'TikTok 'เปิดตัว'Mindful Makers ' สร้างพื้นที่ปลอดภัยต่อสุขภาพจิตเด็ก-วัยรุ่น

TikTok แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นที่นิยมทั่วโลก  มีความมุ่งมั่นในการต่อต้านข้อมูลผิดเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจิต ล่าสุดได้เปิดตัวโครงการ ‘Mindful Makers’ ในประเทศไทย ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางความรู้ชั้นนำด้านสุขภาพจิตในโลกโซเชียลมีเดีย ด้วยการรวบรวมครีเอเตอร์ชั้นนำและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต มาร่วมสร้างพื้นที่สร้างสรรค์และปลอดภัยในการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีและสนับสนุนผู้ใช้งาน

การให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพจิตของเด็กและเยาวชนของTikTok  เกิดจากความใส่ใจกับผู้เสพข้อมูลที่เป็นเยาวชน ประกอบกับ  ข้อมูลการสำรวจโดย lovefrankie  ในประเด็นด้านสุขภาพจิตของเยาวชนไทยเผยว่า เยาวชนส่วนใหญ่แสดงออกถึงความต้องการข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน และเชื่อถือได้ ตอกย้ำถึงความสำคัญของการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือในโลกโซเชียลมีเดีย เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยพวกเขาให้คุณค่ากับคอนเทนต์ที่สร้างการซัพพอร์ททางอารมณ์และความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของคอมมูนิตี้ รวมถึงการได้มีส่วนร่วมแบ่งปันเรื่องราวจากชีวิตจริงในรูปแบบที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน นอกจากนี้ ผลการสำรวจยังแสดงให้เห็นว่า 85% ของผู้ตอบแบบสอบถามใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นที่ตนสนใจ

อีกทั้งจากผลการสำรวจของกรมสุขภาพจิตผ่านแอปพลิเคชัน Mental Health Check-in ระหว่างวันที่ 12 ก.พ. 65 – 14 ต.ค. 67  พบว่ากลุ่มเด็กและวัยรุ่น อายุต่ำกว่า 18 ปี จำนวนสะสม 503,884 ราย เสี่ยงซึมเศร้าถึง 51,789 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.28 เสี่ยงทำร้ายตนเอง จำนวน 87,718 ราย คิดเป็นร้อยละ 17.4 สะท้อนปัญหาสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ยิ่งตอกย้ำว่าในโลกโซเชียลมีเดีย ควรให้ความสำคัญกับสภาพจิตใจของเด็กและวัยรุ่นมากกแค่ไหน

นายแพทย์กิตติศักดิ์  อักษรวงศ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต

 นายแพทย์กิตติศักดิ์  อักษรวงศ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ตัวเลขเหล่านี้ไม่เพียงแต่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่น ที่ต้องการการดูแลอย่างเร่งด่วนเท่านั้น แต่ยังเป็นสัญญาณเตือนว่าเราทุกคนต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง  เดิม บริษัท TikTok ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ที่มีอิทธิพลอย่างมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนและวัยรุ่นในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีและสื่อสังคมออนไลน์เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเราทุกคน เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าสื่อเหล่านี้ส่งผลต่อผู้ใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นวัยที่กำลังเติบโตและพัฒนาทั้งทางร่างกายและจิตใจ การสร้างพื้นที่ออนไลน์ที่ปลอดภัยมีความรับผิดชอบ และส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดี จึงเป็นความท้าทายและภารกิจสำคัญที่เราทุกคนต้องร่วมมือกัน

“การแก้ปัญหาสุขภาพจิตโดยเฉพาะในยุคดิจิทัลนี้ ไม่สามารถทำได้โดยภาครัฐเพียงลำพัง แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม กรมสุขภาพจิตนั้นมีความร่วมมือที่ดีกับทาง TikTok มาโดยตลอด กรมสุขภาพจิตเองเคยได้รับรางวัล “Social impact Partner of the Year” ในงาน “TikTok Awards Thailand 2022” เราเป็นส่วนราชการแห่งแรกๆ ที่ใช้ Platform TikTok สื่อสารความรู้สู่ประชาชน  ผ่านช่องทาง TikTok ของกรมสุขภาพจิต ชื่อว่า “thaidmh” และได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ใช้งาน มียอดวิวถึง 26 ล้านวิว และวิดีโอที่มียอดวิวสูงกว่าล้านวิวอีกเป็นจำนวนมาก “

อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวอีกว่า การที่บริษัท TikTok ได้ริเริ่มแคมเปญ ‘TikTok Mindful Makers’ ร่วมกับองค์การอนามัยโลกและ Mental Health Trust Network Program จึงเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความตระหนักรู้เรื่องสุขภาพจิตในวงกว้าง แคมเปญ  ‘TikTok Mindful Makers’ นี้ ไม่เพียงแต่เป็นการใช้พลังของสื่อสังคมออนไลน์ในการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพจิตเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างชุมชนออนไลน์ที่ให้การสนับสนุนและเข้าใจซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สร้างคอนเทนต์ออนไลน์ ร่วมกันนำเสนอเนื้อหาที่ส่งเสริมความเข้าใจด้านสุขภาพจิต สร้างสังคมที่เห็นอกเห็นใจ และเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น

 นางชนิดา คล้ายพันธ์

 นางชนิดา คล้ายพันธ์ Head of Public Policy ประจำประเทศไทย บริษัท ติ๊กต๊อก เทคโนโลยีส์ จำกัด กล่าวว่า ในนามของ TikTok ขอยืนยันว่าเราเป็นแพลตฟอร์มที่มีเจตนารมณ์ในการจุดประกายความคิดสร้างสรรค์และมอบความสุขให้กับผู้ใช้งานทุกเพศทุกวัย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากเราไม่ทำให้แพลตฟอร์มของเราเป็นพื้นที่ปลอดภัย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา TikTok ได้ให้คุณค่า และได้ดำเนินการในประเด็นสุขภาพจิตมาโดยตลอด เพราะเป็นสิ่งที่ผู้ใช้งานให้ความสำคัญและให้ความสนใจในการรับชมโครงการดูแลใจไปด้วยกันมากกว่า 13,000 ล้านครั้ง

“เรามีข้อมูลของกรมสุขภาพจิตในปี 2564 พบว่า 1 ใน 7 ของเยาวชนอายุ 15 – 24 ปี ประสบกับปัญหาทางสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล ซึ่งแม้ว่าคนส่วนใหญ่ของคนวัยนี้จะใช้ช่องทางสื่อโซเชียลมีเดียเป็นช่องทางหลักในการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพจิต  แต่ก็ยังเผชิญกับความท้าทายในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และพบเจอปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบทางลบต่อจิตใจ โดย Love Frankie ซึ่งเป็น partner ของ TikTok ได้ทำการสำรวจพบว่าเยาวชนส่วนใหญ่แสดงออกถึงความต้องการข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน และเชื่อถือได้ ตอกย้ำถึงความสำคัญของการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือในโลกโซเชียลมีเดีย”

ผู้บริหาร TIK TOK กล่าวอีกว่า เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น TikTok ได้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานและได้ริเริ่มโครงการ Mindful Makers ในประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข SATI App และเครือข่ายผู้สร้างเนื้อหาเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพกายและใจจาก generation ต่างๆ ที่มีทั้งจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น คุณหมอ และคุณแม่ ซึ่งแน่นอนว่าจะมีส่วนสำคัญในการเชื่อมความเข้าใจระหว่าง generation ด้วยว่าเรื่องสุขภาพจิตมีความละเอียดอ่อนและสามารถจัดการได้เร็วหากเราใส่ใจและให้ความสำคัญกันตั้งแต่แรก ที่ TikTok อยากมอบให้แก่ผู้ใช้งานทุกคนอีกด้วย

ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์

ทางด้าน ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น รองโฆษกกระทรวงสาธารณสุข และ TikTok Safety Advisory Councils กล่าวว่านับตั้งแต่ปี 1990 หรือในช่วง 34ปีที่ผ่านมา ปัญหาสุขภาพจิต เป็นโรคที่ไม่มีแนวโน้มลดลง มีแต่จะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับโรคบางโรคที่มีขึ้นมีลง จากสถิติของโลกพบว่า 1 ใน 8 ของคนมีปัญหาสุขภาพจิต เกิดความสูญเสียจากการฆ่าตัวตายทุก40 วินาทีมีคนฆ่าตัวตายสำเร็จ 1คน ขณะที่สถิติของไทยพบว่า ทุก 9.59 วินาทีมีคนพยายามฆ่าตัวตายและในความพยายาม 5-10 ครั้งจะสำเร็จ 1ครั้ง หรือเท่ากับ 5,500 รายต่อปี คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจเท่ากับ 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ/ปี ดังนั้น จึงต้องมีระบบรองรับปัญหา ซึ่งตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลกระบุว่า ต้องมีจิตแพทย์อัตรา 1.7 ต่อประชากรหนึ่งแสน แต่บ้านเรามีจิตแพทย์สัดส่วน1.25 ต่อประชากรแสนคน ถือว่ายังไม่เพียงพอ  จากประสบการณ์พบว่าสมัยก่อนใน3 จังหวัดอาจมีจิตแพทย์แค่1คนเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้ การใช้สื่อโซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัย จึงมีความสำคัญที่จะรองรับ  การใช้สื่อในเชิงบวกและปลอดภัย สามารถส่งผลดีต่อสุขภาพจิตของคนทุกเพศทุกวัยอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กวัยรุ่น ที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบทางลบต่อจิตใจสูงกว่าวัยอื่น พ่อแม่ ผู้ปกครอง จึงควรมีความรับผิดชอบในการดูแลการเลือกรับชมสื่อของเด็ก รวมถึงครีเอเตอร์ และผู้ผลิตสื่อทุกคนนั้นก็ควรให้ความสำคัญต่อการผลิตคอนเทนต์อย่างมีความรับผิดชอบ สำหรับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่าง TikTok นับว่ามีศักยภาพที่จะเชื่อมต่อคนทั้งประเทศและสร้างประสบการณ์เชิงบวกแก่ผู้ใช้ได้ดี โดยการช่วยกันสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่จะช่วยสร้างการตระหนักรู้เรื่องการดูแลสุขภาพจิตด้วยตัวเอง ตลอดจนถึงการเอาใจใส่คนรอบข้างและคนที่เราพบเจอบนโลกออนไลน์ เพื่อสร้างสังคมออนไลน์ให้เป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยความสุขสำหรับทุกคน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'กรมสุขภาพจิต' ขอความร่วมมือ หลีกเลี่ยง สร้างภาพจาก AI จะเร้าอารมณ์ผู้ที่กำลังโศกเศร้า

เพจ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข โพสต์ข้อความว่า ขอความร่วมมือเขียนข้อความไว้อาลัยอย่างเหมาะสม โดย ”หลีกเลี่ยง“ การวาดภาพประกอบขึ้นมาใหม่หรือสร้างภาพจาก AI

เคาะ 6 ข้อเสนอ แผน 'สุขภาพจิตชุมชน' พร้อมดันสู่วาระชาติ

นายชาญชัย ทองสัมฤทธิ์ ผู้อำนวยสถาบันพัฒนาศักยภาพเพื่อความเท่าเทียมทางสังคม มูลนิธิบุญยง-อรรณพ นิโครธานนท์ ตัวแทนแกนนำขับเคลื่อนโครงการพัฒนาความร่วมมือ

'กรมสุขภาพจิต' ส่งทีมเยียวยาจิตใจ ผู้ประสบอุทกภัยเชียงใหม่-เชียงราย

'กรมสุขภาพจิต' ส่งทีมเยียวยาจิตใจผู้ประสบภัยน้ำท่วม ทั้งเชียงใหม่-ศูนย์พักพิงจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุ ชี้ยิ่งนานยิ่งน่าห่วง

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จับมือ กรมสุขภาพจิต สานพลัง สร้างสรรค์สื่อ เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตสู่สังคม

15 สิงหาคม 2567 กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดย ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้ลงนามความร่วมมือกับ นายแพทย์พงศ์เกษม ไข่มุกด์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต โดยมีผู้บริหาร ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม