'ธนาคารอาหาร' โมเดลแก้'วิกฤติขยะอาหาร 'สู่มื้อสำคัญกลุ่มเปราะบาง  

โมเดลการจัดทำธนาคารอาหารไทยในอนาคต

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับวิกฤตขยะอาหาร   เนื่องจากมีอาหารส่วนเกิน ทั้งอาหารปรุงสุกแล้ว หรือวัตถุดิบที่ถูกผลิตและซื้อเกินความต้องการ แต่ส่วนใหญ่มักจะถูกทิ้งแม้จะยังสามารถกินได้ มากถึงเกือบ 4 ล้านตันต่อปี สอดคล้องกับรายงานในปี 2564 พบว่ามีปริมาณขยะอาหารที่เกิดขึ้นอยู่ถึง 9.68 ล้านตัน สวนทางกับสถานการณ์ขาดแคลนอาหารของ ประเทศที่มีรายได้น้อยและมีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาการเข้าถึงอาหารมากถึง 3.8 ล้านคน /ปี

ดังนั้นการปิดช่องโหวของอาหารส่วนเกินเพื่อไม่ให้ปลายทางกลายเป็นขยะอาหาร โมเดลการจัดทำ “ธนาคารอาหาร” หรือ Food Bank อาจจะช่วยสร้างแรงกระเพื่อมให้คนหันตระหนักถึงคุณค่าของอาหารที่สามารถสร้างให้เกิดคุณค่าและประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์และโลกใบนี้ได้ ทางกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงได้จัดเสวนาแนวทางการขับเคลื่อนการบริหารจัดการอาหารส่วนเกินอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งธนาคารอาหารของประเทศไทย (Thailand’s Food Bank) ร่วมกับมูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (SOS) และหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ดำเนินการศึกษาและวิจัยเชิงนโยบายเพื่อสร้างต้นแบบการดำเนินงานเพื่อบริหารจัดการอาหารส่วนเกิน (Food surplus) ของประเทศไทย

ดร.ปัทมาพร ประชุมรัตน์

ดร.ปัทมาพร ประชุมรัตน์ นักวิจัยนโยบาย สวทช. ในฐานะหัวหน้าโครงการการจัดตั้งธนาคารอาหารของประเทศไทย กล่าวว่า ในเป้าหมายของ SDGs มีการระบุไว้ชัดเจนในเรื่องของความมั่นคงทางอาหารอยู่ 2 เป้าหมายคือ เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน โดยการเข้าถึงอาหารที่มีโภชนาการครบถ้วนยังเป็นความท้าทายที่สำคัญ ความชุกของภาวะขาดสารอาหาร ในปี 2561 มีสัดส่วนฯ อยู่ที่ร้อยละ 9.3 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.6 ในปี 2559 และเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปีที่มีภาวะเตี้ย ผอม และน้ำหนักเกิน ซึ่งเพิ่มขึ้นในปี 2563 เมื่อเทียบกับปี 2559 และเป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ซึ่งต้องมีการตั้งเป้าลดอาหารขยะ(Food waste) ของโลกลงครึ่งหนึ่งในระดับค้าปลีกและผู้บริโภค และลดการสูญเสียอาหาร (Food loss) ตลอดการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว ภายในปี พ.ศ. 2573 ความท้าทายสำคัญด้านการสูญเสียและขยะอาหาร โดยคาดการณ์ว่าประเทศไทยมีปริมาณขยะอาหารประมาณ 78.69 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศรายได้ปานกลางระดับสูง

อาหารส่วนเกิน ที่มีคุณภาพ สู่การบริจาคให้กลุ่มเปราะบาง

“โดยสหรัฐอเมริกาได้ออกโมเดลการจัดการอาหารส่วนเกินในประเทศ ได้แก่ 1.การลดปริมาณอาหารจากการผลิต 2.บริจาคอาหารส่วนเกินให้กับธนาคารอาหาร โรงทาน และสถานสงเคราะห์ 3.ทำเป็นอาหารสัตว์ 4.แปรรูปเป็นพลังงานหรือเชื้อเพลิง 5.ทำปุ๋ยหมัก 6.การฝังกลบหรือเผาซึ่งเป็นทางเลือกสุดท้ายในการกำจัด หากมีวิธีการจัดการตั้งแต่ข้อ 1 ผลที่ตามอาจทำให้อาหารไม่เพียงพอ ดังนั้นในมุมมองของห่วงโซ่อาหารตั้งแต่ต้นน้ำ คือ ผู้เพาะปลูกไปจนถึงปลายน้ำ คือ ผู้บริโภค สามารถที่จะเกิดการปฏิบัติในข้อ 2 ได้  คือ การบริจาคอาหารส่วนเกินที่มีคุณภาพและความปลอดภัยสำหรับมนุษย์บริโภคได้ (Food surplus ) ที่มาจากอาหารที่สูญเสียระหว่างการผลิต(Food loss) ในกระบวนการเก็บเกี่ยว การแปรรูป และอาหารขยะ(Food waste) ที่เกิดจากกระบวนการกระจายสินค้า ร้านค้าปลีก/ห้างสรรพสินค้า และผู้บริโภค” หัวหน้าโครการฯ กล่าว

โครงสร้างสำคัญการจัดตั้งธนาคารอาหารไทย

ดังนั้น  การจัดตั้งธนาคารอาหารของประเทศไทย (Thailand’s Food Bank) จึงเป็นการสร้างแบบจำลองการส่งต่ออาหารส่วนเกินให้สังคมไทย ผ่านการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารส่วนเกิน การกอบกู้อาหาร และการส่งต่ออาหารส่วนเกิน เพื่อช่วยลดการเกิดขยะอาหาร และสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับประเทศ โดยมีโครงสร้าง ประกอบด้วย 1.ผู้ผลิตอาหาร ได้แก่ ผู้ประกอบการผลิตอาหาร ห้างสรรพสินค้า/ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร/ภัตตาคาร โรงแรม ร้านอาหาร Fast Food 2.ตัวกลางผู้บริจาคอาหาร ได้แก่ มูลนิธิ Scholars of Sustenance Foundation (SOS) มูลนิธิ vv share วัด หรือมูลนิธิอื่นๆ 3. ผู้รับบริจาค หัวหน้าชุมชน อพม/อสม./อสส. โรงเรียน และผู้ประสานงานรับบริจาค เพราะในกลุ่มผู้ที่ต้องการอาหาร โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง หรือกลุ่มประชากรแฝงงผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ที่มีเป็นจำนวนมาก

หัวหน้าโครการฯ กล่าวต่อว่า อาหารที่ได้รับการบริจาคต้องมีความปลอดภัยต่อผู้รับ จึงได้มีการจัดทำ Food safety guideline สำหรับอาหารบริจาคร่วมกับหน่วยงาน กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมอนามัย และมูลนิธิ SOS โดยมีข้อกำหนดและแนวทางการตรวจสอบอาหารปลอดภัยและการทำสัญญากับผู้รับบริจาค เช่น รายละเอียดการเก็บรักษาและวันที่ควรบริโภคอาการแต่ละชนิด หรือหากพบว่ามีการนำอาหารบริจาคไปจำหน่ายเพื่อก่อให้รายได้ส่วนตัว จะยกเลิกสัญญาโดยทันที เป็นต้น

สำหรับความท้าทายของการทำธนาคารอาหารในประเทศไทย หัวหน้าโครการฯ  กล่าวว่า  ปัจจุบันมูลนิธิ SOS ในระยะเวลากว่า  8 ปีที่ผ่านมา ได้ดำเนินการใน  4 จังหวัดของประเทศไทย ได้แก่ กรุงเทพฯ ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต เชียงใหม่ และพื้นที่แถบชายแดน กว่า 3,600 ชุมชน ปริมาณอาหารที่ส่งต่อไปแล้ว 8 ล้านกิโลกรัม เทียบเท่า 34 ล้านมื้อ ลดก๊าซคาร์บอนได้ประมาณ 20,600 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยได้อาหารส่วนเกินจากผู้บริจาคกว่า 1,200 สถานประกอบการ อาจจะเป็นตัวเลขที่ดูน้อย แต่เนื่องจากจำนวนบุคลากรที่ไม่เพียงพอต่อการขยายพื้นที่ไปยังจังหวัดอื่นๆ จึงเป็นเป้าหมายของ สวทช.ที่จะเร่งนำองค์ความรู้ด้านการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาเชื่อมโยงไปสู่จังหวัดอื่นๆ โดยภายใน 2 ปี ตั้งเป้าไว้ที่ 20 จังหวัด และอาจจะสร้างการมีส่วนร่วมหากผู้ประกอบการต้องการบริจาคด้วยการลดหย่อยภาษี หรือการขายคาร์บอนจาก Food Bank ในประเทศไทย ที่เกิดขึ้นจริงแล้วในประเทศเม็กซิโก ซี่งจะช่วยพลิกโฉมการดำเนินงาน Food Bank จากเดิมในรูปแบบการกุศล เป็นการขายคาร์บอนเครดิตได้ ซึ่งในส่วนนี้ยังต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบ (audit) ที่จะเกิดขึ้นด้วย

ตัวอย่างชุดคัดกรองการเสื่อมเสียของอาหาร

ด้าน ดร. นิภา โชคสัจจะวาที  นักวิจัยอาวุโสและคณะผู้วิจัย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) กล่าวเสริมว่า ทีมวิจัยได้จัดทำแนวปฏิบัติอาหารปลอดภัยสำหรับอาหารบริจาค (Food Safety Guideline) ที่มีแนวทางปฏิบัติตั้งแต่ขั้นตอนการรับอาหาร การเก็บรักษาอาหาร การขนส่ง การแจกจ่ายอาหาร หลักปฏิบัติสำหรับผู้สัมผัสอาหาร เช่น การแช่แข็งอาหารส่วนเกินและติดฉลากใหม่ การระบุวันที่และระยะเวลาที่แนะนำ ข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายและการควบคุมอันตราย เช่น สารเคมี สารก่อภูมิแพ้ หลักปฏิบัติในการเตรียมอาหาร เช่น การทำละลายอาหารแช่แข็ง การทำให้สุก ทำให้เย็น อุ่นร้อน การรักษาความปลอดภัยอาหารระหว่างขนส่ง และการพัฒนาชุดคัดกรองการเสื่อมเสียของอาหาร โดยขณะผู้ใช้คือตัวกลางในการตรวจสอบ โดยหยดน้ำยาวัดกิจกรรมของเซลล์  เพื่อวัดจุรินทรีย์ในอาหาร  ใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที หากสีเปลี่ยนแสดงว่าอาหารเสีย เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับข้อกำหนดด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย เพื่อให้อาหารที่แจกจ่ายยังคงมีความปลอดภัยและเหมาะสมต่อการบริโภค ช่วยให้เกิดความมั่นใจทั้งต่อผู้บริจาคและผู้รับบริจาครวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้เกิดการบริจาคอาหารในวงกว้างมากยิ่งขึ้น

การใช้งานแพลตฟอร์มเพื่อขนส่งอาหารบริจาค

ด้าน ดร.นันทพร รติสุนทร ทีมวิจัยการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) กล่าวว่า ได้ออกแบบและพัฒนาแพลตฟอร์มแนะนำการจับคู่ความต้องการและอาหารบริจาคแบบอัตโนมัติ โดยเป็นเครื่องมือดิจิทัลเพื่อบริหารจัดการอาหารส่วนเกินอย่างมีประสิทธิภาพอัตโนมัติ สามารถนำไปเชื่อมต่อกับระบบ Cloud Food Bank มีมูลนิธิ SOS และองค์กรพันธมิตรเครือข่ายเป็นผู้ใช้งาน โดยแพลตฟอร์มสามารถนำเสนอและแนะนำตัวเลือกการจัดสรรอาหารบริจาคพร้อมตารางเส้นทางการรับส่งอาหารในรัศมี 5 กิโลเมตร จากจุดรับบริจาคไปยังชุมชนต่างๆ  เพื่อลดความเสียหายของอาหาร และสามารถกระจายอาหารบริจาคได้ตามเงื่อนไขและข้อจำกัดต่าง ๆ อีกทั้งช่วยลดภาระงานและสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ดูแลระบบได้ดีขึ้น ทั้งนี้ แพลตฟอร์มดิจิทัลดังกล่าว ล่าสุดทางเนคเทคได้ขยายการใช้งานโดยอยู่ระหว่างหารือความร่วมมือกับ BKK Food Bank ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อนำไปสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการด้วย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อดีตสว.' เตือนแจกเงินหมื่นภาษีคนไทยทุกคนแบกหนี้ จี้ยกเลิกส่วนที่เหลือก่อนล้มละลาย

นายสมชาย แสวงการ อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.)โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า แจกเงินหมื่น #ภาษีของคนไทยทุกคน รัฐบาล สส นักการเมืองอย่าริฉวยเอาหน้า

ตำรวจฮึ่ม! จัดหนักเจ้าหนี้นอกระบบข่มขู่ 'กลุ่มเปราะบาง' หลังได้เงินหมื่นบาท

พล.ต.ท.อัคราเดช พิมลศรี ผู้ช่วย ผบ.ตร./รอง ผอ.ศปน.ตร. มีหนังสือคำสั่งวิทยุในราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ด่วนที่สุด

แจกเงินหมื่น 4.5 ล้านคนวันที่สองจบตั้งแต่ตี 4

'คลัง' เผยโอนเงินให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 4.5 ล้านคน เรียบร้อยตั้งแต่ตี 4 วันนี้ ส่งเงินถึงมือกลุ่มเปราะบาง เพิ่มเม็ดเงินในระบบ กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก

'ภูมิธรรม' ลั่นคนได้เงินหมื่นจะเอาไปใช้อะไรก็ได้เป็นสิทธิส่วนบุคคล

'ภูมิธรรม' ระบุคนได้เงินหมื่น เอาไปใช้หนี้นอกระบบถือเป็นสิทธิบุคคล ลั่นเฟสต่อไปมีแน่แต่ขอรอบแรกจบก่อน ไม่กังวลคนขู่ร้องซื้อเสียง

'จุลพันธ์' รับดิจิทัลวอลเล็ต เฟส 2 ไม่ทันปีนี้ ไม่ยืนยันทันไตรมาสแรกปีหน้าหรือไม่

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ถึงการเตรียมแจกเงินดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาทให้แก่กลุ่มเปราะบางในวันที่ 25 กันยายน วันแรกว่า เนื่องจากระบบการโอนผ่านพร้อมเพย์มีข้อจำกัด