ส่องจักรวาลของจีน ที่ศูนย์การศึกษาอวกาศเหวินชาง

ยานอาวกาศและจรวดจำลองของจีน ที่ศูนย์การศึกษาอวกาศเหวินชาง

เมื่อหลายเดือนก่อนได้มีโอกาสไปชมดินดวงจันทร์ที่ชื่อ หมิงเยว่จ้าวหว่อหวน ในงาน อว.แฟร์ : SCI-POWER FOR FUTURE THAILAND ภารกิจแรกขององค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน (CNSA) ที่ได้ส่งยานฉางเอ๋อ 5 ขึ้นสู่ดวงจันทร์ในวันที่ 24 พ.ย.2563 และได้มอบโอกาสให้ไทยนำมาจัดแสดง เนื่องจากความร่วมมือในการโครงการวิจัยวิทยาศาสตร์และระดับโลกของจีน แม้ดินดวงจันทร์น้ำหนัก 75 มิลลิกรัม แต่ปริมาณนี้สะท้อนถึงศักยภาพและความมุ่งมั่นของจีน ที่สามารถเป็นประเทศที่ 3 ในการนำดินดวงจันทร์กลับมายังโลก ตั้งแต่วันนั้นจึงทำให้กลายเป็นแรงบันดาลใจที่อยากจะไปเยือนสถานีอวกาศที่จีนสักครั้ง

จรวดตระกูลลองมาร์ชขนาดต่างๆ

เหมือนฝันเป็นจริงสำหรับใครที่หลงใหลโลกของจักรวาลและการสำรวจอวกาศ เราและคณะสื่อมวลชนได้มีโอกาสร่วมทริปโครงการพิเศษ “เยือนมณฑลไหหลำสัมผัสวัฒนธรรมอวกาศจีน”  ที่จัดขึ้นโดยอาศรมสยาม-จีนวิทยา สมาคมปัญญาภิวัฒน์ และบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ความน่าสนใจของโปรมแกรมในครั้งนี้คือการได้ไป  “ศูนย์การศึกษาอวกาศเหวินชาง (Wenchang Space Education Center)” ในมณฑลไห่หนาน ประเทศจีน เป็นจุดหมายปลายทางที่น่าลองไปเปิดประสบการณ์ เพราะนอกจากจะเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่มีการจัดแสดงข้อมูลด้านอวกาศอย่างครบครันแล้ว ยังอยู่ไม่ไกลจากฐานปล่อยจรวดเหวินชาง 1 ใน 4 สถานีปล่อยจรวดที่ทันสมัยที่สุดของจีน และเป็นจุดเริ่มต้นของการผจญภัยสู่อวกาศของจีนในหลายๆครั้งที่ผ่านมาด้วย

เส้นทางภารกิจของฉางเอ๋อ 3

สำหรับที่ตั้งศูนย์การศึกษาอวกาศเหวินชาง เมืองเหวินชาง มณฑลไหหนาน หรือไหหลำ ทางตอนใต้ของจีน ชื่อที่หลายคนคุ้นเคย เพราะมีคนไทยเชื้อสายจีนไหหลำจำนวนไม่น้อยที่ได้อพยพมาตั้งรกรากอยู่ในไทย หรืออาหารที่มีชื่อเสียงอย่างไก่ไหหลำ ความพิเศษของมณฑลแห่งนี้แม้จะเป็นเพียงเกาะที่มีพื้นที่ขนาดเล็กที่สุด แต่ด้วยศักยภาพทางพื้นที่ของเมืองเหวินชาง ได้ถูกเลือกให้เป็นฐานการปล่อยดาวเทียมและจรวด เนื่องจากพื้นที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร จะทำให้จรวดได้รับแรงเหวี่ยงจากการหมุนรอบตัวเองของโลก ส่งผลให้มีอัตราเร็วเพิ่มขึ้นตั้งแต่เริ่มปล่อย และสามารถที่จะประหยัดเชื้อเพลิงในการส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรได้มากขึ้นด้วย

ด้านหน้าศูนย์การศึกษาอวกาศเหวินชาง

จากตัวเมืองไห่หนานมุ่งหน้าเมืองเหวินชางใช้เวลาประมาณ 1.30 ชั่วโมง บรรยากาศที่ห่างไกลจากตัวเมืองไม่ต่างกับเส้นทางจากเมืองกรุงฯ ไปต่างจังหวัด แต่เพราะเป็นเมืองที่ทางรัฐบาลจีนได้เริ่มเข้ามาพัฒนาการให้เป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวแล สินค้าปลอดภาษี(Duty Free)  ทำให้หลายจุดเป็นพื้นที่ก่อสร้าง แต่ยังดีที่การจราจรส่วนใหญ่ประชากรที่นี่จะใช้รถไฟฟ้าแทบทั้งหมด ช่วยลดฝุ่นควันได้ดีทีเดียว

มาถึงศูนย์การศึกษาอวกาศเหวินชาง ในบริเวณนี้มีขนาดใหญ่ มีหลายอาคารเป็นเหมือนฐานบัญชาการ แต่จะไม่ได้เปิดให้เข้าชมหรือจะเดินสุ่มสี่สุ่มห้าเข้าไปได้ จะสามารถอยู่ในบริเวณของศูนย์ฯ ที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าได้เท่านั้น เมื่อเข้ามาด้านในจะมีภัณฑารักษ์คอยแนะนำเป็นภาษาจีนอย่างเดียว จึงควรจะมีไกด์หรือผู้ที่สามารถสื่อสารภาษาจีนและไทยได้ไปด้วย เพื่ออรรถรสในการรับฟังและชมมากยิ่งขึ้น

บรรยากาศด้านการจัดแสดงที่ศูนย์การศึกษาอวกาศเหวินชาง

ด้านในของศูนย์การศึกษาอวกาศเหวินชาง จะจัดแสดงในลักษณะของพิพิธภัณฑ์มีการจัดแสดงทั้งหมด 3 ชั้น  เข้ามาที่ชั้นแรกจะมีนักบินอวกาศจำลองยืนต้อนรับนักท่องเที่ยว แค่ทางเข้าเราและเพื่อนร่วมทริปก็ตื่นเต้นกันแล้ว โซนแรกจะจัดแสดงภาพถ่ายของผู้นำจีนและผู้ที่บุกเบิกการศึกษาอวกาศ อย่าง เฉียน เสวียเชิน (Qian Xuesen) ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งโครงการอวกาศจีน เพราะตั้งแต่ปี 1956 เขาได้ผลักดันเรื่องการศึกษาอวกาศและเปิดสถาบันวิจัยด้านจรวดและขีปนาวุธเป็นครั้งแรก ยังมีภาพการทดลองปล่อยจรวด ดาวเทียมในแบบต่างๆ ภาพการส่งยานอวกาศขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นพยายามในเรื่องนี้เป็นอย่างมากของจีน

รูปปั้นเฉียน เสวียเชิน

ถัดมาเป็นโซนการจำลองยานอวกาศ ที่นักบินอวกาศใช้เป็นยานพาหนะส่งขึ้นไปสำรวจโลก ส่วนด้านข้างเป็นชุดของนักบินอวกาศของจีนซึ่งเป็นชุดจริงๆที่นักบินได้ส่วมใส่ และจรวจ CZID และ จรวจ CZI3A  นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงจรวจตระกูลลองมาร์ชขนาดต่างๆที่ใช้ในภารกิจ พร้อมทั้งผังรายชื่อการปล่อยจรวจตั้งแต่ปี 1970-2016 มีทั้งภารกิจที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลวด้วย

หลิว หยาง นักบินหญิงคนแรกของจีนที่ขึ้นสำรวจโลก

ถัดมาที่โซนการจัดแสดงดาวเทียมจำลอง โมดูลจำลอง และภาพชีวประวัติของนักบิน โดยมีนักบินหญิงคนแรกของจีน ชื่อหลิว หยาง, อาหารอวกาศของจีน มีหลายประเภท ทั้งเนื้อสัตว์ ห้าประเภทหลัก เนื้อสัตว์ อาหารทะเล อาหารทะเล ขนมอบ อย่าง ขนมไหว้พระจันทร์ ที่ถูกแปรรูปให้สามารถนำขึ้นไปบนยานอวกาศได้ และการจำลองยานฉางเอ๋อ 3 ที่ทำการบินสำรวจโลก ท้องฟ้า และดวงจันทร์ โดยยานฉางเอ๋อ 3 ได้ลงจอดบนดวงจันทร์สำเร็จเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2556 และต่อมายานฉางเอ๋อ 5 ที่ปล่อยในฐานยานอวกาศที่เมืองเหวินชาง ได้ทำภารกิจเยือนดวงจันทร์สำเร็จอีกครั้ง นับเป็นประเทศมหาอำนาจที่ 3 รองจากสหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต

สถานีอวกาศเทียนกง-1 จำลอง

อีกหนึ่งโมเดลยานอวกาศจำลองที่น่าสนใจคือสถานีอวกาศ เทียนกง-1 ได้ถูกส่งขึ้นไปเพื่อทดสอบปฏิบัติการหลายอย่างในอวกาศ เพื่อเตรียมการขั้นต้นสำหรับการสร้างสถานีอวกาศของจีนให้เสร็จสิ้นภายในปี 2563 โดยเทียนกง-1  มีความพิเศษไม่เหมือนกับยานลำก่อนๆของจีน ซึ่งภายในตัวยานได้ติดตั้งระบบการเชื่อมต่อไว้มากมาย รวมถึงเตรียมรอรับการเชื่อมต่อยานอวกาศไร้มนุษย์เสิ่นโจว 8 ซึ่งนับได้ว่าเป็นครั้งแรกของจีนที่จะเชื่อมต่อยานอวกาศที่เคลื่อนที่อยู่ในวงโคจร

นิทรรศการประวัติเฉียน เสวียเชิน

ชมยานอาวกาศ จรวดและดาวเทียมจำลองที่มีหลายรูปแบบแล้ว  เชื่อมต่อไปยังชั้น 2 จะเป็นการจัดแสดงชีวประวัติและคุณูปการของ เฉียน เสวียเชิน  บิดาแห่งโครงการอวกาศจีน  เขาจบปริญญาตรีจาก Chiao Tung University และไปเรียนต่อสหรัฐอเมริกาที่ MIT(Massachusetts Institute of Technology) และ Caltech (California Institute of Technology)เ ขามีส่วนในการสร้าง Jet Propulsion Laboratory ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นศูนย์ค้นคว้าสําคัญของ NASA เมื่อกลับมายังประเทศเกิด เส้นทางมีขรุขระไปบ้างด้วยสถานการณ์บ้านเมืองในยุคนั้น แต่สุดท้ายเขาก็เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการศึกษาทางอวกาศ และการพัฒนาขีปนาวุธด้วย

แผนที่แสดงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องกับและอวกาศจีน

ส่วนชั้นที่ 3 สุดท้ายเป็นการจัดแสดงความสำเร็จในเส้นทางการไปเยือนอวกาศของจีนกว่า 70 ปี โดยมีการจัดทำแผนที่แสดงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องกับและอวกาศจีน ซึ่งมีหลายแห่งมากๆ โดยท่าอวกาศทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ จิ่วเฉวียน ไทหยวน ซีชาง เหวินชาง ก็ปักหมุดอยู่บนแผนที่นี้ด้วย พร้อมกับรับชมภาพยนตร์สั้นๆ ของเฉียน เสวียเชิน  ที่นำพาจีนสู่ชาติมหาอำนาจทางอวกาศ

อาหารอวกาศของจีน

การเข้าชมศูนย์การศึกษาอวกาศเหวินชางเปิดมุมมองใหม่ให้เห็นถึงศักยภาพของจีนในฐานะมหาอำนาจทางอวกาศ ที่ไม่เพียงแค่มีบทบาทเป็นฐานปล่อยยานอวกาศเท่านั้น แต่ยังสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฐานปล่อยยานที่เมืองเหวินชางแห่งนี้นี้ยังรองรับการปล่อยยานอวกาศเชิงพาณิชย์ ซึ่งช่วยกระตุ้นการลงทุนจากนานาประเทศที่ต้องการร่วมมือด้านการวิจัยอวกาศ ทำให้จีนกลายเป็นจุดศูนย์กลางแห่งความร่วมมือระดับโลกและแสดงถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอวกาศที่ล้ำหน้า.

ภาพแสดงการพัฒนาการศึกษาด้านอวกาศของจีน
ดจริงของนักบินอวกาศจีน
เครื่อง gyroscope จำลอง การนั่งด้วยแรงเหวี่ยง
โมดูลจำลองสถานีอวกาศ
ภาพถ่ายเมืองต่างๆในจีนจากดาวเทียม 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'Chang Cold Brew' พา6คู่แชมป์'ช้าง คลับฯ สัมผัสสนามระดับ6ดาวที่จีน

“Chang Cold Brew Cool Club” ร่วมกับพาร์ทเนอร์ชั้นนำ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.), สมาคมสนามกอล์ฟไทย และบริษัท ซีซีเค กรุ๊ป จำกัด (TaylorMade Thailand) นำก๊วน 6 คู่หูนักกอล์ฟสมัครเล่นยอดฝีมือและผู้โชคดีจากการแข่งขันกอล์ฟไลฟ์สไตล์ที่คูลที่สุด รายการ “Chang Cold Brew Cool Club presents Chang Club Championship 2024” บินลัดฟ้าสู่เกาะไห่หนาน ฮาวายแห่งเอเชีย สาธารณรัฐประชาชนจีน

'บาส หัสณัฐ' ปลื้มแฟนจีนแห่ต้อนรับสุดอบอุ่น เผยเตรียมลุยคอนเสิร์ตเดี่ยว

มีโอกาสได้ไปร่วมโชว์ในงาน "Trance Music Festival" ที่กุ้ยหลิน ประเทศจีน เมื่อวันก่อน ทำเอานักแสดงหนุ่มหน้าใส "บาส-หัสณัฐ พินิวัตร์" เจ้าของฉายา "บาสเด็กอ้วนที่แท้จริง" ปลื้มสุดๆ เพราะมีแฟนๆชาวจีนมาให้กำลังใจล้นหลาม งานนี้เจ้าตัวเลยมาเล่าถึงการทำงานที่จีน พร้อมทั้งอัปเดตคอนเสิร์ตเดี่ยวที่กำลังจะมีขึ้นในเดือนธันวาคมนี้

ซีพี ออลล์ จัดงานมอบรางวัลหนังสือดีเด่น เซเว่นบุ๊คอวอร์ด ครั้งที่ 21

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ จัดพิธีมอบโล่พระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ