‘หมอยง’ สะท้อน จริยธรรมการใช้ AI กับงานทางวิชาการ งานวิจัย

28 ต.ค.2567- ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง “จริยธรรมการใช้ AI กับงานทางวิชาการ งานวิจัย” ระบุว่า ในอดีตงานวิชาการ งานวิจัย เรามีเครื่องมือต่างๆมาช่วยเสริมในการทำงานให้เร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การใช้เครื่องคิดเลข คอมพิวเตอร์ ต่อมาการค้นหา บนระบบออนไลน์ ทุกอย่างก็เปรียบเสมือนเป็น AI เบื้องต้น และมีการยอมรับ ให้ใช้ช่วยเหลือในด้านงานวิชาการและงานวิจัย

ปัจจุบันก็เช่นเดียวกัน การมี AI  ก็สามารถมาก ที่จะมาช่วยเหลืองานวิจัยและงานวิชาการได้ ให้ทำได้รวดเร็วขึ้น แน่นอนก็คงต้องมีขอบเขตของจริยธรรม  AI  กับงานวิจัย ผลงานการคิดค้นทั้งหมด การทำวิจัยจะต้องออกจากไอเดียของเรา และใช้  AI ช่วยเสริมให้ทำงานได้เร็วขึ้น ไม่ถือว่าผิดจริยธรรม เช่น ช่วยค้น ช่วยเรียบเรียง ช่วยแปลภาษา

แต่ถ้าให้ AI  ทำงานแทนเราทั้งหมด โดยไม่ได้ออกจากแนวความคิดเราเลย หรือเอา AI มาเป็นผู้ร่วมวิจัย ถือว่าไม่เป็นยอมรับ

เมื่อใช้ AI มาช่วยเหลืองานวิจัย ทุกครั้งสิ่งที่ AI  generate ขึ้นมา จะต้องได้รับการตรวจทานและแก้ไขจากเราอย่างละเอียด จึงจะเป็นที่ยอมรับ

ดังนั้นเมื่อเอามาช่วยงานวิจัยสามารถทำได้ แต่ให้เอามาทำแทนไม่สามารถยอมรับได้ไม่ว่างานวิชาการใดๆ

ในปัจจุบัน เพื่อความโปร่งใส การใช้ AI  จะต้องบอกว่าเรานำ AI มาใช้ในส่วนไหน บางสำนักพิมพ์ให้ชี้แจง ไม่ได้เป็นข้อห้ามใช้ แต่ต้องมีการชี้แจงคล้ายๆ กับการบอกผลประโยชน์ทับซ้อน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เหรียญที่มีสองด้านของ AI ในสังคมไทย

ประเทศไทยมีการเติบโตด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วในหลายภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ บริการและในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆอันนำไปสู่ปัญหาของสังคมเช่น

โรงเรียน นรต. สั่งปลด 'หนิง' คู่กรณีเมียบิ๊กโจ๊ก พ้นอาจารย์พิเศษ

โรงเรียนนายร้อยตำรวจ เผยแพร่เอกสาร แจ้งผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีอาจารย์โรงเรียนนายร้อยตำรวจประพฤติผิดจริยธรรม และการแต่งตั้งอาจารย์พิเศษ