'จุฬาฯ' แม้เป็นมหา'ลัย แต่ยังตระหนักปรับตัวรับโลกเปลี่ยนแปลง จับมือLinkedIn พัฒนาทักษะบุคลากร

บุคลากรของจุฬาฯ ใช้แพลตฟอร์ม LinkedIn ในการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ 

ปัจจุบันหลายองค์กรหันมาให้ความสนใจกับการพัฒนาทักษะใหม่ๆ ให้กับบุคลากรมากขึ้น เพราะบุคลากรถือเป็นทรัพยากร ที่มีคุณค่า ในการขับเคลื่อนงานในแต่ละส่วนให้เป็นไปอย่างราบรื่น นอกจากจะต้องมี Hard Skills คือ ทักษะหรือความสามารถที่ใช้ในการทำงานเฉพาะในแต่ละสายอาชีพ อาจจะต้องเพิ่ม Soft Skills คือ ทักษะหรือความสามารถเฉพาะบุคคล เช่น ความคิดสร้างสรรค์ การเป็นผู้นำ การบริหารเวลา มนุษยสัมพันธ์ การปรับตัว การควบคุมอารมณ์ หรือทักษะที่มีความจำเป็นต่อเทรนด์การทำงานในยุคนี้ ไม่ว่าจะเป็น AI Skill,  Digital Marketing, Content Creator  หรือการเรียนรู้ตลอดชีวิต  Meta Skill ความสามารถในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลง และพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลา  เป็นต้น

โดยผลสำรวจของ World Economic Forum(WEF) ระบุว่า คนทำงานกว่า 50% ยังขาดทักษะที่จำเป็นในช่วงปี 2020-2025 ในกลุ่มทักษะการคิดและการแก้ปัญหา, ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น, ทักษะการจัดการอารมณ์และบริหารตน และทักษะทางด้านเทคโนโลยี ที่คนวัยทำงานจำเป็นต้องมีการปรับตัวและพัฒนาทักษะเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร และรองรับความเสี่ยงในการตกงานหรือว่างงานที่มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้น เนื่องจากส่วนใหญ่คนวัยทำงานที่ยังยึดติดกับทักษะการทำงานแบบเดิมอาจจะไม่ตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันและในอนาคตข้างหน้า

ดังนั้นเพื่อให้บุคลากรที่ทำงานอยู่เกิดการพัฒนาตนเอง องค์กรจึงมีการ Reskill เพื่อพัฒนาเพื่อยกระดับทักษะเดิมให้ดีขึ้นเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต Upskill การเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ต้องนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงาน และNewskill พัฒนาทักษะทางด้านดิจิทัล หรือทำงานร่วมกับ AI และโซเชียลมีเดียต่างๆ ซึ่งการเรียนรู้ทักษะที่กล่าวข้างต้นมีหลายแพลตฟอร์มที่ได้พัฒนาเป็นหลักสูตรในการเรียนรู้เพื่อให้ผู้ที่ต้องการเรียนรู้เข้าถึงได้ง่ายและทันกับเทรนด์การทำงานในยุคนี้

พิธีลงนามความร่วมมือ ระหว่างจุฬาฯ และ LinkedIn

 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายในยุคดิจิทัล  จึงได้ลงนามความร่วมมือกับบริษัทลิงค์อิน คอร์ปอเรชั่น (LinkedIn) ได้พัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ LinkedIn Learning ซึ่งมีบทเรียนที่ครอบคลุมหลากหลายด้าน ตั้งแต่ทักษะทางเทคนิค จนถึงทักษะด้านการบริหารงานและการพัฒนาตนเอง เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรของจุฬาฯ สามารถพัฒนาความรู้และทักษะผ่านคอร์สออนไลน์ต่าง ๆ

โดยแพลตฟอร์ม LinkedIn Learning มีเนื้อหาที่ได้รับการออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ให้แก่บุคลากรทั้งในด้านวิชาการ การบริหารจัดการ และทักษะที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพที่สามารถปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร

ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ  กล่าวว่า ทักษะในอนาคต สำคัญกับการพัฒนาบุคลากรในจุฬาฯ กว่า 1,000 คน เพราะการทำงานให้เกิดคุณภาพไม่เพียงแค่การมีความรู้เท่านั้น แต่ต้องมีทักษะและความสามารถคงบคู่กับการใช้เทคโนโลยี AI ดังนั้นการร่วมมือกับ LinkedIn จึงเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน ไม่ใช่พัฒนาคุณภาพการทำงาน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทักษะการใช้ชีวิตหรือ Soft Skills ไม่ว่าบุคลากรจะอยู่ที่ไหน ก็สามารถที่จะเรียนรู้ได้อย่างไม่จำกัดผ่านโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์ที่บุคลากรมี เพื่อให้เข้าถึงคลังความรู้ ทำให้เกิดทักษะที่จำเป็นต่อบุคลากร และช่วยให้บุคลากรที่อาจจะมีมุมมองไม่ต้องการพัฒนาทักษะ เพราะมีความคุ้นเคยหรือไม่มีปัญหาต่อการใช้ทักษะเดิมๆ ดังนั้นต้องชี้ให้เห็นถึงประโยชน์และลองที่จะเรียนรู้การพัฒนาทักษะใหม่ๆ และเกิดความต่อเนื่องในการกระตุ้นการเรียนรู้ในทักษะอื่นๆ เพิ่มมากขึ้นมากขึ้น

ทรเศรษฐ์ หนุนภักดี

ด้านภัทรเศรษฐ์ หนุนภักดี Country Lead of LinkedIn Thailand กล่าวว่า  LinkedIn เป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยในการหางาน แต่สิ่งที่จะช่วยให้สมาชิกบนแพลตฟอร์มได้งานที่ตอบโจทย์ต่อความต้องการของตนเองและบริษัท จึงได้มีการเสริมคอร์สการเรียนรู้ทักษะต่างๆ ที่จำเป็นต่อความต้องการของตลาดแบบออนไลน์ เพื่อช่วยพัฒนาทักศะสมาชิกให้มีเพิ่มมากยิ่งขึ้น เพราะนอกจาก AI Skill ที่หลายคนให้ความสนใจ ยังมี Green Skill เป็นอีกทักษะที่หลายองค์กรมีความต้องการบุคลกรทักษะนี้ เพราะปัจจุบันภาวะโลกร้อนและสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจและการลงทุน  ดังนั้น LinkedIn จึงการจับตาดูเทรนด์การทำงานทั่วโลกอยู่เสมอว่ามีความต้องการบุคลากรทักษะแบบไหนในตำแหน่งใดมากที่สุด และนำมา ผลิตมาเป็นคอร์สสอนออนไลน์  อย่างงานเกี่ยวข้องกับ AI  ต้องมีทักษะด้าน  Data Scientist หรือ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ก็ต้องสร้างคอร์สที่ตรงกับการเรียนรู้ที่มีตั้งแต่ขั้นพื้นฐานไปจนถึงระดับสูง

ภัทรเศรษฐ์ กล่าวต่อว่า ดังนั้นการร่วมมือกับจุฬาฯ มีความสำคัญอย่างมากในเรื่อง Reskill และ Upskill  เพราะทักษะต่างๆ มีการเปลี่ยนไปค่อนข้างเร็ว เช่น AI เข้ามามีผลกับทุกคน ดังนั้นทักษะที่มีอยู่ในวันนี้ ในอนาคตก็อาจจะเปลี่ยนไป อาจ จะถูกทดแทนด้วยทักษะใหม่ๆอีก  ในการทำงานหากบุคลากรไม่สนใจศึกษาหรือเรียนรู้ทักษะอื่นๆ เพื่อเพิ่มทักษะจากที่มีอยู่  อาจจะมีความเสี่ยงในเรื่องของการตกงานหรือหางานยากขึ้น

“การให้บริการคอร์สเรียนกับทางบุคลากรจุฬาฯ เป็นเหมือน Carrier Learning Development Platform ที่เปิดโอกาสโลกของการเรียนรู้ในทักษะที่สนใจ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการเรียนรู้ โดยมี AI ทำหน้าที่เป็นโค้ชในการวิเคราะห์และประเมินทักษะของบุคลากรแต่ละคน เพื่อจัดสรรคอร์สที่เหมาะสมให้ตรงกับทักษะที่มีอยู่ และนักศึกษาก็สามารถเข้าไปใช้งาน เพื่อช่วยเสริมการเรียนรู้จากหลักสูตรในห้องเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมให้มีทักษะที่จำเป็นต่อความต้องการของตลาดแรงงาน” ภัทรเศรษฐ์ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จุฬาฯ จับมือกรม Climate Change และเครือข่ายพันธมิตรภาคเอกชน เปิดตัวหลักสูตร “TOP Green” หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้าน Sustainability

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม หอการค้าไทย และสภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ UN Global Compact Network Thailand

จุฬาฯ “เปิดแพลตฟอร์ม ฝ่าพิบัติ: Digital War Room” นวัตกรรมเตือนพื้นที่น้ำท่วมและแนวดินถล่มจากอุทกภัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงานเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 25 เรื่อง “แพลตฟอร์มจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ: Digital War Room” เพื่อนำเสนอนวัตกรรมจากคณาจารย์นักวิจัยจุฬาฯ

จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย Top ของประเทศ 3 ด้าน จากการจัดอันดับโดย THE WUR 2025

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของไทย จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกโดย The Times Higher Education World University Rankings 2025 (THE WUR 2025) จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลกที่ได้รับการจัดอันดับกว่า 2,000 แห่ง กว่า 115 ประเทศ

นักวิจัยด้านกุ้ง จาก จุฬาฯ - สวทช. คว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี 2567

นักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาวิจัยที่มีผลประโยชน์สูงต่อการเลี้ยงกุ้ง จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สวทช. คว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2567 ขณะที่