สปสช.ย้ำ การล้างไตทางหน้าท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ (APD) เป็นสิทธิในระบบบัตรทอง ผู้ป่วยใช้สิทธิได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย มีข้อดีคือล้างไตเพียงวันละ 1 ครั้งระหว่างนอนหลับ ทำให้ออกไปใช้ชีวิตช่วงกลางวันได้อย่างสะดวก เล็งเพิ่มหน่วยบริการภาคเอกชนในพื้นที่ กทม. หลังจำนวนผู้ใช้เครื่อง APD ยังมีไม่มากเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นๆ
นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ สปสช. ได้จัดบริการบริการล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ (Automated peritoneal dialysis : APD) มาตั้งแต่ปี 2564 พบว่า แนวโน้มผู้ป่วยที่ล้างไตด้วยเครื่องอัตโนมัติมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จาก 380 รายในปี 2564 เป็น 4,649 ราย ในปี 2567 คิดเป็น 5.26% ของผู้ป่วยล้างไตทางหน้าท้องทั้งหมด
นพ.จเด็จ กล่าวว่า การล้างไตด้วยเครื่อง APD ต่างจากการล้างไตทางหน้าท้องด้วยตัวเอง (CAPD) ตรงที่ CAPD จะมีรอบการล้างเฉลี่ยอยู่ที่ 3-4 รอบ/วัน และต้องเปลี่ยนน้ำยาล้างไตทุก 4-6 ชั่วโมง ส่วนการล้างไตด้วยเครื่อง APD จะล้างเพียง 1 ครั้งต่อวันโดยใช้เวลา 8-12 ชั่วโมง โดยสามารถเปิดให้เครื่องทำงานขณะนอนหลับพักผ่อนในตอนกลางคืน จึงเหมาะกับกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และวัยทำงาน ทำให้ผู้ป่วยสามารถออกไปใช้ชีวิตประจำวันหรือออกไปทำงานในตอนกลางวันถึงช่วงเย็นได้สะดวกและไม่เป็นภาระแก่ครอบครัว รวมถึงผู้สูงอายุที่จะช่วยให้พักผ่อนได้มากขึ้นด้วย
“การล้างไตผ่านช่องท้องด้วยเครื่อง APD เป็นสิทธิประโยชน์ในระบบบัตรทอง ผู้ป่วยสามารถใช้สิทธินี้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ยืมเครื่อง APD ไปใช้ได้ที่บ้าน และมีน้ำยาล้างไตจัดส่งถึงบ้านด้วย ซึ่ง สปสช.มีนโยบายส่งเสริมให้ผู้ป่วยใช้เครื่อง APD เพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้ชีวิต เพราะเป็นการใช้กำลังของเครื่องแทนกำลังของคนในการดันน้ำยาเข้าไปในช่องท้องของผู้ป่วย เพื่อแลกเปลี่ยนน้ำยาล้างไตกับของเสียจากร่างกายได้อย่างอัตโนมัติ ใช้เวลา 8-10 ชั่วโมงต่อครั้ง ทำให้ระบายของเสียได้มาก และยังทำช่วงกลางคืนขณะนอนหลับเพื่อความสะดวก ทำให้ผู้ป่วยออกไปใช้ชีวิตในช่วงเวลากลางวันได้อย่างปกติ ก่อเกิดความสะดวกในการใช้ชีวิตทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล” นพ.จเด็จ กล่าว
ทั้งนี้ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ใช้เครื่อง APD สูงสุดได้แก่ เขต 1 เชียงใหม่ จำนวน 624 ราย รองลงมาเป็น เขต 10 อุบลราชธานี จำนวน 456 ราย เขต 5 ราชบุรี 363 ราย เขต 4 สระบุรี 273 ราย และเขต 8 อุดรธานี 247 ราย อย่างไรก็ดี ในพื้นที่ กทม. พบว่าจำนวนผู้ใช้เครื่อง APD ยังมีไม่มาก สปสช. จึงได้ส่งเสริมให้เกิดหน่วยบริการในพื้นที่ โดยเพิ่มหน่วยบริการภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมให้มากขึ้น โดยล่าสุดได้มีการเปิดตัวศูนย์ล้างไตทางช่องท้อง เคดีเคซี ถือเป็นเอกชนแห่งแรกที่เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านบริการล้างไตผ่านทางช่องท้อง และในอนาคต สปสช. จะขยายจำนวนหน่วยบริการภาคเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมดูแลผู้ป่วยให้มากขึ้น ทั้งนี้ผู้ป่วยสามารถสอบถามจากแพทย์หรือพยาบาลผู้เชี่ยวชาญโรคไตที่ดูแลท่าน หรือ โทร.สายด่วน สปสช. 1330 เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสปสช.ย้ำข้อดีล้างไตด้วยเครื่อง APD ทำแค่วันละครั้ง ใช้ชีวิตได้สะดวกมากขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอเหรียญทอง' แจกแจงแนวคิดจ่ายเงินเอง ราคาบัตรทอง ชี้ช่วยลดความแออัดผู้ป่วยรพ.รัฐ
พล.ต.นพ.เหรียญทอง แน่นหนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า โครงการ 'จ่ายเงินเอง ราคาบัตรทอง แอดมิตไม่ต้องเสียเงิน ทุกเขตทั่วราชอาณาจักรไม่ต้องใช้ใบส่งตัว'
ตีปี๊บ '30 รักษาทุกที่' เต็มรูปแบบ ครอบคลุมทุกพื้นที่ 77 จังหวัดของไทย
รัฐบาล ประกาศ '30 รักษาทุกที่' เต็มรูปแบบ ด้วยโอกาสของคนไทยนับจากนี้ ต้องมีชีวิตดี สุขภาพดี เริ่มแล้วครอบคลุมทุกพื้นที่ 77 จังหวัดของประเทศไทย