ระบบ MTEC Well-living systems หรือ WLS เป็นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อการดูแลและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อยู่บ้านตามลำพัง ที่พัฒนาขึ้นโดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
อุปกณ์ Well-Living Systems หรือ WLS นี้ ทำอะไรได้บ้าง คำตอบเป็นเครื่องอุปกรณ์ ช่วยให้สามารถติดตามและเรียนรู้พฤติกรรม กิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุที่อยู่ลำพัง ได้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีระบบการเตือนให้กินยา เซนเซอร์การติดประตูห้องน้ำ และอุปกรณ์ชิ้นอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ อีกทั้ง มีการเก็บข้อมูล จึงมีความสะดวกและให้ข้อมูลเชิงลึกมากกว่ากล้องวงจรปิด
ก่อนหน้านี้ เอ็มเทค สวทช. ได้ทำการศึกษาโครงการประยุกต์และทดสอบประสิทธิผลของระบบดูแลผู้อยู่อาศัย เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีและปลอดภัยด้วยปัญญาประดิษฐ์ หรือ การศึกษา “MTEC Well-living systems” นวัตกรรม AI ผู้ช่วยดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง ซึ่งพร้อมที่จะขยายผลต่อยอดรองรับสังคมสูงวัย โดยมีตัวแทนอาสาสมัครร่วมทดสอบการใช้ในโครงการร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ใช้งานจริง
นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ที่ร่วมสนับสนุนการศึกษาครั้งนี้ กล่าวว่าสวรส. มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพ โดยมุ่งเน้นการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทุกมิติ ทั้งด้านนโยบาย สังคม ชุมชน วิชาการ และเชิงพาณิชย์ เพื่อยกระดับระบบการแพทย์และสาธารณสุขไทยอย่างยั่งยืน โดยในปีงบประมาณ 2566 สวรส. ได้สนับสนุนทุนวิจัยแก่ทีมวิจัยเอ็มเทค สวทช. ในการดำเนินโครงการ “การประยุกต์ใช้และทดสอบประสิทธิผลของระบบดูแลผู้อยู่อาศัยเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีและปลอดภัยด้วยปัญญาประดิษฐ์” หรือ Well-Living Systems ซึ่งเป็นนวัตกรรม “ผู้ช่วยของผู้ดูแล” ที่มีจุดเด่นสำคัญคือ สามารถเรียนรู้พฤติกรรมผู้สูงอายุโดยอัตโนมัติ เฝ้าระวังและแจ้งเตือนเมื่อพบพฤติกรรมผิดปกติ โดยไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัวเนื่องจากไม่ใช้กล้อง รวมถึงช่วยเตือนกิจกรรมสำคัญต่อสุขภาพ เช่น การกินยาและการเคลื่อนไหวร่างกาย การพัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุด้วยปัญญาประดิษฐ์ที่ทุกครอบครัวเข้าถึงได้ จะช่วยลดช่องว่างในการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง พร้อมสร้างโอกาสให้ผู้สูงอายุได้ใช้เทคโนโลยีการดูแลที่ทันสมัยอย่างทั่วถึง เพื่อนำไปสู่สังคมผู้สูงวัยที่ปลอดภัยและยั่งยืน
ดร.ศราวุธ เลิศพลังสันติ รองผู้อำนวยการ เอ็มเทค กล่าวว่า ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” อย่างเป็นทางการในปี 2565 โดยมีประชากรสูงอายุถึง 13 ล้านคน หรือราว 20% ของประชากรทั้งประเทศในปี 2566 และมีแนวโน้มจะเข้าสู่ “สังคมสูงอายุระดับสุดยอด” ในปี 2573 ด้วยสัดส่วนประชากรอายุเกิน 65 ปี ถึงร้อยละ 20 ปรากฏการณ์นี้นำมาซึ่งความท้าทายและโอกาสใหม่ในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งสำคัญ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีดูแลผู้สูงอายุหลากหลาย แต่ยังมีข้อจำกัดด้านการเฝ้าระวังพฤติกรรมผิดปกติแบบต่อเนื่อง การแจ้งเตือนฉุกเฉินอัตโนมัติ และการรักษาความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล ทีมวิจัยการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ที่ดี กลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ
ในการทดสอบประสิทธิภาพ เอ็มเทค สวทช. ได้ทำงานร่วมกันกับหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุข 45 ร่มเกล้า สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ในการประชาสัมพันธ์เพื่อจัดหาอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการ และได้ดำเนินการทดสอบประสิทธิผลการทำงานของระบบกับตัวแทนกลุ่มผู้ใช้เป้าหมายในบริบทการใช้งานจริง รวม 34 ครัวเรือน โดยแต่ละครัวเรือนจะมีตัวแทนผู้สูงอายุและผู้ดูแล อย่างน้อย 1 ท่าน โดยคณะวิจัยได้มีการติดตั้งต้นแบบที่ที่พักอาศัย เป็นระยะเวลาต่อเนื่องเป็นเวลา 2 เดือน มีการติดตามสัมภาษณ์ผลการใช้งาน และทำการปรับปรุงระบบในระหว่างการทดสอบการใช้งานระบบอย่างต่อเนื่อง ผลการทดสอบพบว่า “MTEC Well-living systems” สามารถช่วยลดภาระของผู้ดูแล พร้อมสร้างความอุ่นใจให้แก่ทั้งผู้สูงอายุและครอบครัว
“การพัฒนา MTEC Well-living systems นี้ สอดรับกับแนวโน้ม ‘เศรษฐกิจสูงวัย’ หรือ Silver Economy ที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุยุคใหม่หรือ Young Old (Yold) ที่ยังคงกระฉับกระเฉง มีกำลังซื้อ และต้องการเทคโนโลยีที่ช่วยให้พึ่งพาตนเองได้อย่างมีความสุข นับเป็นก้าวสำคัญในการรองรับสังคมอายุยืนของไทย ด้วยการผสานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เข้ากับความเข้าใจในความต้องการที่แท้จริงของผู้สูงวัยและครอบครัว” ดร.ศราวุธ กล่าว
ด้าน ศิริพร เพ็งเจริญ หรือ ‘คุณยิ้ม’ พยาบาลวิชาชีพชำนาญ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลคลองโยง จ.นครปฐม หนึ่งในผู้ทดลองอุปกณ์ Well-Living Systems หรือ WLS ของศูนย์เอ็มเทค สวทช. โดยใช้กับคุณพ่อที่อยู่บ้านตามลำพัง เป็นเวลา 2เดือน และมีความพึงพอใจในประสิทธิภาพของอุปกรณ์นี้อย่างมาก เนื่องจากตนเองและคุณพ่อจะอยู่คนละบ้านห่างไกลกัน 50 กิโลเมตร การมีเครื่องอุปกรณ์ WLS ช่วยให้สามารถติดตามและเรียนรู้พฤติกรรม กิจวัตรประจำวันของคุณพ่อได้ดียิ่งขึ้น ทั้งอุปกรณ์การเตือนให้กินยา เซนเซอร์การติดประตูห้องน้ำ และอุปกรณ์ชิ้นอื่น ๆ จะเป็นประโยชน์เพราะมีการเก็บข้อมูลทางสถิติ บันทึกไว้เพื่อให้เราดูข้อมูลได้ว่า ในแต่ละช่วงเวลาคุณพ่อทำอะไร ใช้เวลากับจุดใดบ่อย เช่น เซนเซอร์หน้าประตูห้องน้ำเปิด-ปิด ถี่ไหม ทำให้เราเราสามารถโทรสอบถามคุณพ่อได้ ซึ่งวันนั้นท่านอาจจะมีอาการท้องเสีย
” ข้อดีของอุปกรณ์ WLS นี้ แตกต่างจากกล้องวงจรปิดที่เคยใช้ เพราะกล้องวงจรปิดเมื่อถึงเวลาบันทึกช่วงเวลาหนึ่ง จะลบข้อมูลโดยอัตโนมัติ แต่อุปกรณ์ WLS ข้อมูลจะอยู่ในแอปพลิเคชัน ทำให้สามารถดูย้อนหลังได้ว่าเมื่อวานนี้ หรือหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา และเราสามารถเซ็ทค่าข้อมูลพฤติกรรมประจำวันไว้ และให้แอปพลิเคชันเรียนรู้เป็นแบบหนึ่ง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นแบบใด เพื่อให้เราสามารถทำนายได้พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของคุณพ่อได้ โดยการใช้งานผ่านแอป ฯ ได้ง่ายเพราะข้อมูลแจ้งเตือนขึ้นมาเหมือนการเตือนคุยไลน์สามารถเรียกดูข้อมูลได้ง่าย มีข้อมูลเปรียบเทียบเกณฑ์ปกติกับเกณฑ์ที่ไม่ปกติให้เห็นและเป็นข้อมูลที่ทุกคนเข้าถึงได้ “ศิริพรกล่าว
ผู้สนใจทดลองใช้และร่วมเก็บข้อมูลการใช้งานเพื่อให้ข้อเสนอแนะในการวิจัยพัฒนา หรือผู้สนใจรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและพัฒนาต่อยอดร่วมกัน ติดต่อได้ที่ ดร.สิทธา สุขกสิ อีเมล [email protected] หรือ [email protected].
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ธอส.เอาใจผู้สูงวัยอยากมีบ้านจัดสินเชื่อ 4 โครงการ
'คารม' เผย ธอส. สนับสนุนผู้สูงวัยมีบ้านก่อนสิ้นปี จัดทำสินเชื่อเพื่อผู้สูงอายุนำโดยอัตราดอกเบี้ย 3 เดือนแรก 0% ผ่อนชำระเพียงล้านละ 4,300 บาทต่อเดือน ยื่นได้ ธอส.ทั่วประเทศตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ชู 'อบจ.' ขับเคลื่อนงานฟื้นฟูสมรรถภาพ เชื่อมระบบฟื้นฟูกายใจชุมชนครบวงจร
สสส.ชวน อบจ.เข้าร่วมกองทุนฟื้นฟูฯเกิดขึ้นทั่วประเทศ ขณะที่ นายกสมาคมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป และ นายกสมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทยชี้ระบบต้องเชื่อม ฟื้นฟู -กาย -ใจ ชุมชนให้ครบวงจร
'กมธ.คมนาคม' สว. ไล่บี้กรมขนส่งฯ ปมบัสไฟไหม้ แนะขึ้นบัญชีรถบริการ 'ผู้สูงอายุ-นร.'
'สว.วุฒิชาติ' แจงเหตุชงญัตติด่วนไฟไหม้รถบัสทัศนศึกษา ย้ำต้องยึดมาตรฐานความปลอดภัย ขู่เจอตรวจทิพย์ต้องดำเนินคดี แนะกรมขนส่งฯ ขึ้นบัญชีรถที่ให้บริการผู้สูงอายุ-นักเรียน
‘หมอมนูญ’ เตือนฤดูฝนไวรัส hMPV- RSV แพร่ระบาด อาการคล้ายกันต้องดูแลผู้สูงอายุใกล้ชิด
ฤดูฝนเป็นฤดูของการแพร่ระบาดของไวรัส hMPV และ RSV อาการของไวรัส 2 ชนิดนี้คล้ายกันมาก แยกได้ด้วยการแยงจมูกตรวจหาเชื้อ
พีคตอนจบ! ลุงดีใจได้เงินหมื่น แวะก๊งเหล้าขาวเมาแอ๋ ตื่นมาหาเงินไม่เจอ โร่ขอตร.ช่วยเหลือ
ลุงชาว อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ ดีใจได้เงินหมื่นแวะก๊งเหล้าขาวเมาแอ๋จำอะไรไม่ได้ ตื่นมาอีกทีหาเงินที่เหลือไม่เจอ โร่แจ้ง ตร.โพสต์ช่วยประชาสัมพันธ์ใครพบเห็นให้นำส่งคืน