ผู้ประกอบการผ้าทอพื้นถิ่นของไทยและช่างทอผ้าสามารถสร้างสรรค์ผลงานโดดเด่นเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ฟันฝ่าเกณฑ์การตัดสินเข้าสู่รอบรองชนะเลิศในการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” และงานหัตถกรรม รอบรองชนะเลิศ (Semi Final) โดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิด พร้อมด้วย น.ส.ธนนนท์ นิรามิษ ภริยา รองนายกฯ โอกาสนี้ นายสยาม ศิริมงคล อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน คณะที่ปรึกษาและคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อุปนายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ร่วมในพิธี ณ ห้องประชุมฟีนิกซ์ 1 – 4 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จ.นนทบุรี เมื่อวันก่อน
คณะกรรมการพิจารณาตัดสินการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” และงานหัตถกรรม รอบรองชนะเลิศ (Semi Final) ประกอบด้วย ธีระพันธ์ วรรณรัตน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (การออกแบบแฟชั่น) ปี 2562 นายมีชัย แต้สุจริยา ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ทอผ้า) ปี 2564 ดร.ศรินดา จามรมาน ที่ปรึกษาโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก นายธนันท์รัฐ ธนเสฏฐการย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทยและที่ปรึกษาโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก นายศิริชัย ทหรานนท์ เจ้าของแบรนด์ THEATRE ผศ.ดร.อนุชา ทีรคานนท์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายพลพัฒน์ อัศวะประภา นักออกแบบเจ้าของแบรนด์ ASAVA นายภูภวิศ กฤตพลนารา นักออกแบบเจ้าของแบรนด์ ISSUE ดร.กรกลด คำสุข รองคณบดีฝ่ายวิชาการและ รษก.แทนผู้อำนวยการสำนักวิชาการสร้างสรรค์ และ ผศ.ดร.รวิเทพ มุสิกะปาน อาจารย์ประจำหลักสูตรแฟชั่นสิ่งทอและเครื่องตกแต่ง วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นายนุวัฒน์ พรมจันทึก ผู้เชี่ยวชาญด้านการย้อมสีธรรมชาติ น.ส.เจนสุดา ปานโต นักออกแบบเจ้าของแบรนด์ JANESUDA
เวทีประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” และงานหัตถกรรม ตามโครงการส่งเสริมภูมิปัญญาและพัฒนาศักยภาพผ้าไทยและงานหัตถกรรม ประจำปี 2567 ในระหว่างวันที่ 24 สิงหาคมถึงวันที่ 21 กันยายน 2567 จัดโดยกรมการพัฒนาชุมชน โดยมีผู้ประกอบการโอทอป ช่างทอผ้า ช่างหัตถกรรม ส่งผลงานเข้าประกวด รอบตัดสิน ระดับภาค (Quarter Final) จากทั่วประเทศ 8,117 ผืน และงานหัตถกรรม 534 ชิ้นงาน คัดเลือกเหลือประเภทผ้า 334 ผืน และประเภทงานหัตถกรรม 21 ชิ้น และรอบรองชนะเลิศ ระดับประเทศ (Semi Final) คัดเลือกเหลือประเภทผ้า 175 ผืน และ ประเภทงานหัตถกรรม เหลือ 10 ชิ้น
ผลงานที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่รอบตัดสิน ระดับประเทศ (Final) ประเภทผ้า 72 ผืน และประเภทงานหัตถกรรม 6 ชิ้น ดังนี้ 1. ภาคกลาง ประเภทผ้า 9 ชิ้น ประเภทงานหัตถกรรม 4 ชิ้น 2. ภาคเหนือ ประเภทผ้า 13 ชิ้น ประเภทงานหัตถกรรม 1 ชิ้น 3. ภาคใต้ ประเภทผ้า 9 ชิ้น ประเภทงานหัตถกรรม 1 ชิ้น 4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเภทผ้า 41 ชิ้น รวมทั้งสิ้น 78 ผลงาน
นายอนุทิน ชาญวีรกูล กล่าวว่า นับเป็นพระกรุณาธิคุณต่อช่างทอผ้าและงานหัตถกรรมที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงออกแบบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” ซึ่งมีความหมายแสดงออกอย่างชัดเจนว่า พระองค์ท่านและพสกนิกรไทยต่างมีความจงรักภักดีที่จะถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และทรงพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” ให้เป็นต้นแบบแก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ช่างทอผ้า และงานหัตถกรรม ได้พัฒนาฝีมือการทอผ้าในทุกเทคนิค ให้มีคุณภาพ มีความหลากหลาย และประยุกต์รูปแบบลวดลายสีสันที่ร่วมสมัย โดยนำสิ่งรอบตัวจากธรรมชาติมาผสมผสาน แต่ยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น นอกจากนี้ พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการใช้สีธรรมชาติ การส่งเสริมเรื่องการตลาดในการเพิ่มเรื่องเล่า Story -2- Telling การพัฒนารูปแบบ Packaging และการใช้วัสดุจากท้องถิ่น การใช้เส้นไหมเส้นฝ้ายที่มาจากธรรมชาติ ด้วยพระอัจฉริยภาพดังกล่าวเกิดเป็น Sustainable Fashion หรือ “แฟชั่นแห่งความยั่งยืน”
นายอนุทิน กล่าวต่อว่า มท. โดยกรมการพัฒนาชุมชน ดำเนินการจัดการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” และงานหัตถกรรม ประจำปี พ.ศ. 2567 ตามแนวพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” มุ่งส่งเสริมให้คนไทยทุกคนได้สวมใส่ผ้าไทยในหลากหลายรูปแบบ มีความทันสมัยสู่สากล เป็นที่นิยมในทุกเพศ ทุกวัย ทุกโอกาส ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายผ่านการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” และงานหัตถกรรม ตลอดทั้งเพื่อเชิดชูเกียรติแก่ผู้สืบทอดภูมิปัญญาผ้าไทย และงานหัตถกรรมที่ทุ่มเทกำลังและความคิดเพื่อนำลายผ้าพระราชทานมาออกแบบควบคู่กับลวดลายดั้งเดิมและลวดลายที่เกิดจากการสร้างสรรค์ชิ้นงานจากวิธีคิดและจินตนาการอันสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการและช่างทอผ้าจนเกิดเป็นผลงานทรงคุณค่าระดับประเทศ
ทั้งนี้ ผลงานที่ผ่านการคัดเลือกจะเข้าไปชิงชัยในรอบตัดสิน ระดับประเทศ ( Final ) ในวันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2567 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จเป็นองค์ประธานในการตัดสิน ณ สุราลัย ฮอลล์ ไอคอนสยาม กรุงเทพฯ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'มท.หนู' ลั่นมหาดไทยยุคนี้ ไร้อำนาจเก่าไม่แตกแถว ผู้ว่าฯ ทำงานเกียร์ 10
'มท.หนู' ลั่นมหาดไทยยุคนี้ไม่แตกแถว ไร้ปัญหาฝ่ายการเมืองปะทะขรก.ประจำ ยันผู้ว่าฯ เข้าเกียร์ 10 ชี้ใครไม่สนองงานชาวบ้าน มีวิธีจัดการร้อยแปดพันเก้า
‘อนุทิน’ ยันไม่ประเมินผลงานนายกอิ๊งค์ ย้ำสามัคคีทำงานดี
“อนุทิน” ยัน รัฐบาลแพทองธาร สามัคคีทำงานได้ดี - ออกตัวไม่ขอประเมินผลงาน “นายกฯอิ๊งค์” แต่ยกภาวะผู้นำสูง ย้ำปรับ ครม.เป็นอำนาจผู้นำปท.แต่ ”ภูมิใจไทย“ ยืนยันโควตาเดิม ลั่นปีหน้าพร้อมผลักดันภารกิจกระทรวงมหาดไทย ปราบผู้มีอิทธิพล - แก้ยาเสพติด- เพิ่มมิติป้องกันภัยพิบัติหลังลดงบเยียวยาพุ่งสูง
'อนุทิน' ขอบคุณสื่อตั้งฉายา ภูมิใจทำประโยชน์บ้านเมือง ปัดขวางใคร อุ้ม 2 รมต.โลกลืม
'อนุทิน' น้อมรับฉายาสื่อทำเนียบฯ ลั่นภูมิใจทำประโยชน์ให้บ้านเมือง ไม่ได้คิดขวางใคร อวย 'แพทองธาร' ตั้งใจทำงาน แจงแทน 2 รมต.โลกลืม 'เพิ่มพูน' พูดน้อยแต่ผลงานอื้อ
'รัฐบาลพ่อเลี้ยง' ฉายารัฐบาลปี67 นายกฯ'แพทองโพย' อนุทิน'ภูมิใจขวาง' วาทะแห่งปี'สามีเป็นคนใต้'
สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายาปี 67 'รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง' ส่วนฉายานายกฯ 'แพทองโพย' 7 รมต.ติดโผ 'บิ๊กอ้วน-อนุทิน-ทวี' พ่วง 3 รมต.โลกลืม
'อนุทิน-เนวิน' ใช้สิทธิเลือกตั้งเทศบาลบุรีรัมย์ ยันไม่ส่งคนลงแข่ง อบจ.ทุกจังหวัด
“อนุทิน-เนวิน” ใช้สิทธิเลือกตั้ง ทน.บุรีรัมย์ ยันไม่ส่งคนลงแข่ง อบจ.ทุกจังหวัดในนามพรรค ชี้ความรุนแรงที่ปราจีน เป็นความขัดแย้งส่วนตัว
'อนุทิน' สวนเพื่อไทย! จุดยืน 'ภท.' ไม่เอาด้วย กม.สกัดปฏิวัติ
'อนุทิน' ย้ำจุดยืนภูมิใจไทย ไม่เอาด้วยกฎหมายสกัดปฏิวัติ ชี้นักการเมืองอย่าสร้างเงื่อนไข ทำตัวให้ดีอย่าขึ้โกง ชงกฎหมายแค่สัญลักษณ์ ถึงเวลารัฐธรรมนูญโดนฉีกอยู่ดี