รมว.อว. ส่งมอบเรือกู้ภัย Wi-Fi ผลงานความสำเร็จจากภูมิปัญญานักวิชาการไทย อันเกิดจากการบูรณาการทำงานของหน่วยงานในกระทรวง อว. จำนวน 8 ลำ ให้มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย สำหรับใช้ช่วยเหลือประชาชนใน 7 จังหวัด ครอบคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) กล่าวในโอกาสส่งมอบเรือกู้ภัย Wi-Fi ให้มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย โดยมีนาย วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ กรรมการและกรรมการบริหารมูลนิธิฯ เป็นผู้แทนรับมอบ เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2567 ว่า เรือกู้ภัย Wi-Fi เป็นผลงานอันเกิดจากการบูรณาการทำงานร่วมกันอย่างไร้รอยต่อของหน่วยงานในสังกัด อว. คือ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ โดยการสนับสนุนของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ซึ่งเป็นรูปธรรมสะท้อนให้เห็นถึงความ สำเร็จของนวัตกรรมทางเทคโนโลยีจากภูมิปัญญานักวิชาการ ไทยในการจัดการภัยพิบัติ
“เรือกู้ภัย Wi-Fi เป็นเรือที่ต้นทุนไม่สูง การใช้งานไม่ซับซ้อน ดูแลรักษาง่าย และมีคุณลักษณะพิเศษของเรือท้องแบนที่สามารถใช้งานได้ในพื้นที่น้ำตื้น 20-30 เซ็นติเมตร สามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกได้ 40 กิโลกรัม มีการติดตั้งอุปกรณ์เชื่อมโยงสัญญาณ Wi-Fi ในรัศมีไม่เกิน 30 เมตร มีการติดตั้งกล้องวงจรปิด มีแบตเตอรี่ที่สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องกัน 4-6 ชั่วโมง มีอุปกรณ์เก็บประจุไฟฟ้าจากระบบโซลาร์เซลล์ ที่สามารถจ่ายไฟสำหรับการชาร์จโทรศัพท์มือถือได้ 12 เครื่อง พร้อมกับชุดสวิตซ์เซฟตี้ เพื่อความปลอดภัย ตอบโจทย์พี่น้องประชาชนกรณีการใช้ไฟฟ้าช่วงน้ำท่วม ซึ่งมีภาวะติดขัดเรื่องการจำหน่ายไฟฟ้า ให้สามารถสื่อสารกับภายนอกได้”
รมว.อว. กล่าวต่อไปว่า เรือกู้ภัย Wi-Fi เป็นผลงานของ บพท. และมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ที่จะส่งมอบแก่มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย มีจำนวน 8 ลำ สำหรับจัดสรรกระจายยังเครือข่ายเตือนภัยพิบัติชุมชนเพื่อนพึ่ง(ภา) 8 ชุมชนใน 7 จังหวัด เพื่อนำไปใช้บรรเทาความเดือดร้อนแก่พี่น้องประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม ภาคเหนือที่ สุโขทัยและพิษณุโลก จำนวน 2 ลำ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ชัยภูมิและสกลนคร จำนวน 2 ลำ และทางภาคใต้ ที่พัทลุง นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี จำนวน 4 ลำ
โอกาสนี้ ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ บพท. ชี้แจงว่าที่มาของเรือกู้ภัย Wi-Fi เป็นส่วนหนึ่งของโครงการแก้จนเร่งด่วนจากผลกระทบภัยพิบัติในพื้นที่ภาคใต้ โดยบูรณาการร่วมกันของมหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เพื่อดำเนินการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเรื่องภัยพิบัติแก้ไขปัญหาอุทกภัย และฟื้นฟูชีวิตครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
“เรือกู้ภัย Wi-Fi ไม่เพียงประสบความสำเร็จอย่างดีในการช่วยแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้เท่านั้น เมื่อเร็วๆ นี้ยังถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดสุโขทัยอีกด้วย”
ผู้อำนวยการ บพท. อธิบายเพิ่มเติมด้วยว่า เรือกู้ภัย Wi-Fi คือส่วนหนึ่งของผลสัมฤทธิ์ที่ตอบสนองต่อนโยบายของกระทรวง อว. ในการบูรณาการทุกองคาพยพของกระทรวง อว. ทั้งองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไปช่วยเหลือประชาชนให้หลุดพ้นจากภัยพิบัติ เพื่อช่วยให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จิตอาสาร่วมใจ แพ็กของส่งต่อกิจกรรม “หนาวนี้ทำดีเพื่อพ่อ”
วันนี้ (18 พ.ย. 67) นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ ประธานมูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์ ได้ร่วมกับพลโทนายแพทย์อำนาจ บาลี ผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย และจิตอาสาอีกหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ และเอกชน ร่วมกันแพ็กของอุปโภคบริโภคที่จำเป็น ทั้ง ผ้าห่ม เสื้อกันหนาว ชุดวอร์ม น้ำดื่ม วอล์คเกอร์ และของใช้ในชีวิตประจำวัน
มูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์ จับมือภาคีเครือข่ายสนับสนุนกิจกรรม “หนาวนี้ทำดีเพื่อพ่อ 2567” สภากาชาดไทย
วันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ ประธานมูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์ พร้อมด้วยภาคีเครือข่าย นางสาวบุปผา รอดสุด รองปลัดกระทรวงแรงงาน กระทรวงแรงงาน กลุ่มบริษัทไทยสมายล์บัส(TSB) กลุ่มพลังงานบริสุทธิ์(EA) บริษัท ไบ่ ลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด
แห่สมัครสอบ TGAT ใน TCAS 68 กว่า 315,483 คน หลัง 'ศุภมาส' ไฟเขียวให้กระทรวง อว.สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้นักเรียนฟรีทั่วประเทศ
น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากการที่กระทรวง อว. และที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบรายวิชาในระบบ TCAS 68
ไปแอ่วหละปูนกันเต๊อะ ยลมหานครโคมโลก !
ประเด็น "การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล" ในไหล่ทวีป 26,400 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทย-กัมพูชา กลับมาเป็นเรื่องร้อนๆ ที่ถูกพูดถึงทางการเมืองอีกครั้ง