วิสัยทัศน์ 'ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร 'อธิการบดีคนใหม่ จุฬาฯ

ในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คนใหม่  ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรม”ชวนสื่อฯ จิบน้ำชายามบ่าย”  เพื่อกระชับสัมพันธ์พร้อมกับแสดงวิสัยทัศน์ ในฐานะอธิการบดี ว่าจะนำพาจุฬาฯ พัฒนาไปสู่ทิศทางใด

ศ.ดร.วิเลิศ กล่าวถึงแนวทางการบริหารมหาวิทยาลัยภายใต้นโยบาย “Chula Power of Togetherness” ว่าเป็นการมุ่งเน้นการเติบโตของจุฬาฯ ในทุกมิติ โดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมกับ การขับเคลื่อนจุฬาฯ สู่การเป็น “AI University” และการเป็น AI Hub ของภูมิภาคอาเซียน เนื่องจาก จุฬาฯมีความพร้อม  จากการมีคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในหลายสาขา อาทิ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และคณะเศรษฐศาสตร์  ขณะเดียวกัน ก็มีนโนบายผลักดันการตั้ง Chulalongkorn AI Institute หรือสถาบันปัญญาประดิษฐ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสนับสนุนการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ที่ตอบโจทย์สังคมยุคดิจิทัล และเตรียมความพร้อมให้นิสิตมีทักษะและความรู้ด้าน AI


“Chulalongkorn AI Institute จะเป็นศูนย์ที่แยกออกมา เปิดให้บริการความรู้ ที่ไม่ได้มีแต่นิสิตจุฬาฯ แต่ยังให้บริการประชาชน ใครก็ได้ที่ต้องการความรู้ ด้านเทคโนโลยีและเอไอมาเรียนได้ทั้งนั้น ที่จะมีหลายสาขาวิชา  โดยไม่มีการเก็บเงิน ซึ่งที่ผ่านมาเราก็ทำ CUMOOK ที่ให้บริการความรู้ด้านนี้กับประชาชนอยู่แล้ว ซึ่งส่วนนี้เป็นสิ่งที่เราพยายามจะเป็นผู้นำทางสังคมด้านนี้ “ศ.ดร.วิเลิศกล่าว

อธิการบดีฯ กล่าวว่า แม้ จุฬาฯ จะเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเอไอ แต่เอไอ จะเข้ามาแทนความเป็นมหาวิทยาลัยทั้งหมดไม่ได้ โดยเฉพาะในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างคนด้วยกันเอง เพราะบทบาทของจุฬาฯ ไม่ได้เป็นแค่สถาบันการศึกษา แต่มีบทบาทต่อสังคม ให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี และพยายามขบคิดหาทางออกให้สังคม  เช่นล่าสุดที่ผ่านมามีการจัดเสวนาเรื่องปลาหมอคางดำระบาด และเรื่องน้ำท่วม  

แต่ในยุคDisrupt หลายคนเกิดคำถามว่า ทั้งการที่มีเอไอเกิดขึ้น และเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งเอไอสามารถทำแทนได้หลายประการ ทั้งการเรียนและหาคำตอบ จะทำให้ มหาวิทยาลัยจะตายหรือไม่ ขอบอกว่ามหาวิทยาลัยไม่มีวันตาย  เพราะ เอไอ หรือเทคโนโลยี ไม่สามารถเข้ามาแทนที่ความเป็นมหาวิทยทลัยได้ เอไอเป็นแค่ knowledge based ซึ่งเป็นสิ่งที่หาได้ในกูเกิ้ล หรือสื่อต่างๆในโลกออนไลน์  แต่สื่งที่จุฬาฯเป็นก็คือ Wisdom based เป็นสถาบันที่ให้ทั้งความฉลาดและประสบการณ์ เป็นการสอนเรื่องความฉลาด ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ติดตัวไปตลอดชีวิต ตลอดจนสอนให้ผู้เรียนมีskill แก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีความเข้าใจโลก สามารถดำรงชีวิตได้ย่างปกติสุข  เอไอ จึงแทนที่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ แม้ว่าหลายคนจะบอกว่ายุคนี้เป็นยุคโลกแห่งความเปลี่ยนแปลง แต่เราจะไม่ต่อต้านเอไอ หรือการเปลี่ยนแปลงของโลก  แต่เราจะต้องใช้เอไอ ให้เป็นประโยขน์ ฉะนั้น เราจึงต้องเข้าใจว่าเอไอ ทำงานอย่างไรจึงจะเป็นคุณต่อเรา

“ความเป็นมนุษย์ของเราคือแก่นแท้ เป็นcore value เราจะต้องดำรงความเป็นพระเอก หรือนางเอก แล้วให้เอไอ เป็นพระรอง  เป็นตัวช่วย เราต้องให้เอไอมีส่วนร่วม ดังนั้น เอไอ ยูนิเวอร์ซิตี้  ที่เอไอ เขียนอะไรต่างๆในห้องเรียนได้ แต่เราจะต้องเขียนหรือทำเวอร์ชั่นที่เขียนได้ดีกว่าเอไอ  เราต้องสร้างคนให้เป็น  Analytic thinking  “

เป้าหมายของจุฬาฯ ต่อไป อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า คือ การมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัย นานาชาติระดับสากล หรือติดอันดับ ท็อป 10ของโลก โดย กำหนด ยุทธศาสตร์ไว้  2ประการคือ การเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ  ดำเนินการโดย การร่วมมือกับมหาวิทยาลัยขั้นนำระดับท็อปของโลก เช่น เอ็มไอที เป็นต้น 2. การร่วมมือกับ องค์กรชั้นนำของโลก  เช่น องค์การสหประขาชาติ หรือยูเอ็น  หรือการร่วมมือกับ  World Economic Forum ( WEF)ทำวิจัยระดับแนวหน้า  เช่นการวิจัยหัวข้อ Future oF Jobs 2025  เป็นต้น 3 0 การร่วมมือกับองค์กรชั้นนำของโลก  เช่น ดึงซีอีโอ ของหัวเว่ยมาสอน ที่จุฬาฯ  ตลอดจนร่วมกันทำวิจัยระดับโลก กับองค์กรเหล่านี้

“การ go inter ของเรา จะเป็นในลักษณะ Global Thainess University  หรือการเป็นที่  ทำให้จุฬาฯ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของไทยได้รับการยอมรับระดับสากล โดยที่เขาไม่สนใจที่มาว่าเรามาจากไหน เหมือนอย่าง โค้ก  ที่ได้รับการยอมรับจากคนทั้งโลก   เราอยากให้จุฬา เป็นที่สนใจของผู้เรียน   ให้คนรู้สึกอยากมาเรียน  นี่คือวิสัยทัศน์ที่ดูเพ้อเจ้อ เพ้อฝัน  แต่เป็นสิ่งที่เราต้องมี ต้องทำในระยะยาว  แม้ว่าจะเปลี่ยนอธิการบดี กี่คนก็ตาม

การมุ่งการเป็นมหาวิทยาลัยท็อป 10ของโลก    ดร.วิเลิศ บอกว่า เป็นยุทธศาสตร์ระดับบน  แต่ยุทธศาสตร์ระดับล่าง นั้นก็คือ   การมุ่งสร้างประโยขน์ให้ชุมชน โดยมีแผนที่จะทำพื้นที สยามสแควร์ และย่านบรรทัดทอง เป็นถนนคนเดิน  ขายของ เปิดโอกาสให้เกษตรกร  ผู้พิการ มาขายของ  หรือเด็ก เยาวชนมาแสดงความสามารถด้านต่างๆที่เป็นความคิดสร้างสรรค์

” คนมักจะถามว่า เราได้รายได้จากแถวสยามสแควร์ บรรทัดทอง เท่าไหร่  ต่อไป จะไม่มีการเก็บเงินส่วนนี้ เราจะทำพื้นที่ตรงนี้ เชื่อมโยงกับชุมชน เป็นการช่วยเหลือดูแลสังคม โดยที่ไม่จำเป็น ต้องไปทำที่พื้นที่ต่างจังหวัดเสมอไป  อยู่กีงเทพมหานคร ก็ช่วยเหลือคนได้เหมือนกัน นี่คือปณิธานความเป็นจุฬาฯ”

นอกจากนี้ จุฬา ยังมีโครงการ Social enterprise  การเปิดโอกาสให้นิสิตจุฬาฯ ทำงานพาร์ทไทม์ กับร้านค้าต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่เช่าจุฬาฯ และการหางานที่เป็นฟรีแลนซ์ให้นิสิต โดยอาจจะหักรายได้จากนิสิต ที่ได้งานทำมา 20-20% เพื่อมาทำโครงการเพื่อสังคมต่อไป


ด้านตัวนิสิตจุฬาฯ มีจุดมุ่งหมาย ให้มีความฉลาด สามารถสร้างนวัตกรรม จากพื้นฐานความมีSkill ของการเข้าใจโลก สามารถดำรงชีพ และเป็นพลเมืองโลกได้อย่างสมบูรณ์ ตลอดจนจะต้องเป็นผู้มีจิตวิญญาณของความเป็นผู้ให้

“นี่คือปณิธานของจุฬาฯ  เราจะต้องไม่ตามโลก แต่จะต้องล้ำโลก  เราจะต้องไม่เป็นแค่ user  แต่จะต้องเป็น Creator เป็นปณิธาน และเป็น Vision  ของเรา นอกจากนี้ เรายังจะเป็นพื้นที่บ่มเพาะ เยาวชนให้ออกมาเป็นผู้มีความดี และมีความสุขในการเรียน”

นอกจากเข้ารับตำแหน่งอธิการบดีจุฬาฯ แล้ว ศ.ดร.วิเลิศ ยังได้รับเลือกจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้เข้ารับตำแหน่งประธาน ทปอ.  ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จุฬาฯ จับมือกรม Climate Change และเครือข่ายพันธมิตรภาคเอกชน เปิดตัวหลักสูตร “TOP Green” หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้าน Sustainability

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม หอการค้าไทย และสภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ UN Global Compact Network Thailand

จุฬาฯ “เปิดแพลตฟอร์ม ฝ่าพิบัติ: Digital War Room” นวัตกรรมเตือนพื้นที่น้ำท่วมและแนวดินถล่มจากอุทกภัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงานเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 25 เรื่อง “แพลตฟอร์มจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ: Digital War Room” เพื่อนำเสนอนวัตกรรมจากคณาจารย์นักวิจัยจุฬาฯ

จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย Top ของประเทศ 3 ด้าน จากการจัดอันดับโดย THE WUR 2025

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของไทย จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกโดย The Times Higher Education World University Rankings 2025 (THE WUR 2025) จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลกที่ได้รับการจัดอันดับกว่า 2,000 แห่ง กว่า 115 ประเทศ

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง 'ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์' ดำรงตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์