วิจัยเทคโนฯขั้นสูงไทยเห็นแสงสว่างรำไร รัฐบาลอิ๊งค์อัดงบฯ4.4หมื่นล้านเร่งพัฒนา

เป็นที่ทราบกันดีว่า ประเทศไทยยังมีจุดอ่อนด้านขีดความสามารถการแข่งขัน โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ที่ยังปรับตัวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่มุ่งสู่การขายความคิดสร้างสรรค์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งพื้นฐานของการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ล้วนมาจากการวิจัยแทบทั้งสิ้น
ทั้งนี้ หากย้อนหลังไปดูการสนับสนุนการวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของภาครัฐในช่วงระยะ 5 ปี ตั้งแต่ปี2564- 2568 พบว่ามีวงเงินการสนับสนุนไม่มากนัก ผ่านทางงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ที่อยู่ภายใต้การบริหารของ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และ นวัตกรรม (สกสว.)  โดยในปี 2564 :มียอด 19,916.63 ล้านบาท  (จัดสรรให้ 153 หน่วยงาน) ,ปี 2565 วงเงิน 14,176.05 ล้านบาท  (จัดสรรให้ 164 หน่วยงาน) ปี 2566 วงเงิน 16,354.28 ล้านบาท  (จัดสรรให้ 165 หน่วยงาน) ปี 2567 วงเงิน 19,033.67 ล้านบาท  (จัดสรรให้ 186 หน่วยงาน) ปี 2568 วงเงิน  19,350.77 ล้านบาท  (จัดสรรให้ 195 หน่วยงาน)

ล่าสุดในการประชุมประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สภานโยบาย) ครั้งที่ 3/2567 โดยมีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานสภานโยบาย เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยนางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในฐานะรองประธานคนที่สอง และคณะรัฐมนตรี ในฐานะกรรมการโดยตำแหน่ง ตลอดจนผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวง และผู้ทรงคุณวุฒิ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึง ศ.เกียรติคุณ ดร.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) และ รศ.ดร. ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว. เข้าร่วมประชุมการพิจารณากรอบแนวทางการนำการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงตามความต้องการของประเทศ

การประชุครั้งนี้  สภานโยบายได้มีมติเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษา และกรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 วงเงินรวมทั้งสิ้น 160,136 ล้านบาท เป็นงบประมาณด้านการอุดมศึกษาประมาณ 115,236 ล้านบาท และงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 44,900 ล้านบาท เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งในส่วนงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมนี้ จะอยู่ภายใต้กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) บริหารจัดการโดย คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) และ มีสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และ นวัตกรรม (สกสว.) เป็นฝ่ายเลขานุการ

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า งบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 44,900 ล้านบาท หรืองบฯสนับสนุนการวิจัยวิทยาศสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม  มีวงเงินที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับวงเงินสนับสนุนในปี ที่ผ่านๆมา หรือหากเทียบกับปี2568 ที่มีวงเงิน   19,350.77 ล้านบาท  นับว่าสู่งกว่าเท่าตัว  

เป้าหมายการใช้วงเงิน   44,900 ล้านบาท  เพื่อสนับสนุนการวิจัย  ที่ประชุมสภานโยบาย อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อววน. วางกรอบการใช้เงินอันดับแรก  ที่ถือเป็นวาระสำคัญเร่งด่วน  ก็คือ การขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงตามความต้องการของ   ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศในมิติต่าง ๆ โดยเฉพาะการผลิตและพัฒนากำลังคนทักษะสูง เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาล รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดการนำงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรม โดยมุ่งเน้นใน 4 อุตสาหกรรมเป้าหมายและ 2 วาระสำคัญเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ ได้แก่ 1. อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง 2. อุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI) 3. อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และ 4. อุตสาหกรรมการแพทย์ขั้นสูง

นอกจากนี้ ยังมีวาระสำคัญ 2 วาระ ประกอบด้วย 1. การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานไปสู่พลังงานสะอาด และ 2. การสร้างความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งในมิติของการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน การจัดการมลพิษ และการลดผลกระทบจากภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต โดย สกสว. ได้รับมอบหมายให้ร่วมกับสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และสำนักงานปลัดกระทรวง อว. (สป.อว.) ดำเนินการต่อไป

รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล

ด้าน รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสกสว. เปิดเผยหลังประชุมสภานโยบายว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบกรอบงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) จำนวน 44,900 ล้านบาท แบ่งเป็น กรอบงบประมาณด้านการวิจัยและนวัตกรรม จำนวน 41,900 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund) 8,100 ล้านบาท และงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Fund) 33,800 ล้านบาท และกรอบงบประมาณด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี จำนวน 3,000 ล้านบาท

สำหรับการดำเนินภายใต้กรอบงบประมาณปี 2569 นี้ ได้กำหนดผลลัพธ์ ผลกระทบสำคัญที่สามารถนำไปใช้พัฒนาเศรษฐกิจ การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมระดับขั้นแนวหน้าที่ก้าวหน้าล้ำยุค การพัฒนากำลังคนและสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และการแก้ไขประเด็นวิกฤตและเร่งด่วนของประเทศ โดยอาศัยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เหลียวหลังแลหน้า การเมืองไทย จาก 2567 สู่ 2568 ส่องจุดจบ ระบอบทักษิณภาค 2

รายการ"ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด"สัมภาษณ์ นักวิชาการ-นักการเมือง สองคน เพื่อมา"เหลียวหลังการเมืองไทยปี 2567 และแลไปข้างหน้า

โฆษกรัฐบาล เผยปี 2568 นายกฯอิ๊งค์ จะทำให้ประเทศไทยเจริญทุกตารางนิ้ว!

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากผลการสำรวจความคิดเห็นของนอร์ทกรุงเทพโพล มหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพ ในประเด็น “ท่านเห็นว่าบุคคลใดที่สมควรได้รับการยกย่องให้เป็นนักการเมืองแห่งปี 2567 ” พบว่า ประชาชนชื่นชมและชื่นชอบ

'อิ๊งค์' ลั่นไม่ได้หาเสียง ตีปี๊บแจกเงินหมื่น เฟส 2 ฟื้นกองทุน SML ยุคพ่อใหญ่ทักษิณ

นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ติดตามโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน (ODOS) และโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลตลาด

นายกฯ บินมหาสารคาม ติดตามแก้น้ำท่วม-แล้ง เปิดงาน 'ออนซอนกลองยาวชาววาปี'

'นายกฯอิ๊งค์' บินมหาสารคาม ตรวจติดตามอุทกภัยลุ่มน้ำชี-โครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน ไม่ตอบความคืบหน้าตั้งคกก.ปราบอิทธิพล

'นายกฯอิ๊งค์' ขึ้นแท่นนักการเมืองแห่งปี 'ผู้นำค้านเท้ง' ร่อแร่รั้งอันดับ 9

เปิดผลโพลนักการเมืองแห่งปี 67 'แพทองธาร ชินวัตร' ประชาชนชื่นชอบกว่า 15% ขณะที่่ผู้นำค้าน 'ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ' ร่อแร่ร่วงอันดับ 9 ได้แค่ 5%