สถานการณ์ทางทะเลที่ต้องจับตา ขยับเศรษฐกิจสีน้ำเงินลดทำลาย

สถานการณ์ทางทะเลของประเทศไทยขณะนี้หลายปัญหามีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น ทั้งสัตว์ทะเลหายากเสี่ยงสูญพันธุ์จากกิจกรรมมนุษย์และสภาพการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศหรือภาวะโลกร้อน ล่าสุดกรณีพะยูนตายมากถึง 5 ตัวภายในเดือนพฤศจิกายนนี้เพียงเดือนเดียว สาเหตุจากหญ้าทะเล ซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำคัญของพะยูนลดลง วิกฤตหญ้าทะเล ส่งผลพบพะยูนตายถี่ขึ้น ส่วนหนึ่งจากขาดอาหาร ยังไม่นับปัญหาขยะพลาสติกในทะเล มลพิษทางทะเล จนถึงการกัดเซาะชายฝั่งที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น  ภาครัฐและภาคเอกชนของไทยพยายามอย่างยิ่งในการป้องกัน อนุรักษ์ ฟื้นฟู และรักษาทรัพยากรทางทะเลผ่านมาตรการต่างๆ เพื่อปกป้องทะเลสีน้ำเงินของประเทศไทย

การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเป็นอีกทางเลือกและทางรอดของทะเลไทย จากวงสัมมนา”BLUE ECONOMY & BIODIVERSITY FORUM”ส่องเศรษฐกิจน่านน้ำสีน้ำเงิน จัดโดย EXIM THAILAND  โครงการยั่งยืนนิยม (Sustainism ) ร่วมกับองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)    สมาคมการจัดการของเสียแห่งประเทศไทย  เมื่อวันก่อนที่ อาคารเอ็กซิม EXIM BANK สำนักงานใหญ่

อุกกฤต สตภูมินทน์ ผอ.กองอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล รักษาการอธิบดี ทช.    กล่าวว่า ปัจจุบันโลกเผชิญ 3 วิกฤต ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลพิษ และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นฐานทรัพยากรในการผลิตและดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยเฉพาะภาวะโลกเดือด มีการเปลี่ยนแปลงของตัวบ่งชี้ทางสภาพภูมิอากาศและมหาสมุทรที่สำคัญ คือ  อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้น อุณหภูมิเฉลี่ยของน้ำทะเลเพิ่มขึ้น  ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นจากการละลายของน้ำแข็งและการขยายตัวของน้ำจากความร้อน การเข้าสู่สภาวะความเป็นกรดของน้ำทะเล รูปแบบของหยาดน้ำฟ้าและสภาพอากาศแปรปรวน ความถี่ของสภาวะอากาศแบบสุดโต่ง รวมถึงค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศวัดได้ที่ 403.3 ส่วนในล้านส่วน (ppm)   ซึ่งล้วนมาจากกิจกรรมของมนุษย์ การเติบโตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม

สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่อทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของประเทศไทยที่ควรจับตาในอนาคตอันใกล้ อุกกฤต กล่าวว่า มีการกัดเซาะชายฝั่งทวีความรุนแรงจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและลมมรสุมหรือพายุโซนร้อนที่รุนแรงมากขึ้น  การสูญเสียพื้นที่ป่าชายเลน แหล่งหญ้าทะเลและพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งจากการเพิ่มขึ้นของน้ำทะเลและการกัดเซษะชายฝั่ง การฟอกขาวของแนวปะการังมีความถี่มากขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิน้ำทะเล และการเกิดโรคและอัตราชุกของโรคที่เกิดกับปะการังและสัตว์น้ำอื่นๆ เพิ่มมากขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิน้ำทะเล

“ ปีนี้ปะการังฟอกขาวรุนแรงในหลายพื้นที่ ปะการังมีปัญหา กำลังจะตาย หากย้อนไปไทยเกิดปะการังฟอกขาวครั้งมโหฬารปี 2534 จากนั้นเผชิญการฟอกขาวอย่างต่อเนื่อง  ปะการังตาย ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไป นิเวศบริการหายไป   ชุมชนที่พึ่งพิง ท่องเที่ยว ได้รับผลกระทบ แม้แต่เต่าทะเลสัตว์หายาก เพศถูกกำหนดด้วยอุณหภูมิ หากอุณหภูมิสูงขึ้นส่งผลให้ไข่ที่ฟักอยู่กลายเป็นเพศเมีย ไม่มีตัวผู้มาผสมพันธุ์ ส่งผลเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์   ข่าวพะยูนตาย หญ้าทะเลตายจากสภาพแวด้อมที่เปลี่ยนแปลงไป และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ระดับน้ำทะเลที่ต่ำกว่าปกติ เกิดมากขึ้นถี่ขึ้น เราเผชิญปัญหาพะยูนมีภาวะผอม ขาดอาหาร และต้องกระจายไปหากินที่อื่น ปัญหาซับซ้อนต้องหาทางออกในการจัดการ ขณะนี้ทดลองทำแปลงผักเพื่อเป็นอาหารทางเลือกให้พะยูน

อย่างไรก็ตาม อุกกฤตระบุการดำเนินการในเวทีโลก  คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ( IPCC) อนุสัญญา  UNFCCC พิธีสารเกียวโต และข้อตกลงปารีส  แต่ละประเทศมีท่าทีต่างกันไปยังไม่หมดหวัง ไทยปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อย แต่ร่วมรับผิดชอบดูแลโลก ลดการปลดปล่อยก๊าซ เป้าหมาย Net Zero และ Carbon neutrality ความเป็นกลางทางคาร์บอน  ทุกภาคส่วนต้องทำควบคู่กัน ในส่วนทช. บริหารจัดการเชิงระบบนิเวศ  การจัดการชายฝั่งเชิงบูรณาการ  การจัดการภูมิคุ้มกันระบบนิเวศ

รักษาการอธิบดี ทช. กล่าวว่า กรอบนโยบายด้านการจัดการทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง มีนโยบายสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก นโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรและระบบนิเวศ นโยบายป้องกัน แก้ไช ฟื้นฟู ลดผลกระทบ นโยบายการวิจัยและพัฒนา และนโยบายการบริหารจัดการองค์ความรู้และสร้างจิตสำนึก การที่ภาคเอกชนอย่างเอ็กซิมแบงก์ขับเคลื่อนเรื่อง Blue Finance เป็นเรื่องน่ายินดี จะช่วยลดกระทบทางทะเลและชายฝั่ง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนโยบายภาครัฐยังไม่มีการขับเคลื่อนด้าน Blue Economy อย่างเป็นรูปธรรม เป็นเรื่องน่าเสียดาย ควรจะหารือกันเพื่อให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในอนาคตอันใกล้

ด้าน ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวว่า ภาพรวมประชากรโลก 8 พันล้านคนในจำนวนนี้ 1 พันล้านคนต้องพึ่งพาอาศัยและดำรงชีวิตด้วยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อีกทั้ง 80% ของปริมาณการค้าโลกขนส่งทางทะเล การจ้างงานในอุสาหกรรมประมงราว 200 ล้านคน ทะเลดูดซับ 1 ใน 3 ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลก มูลค่าของเศรษฐกิจที่เกี่ยวเนื่องกับทะเลมีมูลค่ากว่า 2.5  ล้านล้านเหรียญ ใหญ่กว่าดีจีดีของประเทศไทย 5 เท่า กลับมาที่บ้านเราความสำคัญของ Blue Economy ไทย 24% ของประชากรอาศัยตามแนวชายฝั่ง  ขนาดเศรษฐกิจ 30% ของจีดีพี การจ้างงาน 26% ของการจ้างงานรวม ในแง่มุมเศรษฐกิจสีน้ำเงิน Blue Economy มีแนวโน้มขยายตัวดีในหลาย Secter  ทั้งการท่องเที่ยวทางทะเล การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์น้ำ การแปรรูปอาหารทางทะเล  การจัดการน้ำเสียเติบโตปีละ 10% รวมถึงการจัดการขยะ

อย่างไรก็ตาม ดร.รักษ์ กล่าวต่อว่า เป้าหมายที่ 14 ของ UN SDGs การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน World Economic Forum ประเมินว่า หากจะบรรลุเป้าที่ 14 ในปี 2573  ความต้องการ Blue Finance โลก ประกอบด้วย Blue Loan และ Blue Bond เม็ดเงินที่ต้องการ ปีละ 175,000 ล้านดอลลารสหรัฐ แต่เม็ดเงินที่เกิดขึ้นจริง 10,000 ล้านต่อปี   เม็ดเงิน Blue Finance นำไปสนับสนุนธุนกิจทางทะเลที่ยั่งยืน เช่น ธุรกิจประมงอย่างยั่งยืน ธุรกิจจัดการน้ำเสีย  ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ธุรกิจต่อเรือที่ลดการปล่อยคาร์บอน

กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวต่อว่า  ข้อตกลงปารีส รัฐบาลต่างๆ ตกลงร่วมกันรักษาอุณหภูมิโลกให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ภายในปี 2568  สถานการณ์ตอนนี้ถ้าทุกคนช่วยกันทั้งโลก อุณหภูมิจะไปหยุดที่ 1.9 องศาเซลเซียส แต่หากไม่จำกัดภาวะโลกร้อนจริงจังอุณหภูมิจะเพิ่มเป็น 3.6 องศาเซลเซียส ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เกิดสภาพอากาศแปรปรวน จาก Climate Change กลายเป็น Climate shock  เหตุนี้ เอ็กซิมแบงค์เดินหน้า GO GREEN และ GO BLUE สำหรับเศรษฐกิจสีเขียวเราสร้างกลไกขับเคลื่อน Blue Economy ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ  Blue Finance สนับสนุนธุรกิจ Blue Economy ในหลายโครงการ ตัวอย่างโครงการธุรกิจรีไซเคิลขยะพลาสติกจากทะเล บริษัท EcoBlue   พาณิชยนาวีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อย่างบริษัท พรีเซียส ชิพปิ้ง ติดตั้งอุปกรณ์ลดการใช้เชื้อเพลิงบริเวณใบจักรเรือ เข้าร่วมกลุ่ม Getting To Zero  Colition พัฒนาเรือที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ โครงการ Crossroads มัลดีฟส์ บริษัทในเครือสิงห์ เอสเตท ต้นแบบสร้าง Ecosystem ทางทะเลอย่างยั่งยืน ช่วยเพิ่มปะการังทั้ง 8 เกาะ  ปีหน้าเอ็กซิมแบงก์จะออก Blue Finance ถี่ขึ้น

ภัทรพล ตุลารักษ์ เลขาธิการสมาคมการจัดการของเสียฯ กล่าวว่า  ไทยมีประชากรกว่า 60 ล้านคน  พฤติกรรมการใช้ชีวิต ทำให้เกิดขยะและของเสียจำนวนมาก เราเผชิญปัญหากองขยะขนาดมหึมา สร้างมลพิษในดิน น้ำ อากาศ  และขาดพื้นที่เทกองขยะ แต่แทนที่จะแก้ปัญหาขยะปลายทางต้องแก้ที่ต้นทาง ด้วยการลดการใช้ทรัพยากร ทางสมาคมฯ ดำเนินการร่วมกับโรงงานอุตสาหกรรมและโรงแรม ลดการจัดซื้อพลาสติก ลดกิจกรรมที่สร้างขยะพลาสติก หากฟุ่มเฟือยตัดทิ้ง สร้างระบบการจัดการขยะให้ดีขึ้น ซึ่งสอดรับการ Carbon Footprint พราะขยะพลาสติกในทะเลและป่าชายเลน ร้อยละ 80 มาจาก การทิ้งขยะบนแผ่นดิน  อยากเน้นย้ำการคัดแยกขยะและสร้างการรับรู้ปลายทางของขยะไปสู่จุดไหน จะเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

อิศรินทร์ ภัทรมัย กรรมการบริหาร บมจ.เอส โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท กล่าวว่า โครงการ Crossroads มัลดีฟส์ บริษัทในเครือสิงห์ เอสเตท ต้นแบบสร้างEcosystem ทางทะเลอย่างยั่งยืน แม้เป็นโครงการขนาดใหญ่ต้องดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ลดกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์สีเขียวในการก่อสร้าง การใช้พลังงานหมุนเวียน การจัดการน้ำเสีย และการใช้วัตถุดิบจากท้องถิ่นมาสร้างสรรค์เมนู  ที่นี่เป็นศุนย์การเรียนรู้อนุรักษ์ท้องทะเลและกระตุ้นการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันสร้างเศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืน พื้นที่อนุรักษ์ 30%ในปี 2030 ซึ่งเราจัดพื้นที่กว่า 31% ในโครงการร่วมพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพ เศรษฐกิจสีน้ำเงิน โดยเฉพาะ Blue Financing ที่สนับสนุนเงินทุนสร้างความยั่งยืนให้กับทะเลผ่านสินเชื่อที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้นทุนที่ประหยัดได้สามารถนำมาพัฒนาโครงการในมิติอื่นๆ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เก็บขยะศึกษาแหล่งที่มาในทะเล ปลุกความรับผิดชอบผู้ผลิต

กรม ทช. เก็บตัวอย่างขยะทะเลและศึกษาปริมาณขยะบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก เพื่อตรวจสอบบาร์โค้ดเป้าหมายเพื่อให้ผู้ผลิตตระหนักถึงพลาสติกและขยะที่ตกค้างในสิ่งแวดล้อม และหันมาใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลหรือย่อยสลายได้

“PTTEP Ocean Data Platform” แพลตฟอร์มข้อมูลวิทยาศาสตร์เพื่อความยั่งยืนของทะเลไทย

ปัจจุบัน ข้อมูลวิทยาศาสตร์ทางทะเลที่มีความสำคัญต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลมีอยู่ไม่มากนัก และยากต่อการค้นหา เนื่องจากข้อจำกัดต่าง ๆ

กลุ่มเยาวชนรักษ์โลก The Youth Fund ผนึก ทช.-เอสซีจี เปิดตัวโครงการใหม่ปกป้องทะเลไทย

กลุ่มเยาวชน The Youth Fund ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรมเปิดตัวโครงการ Marine Saver Mission สานต่อโครงการ Nets up ตอกย้ำความสำคัญของนวัตกรรมและความยั่งยืนในโครงการด้านสิ่งแวดล้อม

ไทยออยล์ร่วมพิธีลงนาม MOU กับ ทช. ในฐานะภาคีเครือข่ายป่าชายเลนประเทศไทย

เมื่อเร็วๆ นี้ นายถิรยุทธ ลิมานนท์ ผู้จัดการฝ่ายกิจการสัมพันธ์ เป็นผู้แทนบริษัทฯ ร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ (MOU)

'ดร.ธรณ์' เจอด้วยตัวเอง นักท่องเที่ยวเหยียบปะการังที่เกาะกูด แค่ฟอกขาวก็แย่มากแล้ว

ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศน์ทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ภาพพร้อมข้อความผ่านทางเฟซบุ๊กระบุว่า ทราบดีว่าไม่มีใครอยากเหยียบปะการัง แต่คงต้องฝากช่วยดูแลกันให้มาก

เข้าจุดพีค! 'ดร.ธรณ์' หวั่นร้อนจัดแบบนี้อีก7-8 วัน ความตายครั้งใหญ่จะมาเยือนทะเลไทย

ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศน์ทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ว่า