เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้ก้าวขึ้นมาเป็นปรากฏการณ์สำคัญของโลกและถูกมองว่าเป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในยุคใหม่ บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ทั่วโลกเร่งพัฒนา AI อย่างเข้มข้นและรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดการพัฒนา AI ที่มีความสามารถใกล้เคียงมนุษย์ หรือที่เรียกว่า Artificial General Intelligence (AGI) อย่างไรก็ตาม การพัฒนาและใช้งาน AI โดยขาดการกำกับดูแลที่ดี อาจนำมาซึ่งปัญหาและความท้าทายหลายประการ เช่น การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างไม่เป็นธรรม การทดแทนแรงงานมนุษย์โดยไม่พิจารณาผลกระทบรอบด้าน การละเมิดความเป็นส่วนตัว และการเพิ่มความซับซ้อนของภัยคุกคามทางไซเบอร์
ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ ประเทศไทยได้แสดงความพร้อมรับมือผ่าน “แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย พ.ศ. 2565-2570” ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2565 โดยมีการขับเคลื่อนมาแล้ว 2 ปี ภายใต้การบูรณาการความร่วมมือระหว่าง 2 กระทรวงหลัก ได้แก่ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.)
ภายในงาน AI Thailand Forum 2024: Sustainable Growth with AI ที่ผ่านมา จึงได้มีการจัดเวทีเสวนา “ รายงานสถานการณ์ AI ในประเทศไทย และแผนยุทธศาสตร์ด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติ” เพื่อสร้างการรับรู้และตระหนักถึงประโยชน์ของ AI ในการเข้ามาเป็นตัวเร่วขับเคลื่อนเศรษฐกิจ พร้อมแนวทางในการกำกับและดูแล
ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เลขานุการคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่า แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย พ.ศ. 2567 โดยมีการสำรวจการใช้เอไอในหน่วยงานกว่า 500 แห่ง พบว่า มีการใช้งานเอไอเพิ่มขึ้นเพียง 17.8% จากปี 2566 ที่ใช้อยู่ 15.2% และมีแผนที่จะใช้เอไอเพิ่มขึ้น 73.3% ส่วนหน่วยงานที่ยังไม่มีความต้องการใช้งานเอไอและต้องการการสนับสนุนอีก 8.9%
ศ.ดร.ชูกิจ กล่าวต่อว่า โดยในเรื่องของ AI Aware หรือการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่มีการรับรู้และตระหนักถึงสิ่งต่างๆ ในเชิงของการประมวลผลและการตอบสนองที่คล้ายกับการรับรู้ของมนุษย์ ในองค์กรปี 2567 เพิ่มขึ้นถึง 55.1% โดยในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความพร้อม 3 แห่งหลัก ได้แก่ กลุ่มการศึกษา 71.2% กลุ่มการเงินและการค้า 65.5% และกลุ่มโลจิสติกส์และการขนส่ง 63.5% ทั้งนี้ Generative Ai ในนโยบายการจ้างงาน ไม่พบว่าบริษัทจะมีนโยบายในการลดคนเพราะเอไอ โดยในการสำรวจมีบริษัทที่ไม่ลดคนแต่ฝึกทักษะเอไอเพิ่ม 40% แต่ก็มีนโยบายที่ลดคนบางส่วนเพียง 26% ทั้งนี้บริษัทที่ยังไม่มีนโยบายส่วนนี้อีก 34% เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าคนต้องมีการปรับตัวในการทำงาน
ในผลการดำเนินงานและผลลัพธ์สำคัญของแผนปฏิบัติการเอไอฯ ในปี 2566-2567 ศ.ดร.ชูกิจ แสดงความเห็นว่า จากผลการสำรวจ Government AI Readiness Index ในปี 2566 ประเทศไทยได้ลำดับที่ 37 จากทั้งหมด 193 ประเทศ โดยวัดผลจากคะแนนนโยบายภาครัฐ, ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐาน , ด้านเทคโนโลยี ดังนั้นส่วนสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนแผนนี้คือ 1.การพัฒนากำลังคนด้านเอไอ จากการสำรวจในสถาบันการศึกษาซึ่งมีพื้นฐานแล้วกว่า 100,000 คน 2.การสนับสนุนโครงการวิจัยและพัฒนาด้านเอไอ และ 3. การส่งเสริม AI Startup เป็นต้น
ทั้งนี้ได้มีการพัฒนาแพลตฟอร์มกลางบริการ AI ประเทศไทย (National AI Service platform) ภายใต้การสนับสนุนของ GDCC มีจำนวนการใช้งานโดยเฉลี่ยเดือนละ 1 ล้านครั้งต่อเดือน รวมทั้งให้บริการ LANTA ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพการคำนวณอันดับ 1 ในอาเซียน ทั้งนี้แผนพัฒนากำลังคนด้าน AI มีกรอบดำเนินการใน 3 ส่วน แบ่งตามช่วงชีวิตการเรียนรู้ของคน ได้แก่ 1.AI@School เพื่อสร้างผู้สอนและบรรจุหลักสูตร AI สำหรับนักเรียนทุกช่วงชั้นให้มีความตระหนักและทักษะทางด้าน AIเบื้องต้น 2. AI@University เพื่อพัฒนาทักษะ AI ทุกระดับอย่างต่อเนื่องในระบบอุดมศึกษา 3.AI@Lifelong Learning เพื่อสนับสนุนให้ทุกคนในทุกช่วงวัยและทุกระดับการศึกษาสามารถเรียนรู้และพัฒนาทักษะ AI ได้ตลอดช่วงชีวิต ตอบรับนโยบาย อว. For AI
อย่างไรก็ตามในการนำ AI เพิ่มประสิทธิภาพการวิเคราะห์ข้อมูลประชากรขนาดใหญ่ เพื่อการวางแผนยุทธศาสตร์ของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมีผู้ได้รับประโยชน์มากกว่า 6 แสนคน มีหน่วยงานภาครัฐนำไปใช้ประโยชน์ 220 หน่วยงาน ครอบคลุม 17 จังหวัดทั่วประเทศ และการจัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือ Medical AI Consortium เพื่อรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลขนาดใหญ่ด้านการแพทย์และสาธารณสุข(Medical AI Data Sharing) ในปัจจุบันมีข้อมูลภาพถ่ายทางการแพทย์มากกว่า 1.6 ล้านภาพ ดังนั้นจากที่กล่างข้างต้นเป็นส่วนสำคัญที่ไทยต้องเพิ่มการพัฒนาต่อยอดเพื่อยกระดับขีดความสามารถด้าน AI ในองค์รวมของประเทศในระยะต่อไป
ด้านดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่าเสิรมว่า เป้าหมายด้านการพัฒนากำลังคนตลอดระยะของแผนปฏิบัติการเอไอฯ ให้ได้ 30,000 คน โดยแบ่งเป็น กลุ่ม Innavators สามารถพัฒนาเอไอสู่นวัตกรรมได้ 20,000 คน กลุ่ม AI Engineer จำนวน 9,000 คน และกลุ่ม Professional จำนวน 1,000 คน
“โดยในปี 2567 ในแผนงบประมาณของทาง อว. มีแผนที่จะพัฒนาด้านกำลังคนขั้นสูง (Super AI Engineer) ซึ่งมีคนที่ให้ความสนใจมากขึ้น และเป็นเป้าหมายที่จะเพิ่มกำลังคนส่วนให้มากขึ้น อย่างไรก็ตามปัญหาด้านกำลังคนที่เชี่ยวชาญด้านการสอนเอไอยังคงมีจำนวนน้อยทำให้มหาวิทยาลัยในต่างจังหวัดเข้าถึงหลักสูตรเอไอได้อย่างจำกัด จึงต้องอาศัยมหาวิทยาลัยเครือข่ายในการเชื่อมโยงหลักสูตรส่งต่อไปยังมหาวิทยาลัยเหล่านี้ นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะเพิ่มหลักสูตรเข้าไปในการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน โดยนำร่องโรงเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพฯ เพื่อขยายฐานความสนใจในการเรียนด้านนี้ให้มากขึ้น” ดร.ชัย กล่าว
เทพชัย ทรัพย์นิธิ นายกสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIAT) กล่าวว่า นับเป็นความท้าทายในด้านการพัฒนากำลังด้านเอไอ เนื่องจากคนที่สนใจศึกษาด้านเอไอ หรือแม้แต่ด้านวิทยาศาสตร์ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่หน่วยงานเกี่ยวข้องจะต้องพยายามกระตุ้นในการเรียนให้เกิดความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น และมีการยกระดับจากกลุ่ม Innovators ไปสู่ กลุ่ม Super AI Enginee เพื่อสร้างทักษะให้เกิดกำลังคนที่มีความสามารถจริงๆ เพราะกระแสเอไอจะส่งผลกระทบต่อทุกอุตสาหกรรม ดังนั้นกำลังคนจึงมีความจำเป็นในการขับเคลื่อนประเทศ
ดร.กอบกฤตย์ วิริยะยุทธกร นายกสมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIEAT) ได้แสดงความเห็นว่า อุปสรรคในการพัฒนากำลังคนด้านเอไอคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านเอไอมีจำนวนน้อยอยู่ที่ 1% ของประชากรทั้งหมด ดังนั้นโครงการต่างๆที่พยายามผลักดันพัฒนากำลังคนจะเป็นกลไกสำคัญให้ไทยมีกำลังคนขั้นสูงด้านเอไอที่เพิ่มขึ้น โดยในกลุ่มประเทศอาเซียนการพัฒนาและความก้าวหน้าด้านเอไอ ประเทศไทยยังคงเป็นรองเพียงสิงคโปร์และมาเลเซีย ซึ่งเวียดนามเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีความน่าสนใจ เนื่องมีการเติบโตทางด้านเอไอที่รวดเร็ว โดยประชากรเวียดนามมีความรู้ทางด้านทักษะดิจิทัลเพิ่มขึ้น 5% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ไทยจะต้องพยายามเพิ่มขึ้นอีก 5 เท่าเพื่อเร่งการพัฒนาเอไอให้มากขึ้น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ต่อลมหายใจ ‘ทักษิณ’ | ห้องข่าวไทยโพสต์สุดสัปดาห์
ห้องข่าวไทยโพสต์สุดสัปดาห์ : วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2567
‘พล.ท.นันทเดช’ เปิดลึกข่าวร้าย..!! ‘อุ๊งอิ๊ง-ทักษิณ’ ตีตั๋วยาว!! | อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร
อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร : วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2567
ลัคนาตุลกับเค้าโครงชีวิตปี2568
ยังอยู่ในช่วงเจ็ดปีที่มีระยะแตกแยกพี่น้อง หรือเพื่อนสนิท หรือยุ่งยากมรดก-การเงิน
ดร.เจษฏ์..วิพากษ์ สุดทาง นรก-สวรรค์‘ทักษิณ | ตรงปก ตรงประเด็น กับ...สำราญ รอดเพชร
ตรงปก ตรงประเด็น กับ...สำราญ รอดเพชร : วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
เพื่อไทยติดปีก | ห้องข่าวไทยโพสต์
ห้องข่าวไทยโพสต์ : วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567