทุกอย่าง และรู็ด้วยว่า เพิ่งมีการการโอนที่ดินมาด้วย  บอกเลขบัตรประชาชน เลขบัญชีธนาคาร  ถูกหมดทำให้หลงเชื่อ เหยื่อรายนี้โดนดูดเงินหายออกไปจากบัญชี ไม่ใช่แค่บัญชีเดียว ยังมีปัญชีอื่นด้วย ก็มาร้องเรียนกับเรา ซึ่งตอนนี้เขาก็ยังต่อสู้กับธนาตารในเรื่องนี้”

นางสาวสารี กล่าวอีกว่า  ทุกกรณีที่เกิดขึ้น ผู้บริโภคต่างมีข้อสงสัยว่า มิจฉาชีพได้ข้อมูลเหล่านั้นมาจากไหนกัน แล้วใครต้องรับผิดชอบกับข้อมูลที่รั่วไหลนี้ เพราะที่ผ่านมามีเพียงผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหาย แต่ไม่มีผู้รับผิดชอบแต่อย่างใด

“การถูกดูดเงิน จากบัญชี ใครต้องรับผิดชอบ สิงคโปร์มีกฎหมายรับผิดชอบเพิ่งมีผลบังคับใช้ วันที่ 1มกราคม 2568 แต่บ้านเรายังไม่มีกฎหมายความรับผิดชอบออกมา   ปัญหาเหล่านั้นถูกผลักภาระมาให้ผู้บริโภค เนื่องจากธนาคารปัดความรับผิดชอบและโยนความเสียหายให้ผู้บริโภค  ทั้งที่ตามสัญญาฝากเงินในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 672 ได้กำหนดไว้ว่า ผู้ให้บริการทางด้านการเงิน มีหน้าที่ในการรับฝากเงินและดูแลเงินของผู้บริโภค โดยเงินที่ฝากนั้นจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร หากเงินหายออกไปจากบัญชี ธนาคารจึงถือเป็นผู้เสียหายและธนาคารต้องรับผิดชอบ ดังนั้น ผู้บริโภคฝากเงินไปเท่าไหร่ก็ต้องได้เงินคืนไปเท่านั้น เว้นแต่ผู้ฝากเงินจะมีส่วนประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง  ซึ่งการร้องเรียน ให้แบงก์รับผิดชอบ  หากได้เงินคืนก็ไม่เต็มจำนวน  เราจึงเสนอมาตรการหน่วงเงิน เพื่อแก้ปัญหา”

 เลขาธิการสภาผู้บริโภค กล่าวอีกว่า มาตรการหน่วงเงิน ทางสภาฯ ได้เสนอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) รับไปพิจารณา และทราบมาว่ามีการสำรวจความคิด เห็นเรื่องนี้  ส่วนธปท.จะเห็นด้วยหรือไม่ กับวงเงิน 10,000 บาท  หรือไม่ ยังไม่มีข้อสรุปออกมา 

“อย่างไรก็ตาม  สภายังเพิ่มกลไก อีกหนึ่งกลไกสำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม2567 คือ  สภาผู้บริโภคได้จัดลงนามความร่วมมือขององค์กรผู้บริโภคอาเซียนบวกสาม โดยมีผู้แทนจากองค์กรผู้บริโภคจาก 7 ประเทศร่วมลงนาม เพื่อให้การคุ้มครองผู้บริโภคในยุคดิจิทัลเป็นไปอย่างไรพรหมแดน ซึ่งที่ผ่านเคยเกิดกรณีที่ผู้บริโภคไทยถูกละเมิดสิทธิในประเทศฮ่องกงซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่วมลงนาม สภาผู้บริโภคจึงร่วมมือกับองค์กรผู้บริโภคฮ่องกง (Hong Kong Consumer Council) เพื่อแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม”นางสาวสารีกล่าว 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สภาผู้บริโภค วอนให้เหตุไฟไหม้รถบัสนักเรียนเป็นกรณีสุดท้าย เสนอทบทวนมาตรการพาเด็กออกนอกพื้นที่

จากเหตุการณ์เพลิงไหม้รถบัสทัศนศึกษาของนักเรียน โรงเรียนวัดเขาพระยา จ.อุทัยธานี บนถนนวิภาวดีรังสิต ตรงข้ามพหลโยธิน 72 ซึ่งกำลังพาครู และนักเรียนมาทั้งหมด 44 คน เดินทางไปทัศนศึกษา ส่งผลให้เกิดเหตุสลด มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก น

สภาผู้บริโภคเผย 3 ปี พบคนไทยเสียหายจากภัยออนไลน์สูงถึง 65,000 ล้านบาทต่อปี!

สภาผู้บริโภคเผย 3 ปี พบคนไทยเสียหายจากภัยออนไลน์สูงถึง 65,000 ล้านบาทต่อปี หรือประมาณ 180 ล้านบาทต่อวัน ครึ่งแรกปี 2567 สถิติร้องเรียนสูงถึง 1,386 กรณี จากช่องทางเฟสบุ๊คสูงสุด เตรียมเปิดเวทีสัมมนาใหญ่ “โครงการสานพลังอาเซียนบวกสาม เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในเศรษฐกิจดิจิทัล และปัญญาประดิษฐ์” ครั้งแรกในอาเซียน อัพเดทกลโกง ถกหาความร่วมมือที่เข้มแข็ง 29-30 ส.ค.นี้