การประกวดภาพถ่าย “72 พรรษา ทศมราชา สืบสานงานพัฒนา ปวงประชาร่มเย็นเป็นสุข” ประกาศผลอย่างเป็นทางการเมื่อสิ้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) จัดพิธีมอบรางวัล โดยมี นางสุพร ตรีนรินทร์ เลขาธิการ กปร. เป็นประธาน
ผู้ชนะเลิศรางวัลชนะเลิศในประเภทประชาชนทั่วไป นายเสกสรร เสาวรส คว้าไปครองจากภาพที่สะท้อนความร่มเย็นเป็นสุขจากการพัฒนาอาชีพเพาะเลี้ยงปลาในอ่างเก็บน้ำห้วยฮ่องไคร้ ท่ามกลางป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ณ ศูนย์การศึกษาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ โดยที่ช่างภาพกดชัตเตอร์จับภาพในจังหวะที่ต้องการพร้อมแสงสวยงามยามเช้า ส่วนประเภทนิสิต นักศึกษา ระดับอุดมศึกษา นายธีระวัฒน์ ประทัศสานัง วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ได้รางวัลชนะเลิศจากภาพสะท้อนความมหัศจรรย์ของหญ้าแฝก ช่วยแก้ปัญหาดินพลิกฟื้นคืนความชุ่มชื้น
นางสุพร ตรีนรินทร์ เลขาธิการ กปร. กล่าวว่า โครงการประกวดภาพถ่ายจัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 เพื่อสะท้อนถึงพระมหากรุณาธิคุณแนวพระราชดำริการพัฒนามิติต่างๆ ที่สร้างประโยชน์และความสุขให้แก่ราษฎร สำนักงาน กปร. รับและประมวลพระราชดำริเพื่อประสานการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนองพระราชดำริในหลวงและพระบรมวงศานุวงศ์ และพระราชปณิธานในการสืบสาน รักษา และต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ให้เกิดประโยชน์สุข ขณะเดียวกันได้พระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริช่วยเหลือราษฎรทั่วประเทศ สำหรับเวทีประกวดภาพถ่ายโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมถึงโครงการพระราชดำริอื่นๆ เพื่อสืบสาน รักษา และต่อยอดแนวพระราชดำริการพัฒนา มีผู้ส่งผลงาน 130 คน รวมทั้งหมด 372 ภาพ ภาพถ่ายงดงาม ทรงคุณค่า เปี่ยมด้วยความหมายและพระเมตตาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
นายเสกสรร เสาวรส ช่างภาพ อายุ 42 ปี เจ้าของภาพชนะเลิศ”ต้นทางป่าไม้ ปลายทางประมง” เผยว่า กปร.จัดประกวดหัวข้อโครงการพระราชดำริ โจทย์นี้มีไม่บ่อยนัก สนใจและทำการบ้านเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริ ประทับใจศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ จ.เชียงใหม่ เป็นศูนย์การศึกษา ทดลอง วิจัย หารูปแบบพัฒนาต่างๆ เหมือนเป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิต ที่ประชาชนไปเรียนรู้นำไปปฏิบัติได้ ตัดสินใจขับรถไปห้วยฮ่องไคร้เพื่อเก็บบันทึกภาพ จับภาพช่วงเช้าที่ จนท.ศูนย์ให้อาหารปลานิลแดงในกระชังบริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยฮ่องไคร้ ฉากหน้าเป็นฝูงปลาในกระชัง นำสายตาสู่ภาพแอคชั่นคนเพื่อให้มีเรื่องราว ฉากหลังเป็นภูเขาที่อุดมสมบูรณ์ สื่อครบจากต้นน้ำถึงปลายน้ำกว่า 41 ปี ศูนย์แห่งนี้สร้างอาชีพให้กับชุมชนในภาคเหนือ พอใจกับภาพนี้ แต่ไม่คาดคิดจะคว้าชนะเลิศ รู้สึกภูมิใจและจุดไฟให้กับตัวเองอีกครั้ง เพราะเวทีประกวดภาพถ่ายปี 68 จะเข้มข้นมากขึ้น ช่างภาพทั้งมืออาชีพ มือสมัครเล่น โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่สนใจประกวดภาพมากขึ้น แพ้ชนะกันด้วยมุมมองใหม่ๆ ผสานองค์ประกอบที่สมบูรณ์
รางวัลใหญ่ครั้งแรก นายธีระวัฒน์ ประทัศสานัง นศ.ปี 1 สาขาวิชาศิลปะถ่ายภาพ เพาะช่าง วัย 18 ปี เล่าแนวคิดภาพ”มหัศจรรย์หญ้าแฝก” ว่า ภาพนี้ถ่ายที่โครงการพระราชดำริเขาชะงุ้ม จ.ราชบุรี ซึ่งมีการพัฒนาหลายด้าน ทั้งแหล่งน้ำ ปลูกต้นไม้ ปลูกืช มีงานศึกษาอนุรักษ์ดินและน้ำ ซึ่งตนสนใจหญ้าแฝกเป็นพระราชดำริในหลวง ร.9 ช่วยฟื้นฟูดินเสื่อมโทรม ใช้หญ้าแฝกอนุรักษ์หน้าดิน ทรงมีพระปรีชาสามารถ และช่วยให้เกษตรมีชีวิตที่ดีขึ้น ที่นี่ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ถ้ามีโอกาสอยากกลับไปที่โครงการพระราชดำริเขาชะงุ้มอีกครั้ง ตนส่งทั้งหมด 3 ภาพ นอกจากภาพชนะเลิศที่บันทึกจังหวะเกษตรกรลงมือปลูกหญ้าแฝกแล้ว ยังมีภาพแสดงถึงรอยยิ้มของเกษตรกร และภาพวิถีเกษตรกรเขาชะงุ้ม เวทีนี้จุดประกายให้ตนถ่ายทอดภาพที่มีเรื่องราวการพัฒนาอย่างยั่งยืน และอยากส่งผลงานร่วมประกวดในโครงการอื่นๆ ต่อไป
สำหรับรายชื่อผู้ได้รางวัลทั้งหมด ดังนี้ ประเภทนิสิต นักศึกษา รองชนะเลิศอันดับ 1 นายพัดยศ วิเศษสิงห์ วิทยาลัยเพาะช่าง มทร.รัตนโกสินทร์ รองอันดับ 2 นายเกริกฟ้า จินามณี มรภ.อุบลราชธานี ชมเชย 3 รางวัล นายปิยนนท์ กนิษฐกุล วิทยาลัยเพาะช่าง มทร.รัตนโกสินทร์ นายเกริกฟ้า จินามณี มรภ.อุบลราชธานี และนางสาวจิรกิตต์ วิศักดิ์ศิริ วิทยาลัยเชียงราย ประเภทประชาชน รองอันดับ 1 นายพิชญวัฒน์ ปรุงศักดิ์ รองอันดับ 2 นายสุกฤษฎิ์ หิรัญสารพงศ์ 3 รางวัลชมเชย นายทรงพล เทศกิจ นายธรรมรัตน์ สวัสดิชัยและ นางภคมน ตั้งจิตติเลิศ
ยลโฉมสุดยอดภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่าย ณ สำนักงาน กปร. แวะมาชมได้ ในวัน เวลา ราชการ แต่ละภาพสวยงามสะท้อนถึงพระมหากรุณาธิคุณแนวพระราชดำริด้านการพัฒนา พลิกฟื้นชีวิตราษฎร สร้างรอยยิ้มและความสุขให้พสกนิกรไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ร่วมบูรณาการ รัฐ เอกชน มูลนิธิ และประชาชน จัดงาน ‘ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร’ ปี 67 อย่างยิ่งใหญ่
นางพิชญดา หัศภาค รองเลขาธิการ กปร. เปิดเผยว่า สำนักงานกปร.จะจัดนิทรรศการที่แสดงถึงผลสำเร็จของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทั้ง 6 แห่ง และศูนย์สาขา ทั่วประเทศ ในรูปแบบจับต้องสัมผัสได้ในผลสำเร็จต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันในงาน “ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร” ปี 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ
ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร นครนายก น้อมรำลึก ร.9
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นายกกิตติมศักดิ์และประธานกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา พระราชทานพระราชานุญาตให้มูลนิธิชัยพัฒนาจัดงาน “ชัยพัฒนาแฟร์” ขึ้น เพื่อแสดงแนวคิดด้านการพัฒนา
กปร. นำสื่อมวลชน เยี่ยมชมศูนย์ฯ ภูพาน “บ้านของพ่อ แหล่งศึกษาเรียนรู้เพื่อการทำกินอย่างยั่งยืนของผู้คนถิ่นอีสาน”
วันที่ 6-7 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ณ อาคารสัมมนา 1 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านนานกเค้า ต.ห้วยยาง อ.เมือง จ.สกลนคร สำนักงาน กปร.นำคณะสื่อมวลในโครงการสื่อมวลชนสัญจร สืบสานพระราชดำริ ประจำปี 2567 เยี่ยมชมศูนย์ศึกษาการพัฒนาพัฒนาภูพานฯ โดยมี นางสาวจิราภรณ์
42 ปี สำนักงาน กปร. สืบสานพระราชดำริ สร้างรากฐานชีวิตที่สมดุล
พระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
แผนแม่บท’หญ้าแฝก’ ชูรับมือสภาพอากาศสุดขั้ว
ขณะนี้แผนแม่บทการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2566 – 2570) ที่สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) และสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันจัดทำเสร็จสมบูรณ์
4 ทศวรรษ กับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถพิตร เกี่ยวกับโครงการพัฒนาในด้านต่างๆ เพื่อความกินดีอยู่ดี หรือพออยู่พอกินให้แก่ประชาชนในชนบทที่อยู่ห่างไกลและยากจน โ