ปัญหาความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ และรุนแรงกว่าอดีต เป็นปรากฎการณ์ที่ผู้คนปัจจุบันกำลังเผชิญ ล่าสุด ภัยน้ำท่วมและดินถล่มที่เกิดจากพายุไต้ฝุ่นยางิได้สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงในประเทศเวียดนาม เมียนมา ลาว และไทย ซึ่งในกลุ่มเด็กและเยวชน องค์อากรยูนิเซฟเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เก็บข้อมูล พร้อมทั้งประเมินว่า ส่งผลกระทำทำให้เด็กเกือบ 6 ล้านคน ในภูมิภาคนี้ ได้รับผลกระทบในการเข้าถึงน้ำสะอาด การศึกษา การรักษาพยาบาล อาหาร และที่พักพิง ซึ่งทำให้ชุมชนที่ยากจนอยู่แล้วต้องเผชิญกับวิกฤตที่หนักขึ้น
นางจูน คูนูกิ ผู้อำนวยการยูนิเซฟประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก กล่าวว่า เด็กและครอบครัวกลุ่มเปราะบางต้องเจอกับผลกระทบที่หนักที่สุดจากพายุไต้ฝุ่นยางิ ความสำคัญเร่งด่วนตอนนี้คือการฟื้นฟูบริการพื้นฐาน เช่น น้ำสะอาด การศึกษา และการรักษาพยาบาล สภาพอากาศที่รุนแรงขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นสิ่งที่ตอกย้ำว่า เมื่อเกิดภัยพิบัติ เด็กกลุ่มเปราะบางมักเป็นผู้ได้รับผลกระทบมากที่สุด
พายุไต้ฝุ่นยางิ ซึ่งเป็นพายุที่รุนแรงที่สุดในภูมิภาคเอเชียปีนี้ ทำให้ฤดูฝนมีปริมาณฝนตกหนักยิ่งขึ้น ส่งผลให้แม่น้ำล้นตลิ่งและเกิดดินถล่มรุนแรง ขณะนี้การประเมินความเสียหาย พบว่า โรงเรียนกว่า 850 แห่งและศูนย์สุขภาพมากกว่า 550 แห่งถูกทำลาย โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม
ในเวียดนาม ซึ่งได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากไต้ฝุ่นยางิ ประชาชนประมาณ 3 ล้านคน รวมถึงเด็กจำนวนมาก ขาดน้ำดื่มที่ปลอดภัยและสุขอนามัยที่ดี ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรค เด็กประมาณ 2 ล้านคนยังไม่สามารถเข้าถึงการศึกษา การดูแลด้านจิตใจ และโครงการอาหารกลางวันที่โรงเรียนได้
ในเมียนมา ความไม่สงบและผลกระทบร้ายแรงจากพายุไต้ฝุ่นยางิทำให้ชุมชนที่ต้องพลัดถิ่นจากความขัดแย้งอยู่แล้วต้องเผชิญกับวิกฤตที่เลวร้ายลง มีรายงานผู้เสียชีวิตกว่า 170 ราย และประชาชนกว่า 320,000 คนต้องอพยพ ขณะที่โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน การสื่อสาร และไฟฟ้าได้รับความเสียหายอย่างหนักในพื้นที่ภาคกลางของเมียนมา
ในภาคเหนือของประเทศไทย ฝนตกหนักและน้ำท่วมได้สร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนของเด็กเกือบ 64,000 คน และส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็ก โดยโรงเรียนบางแห่งได้รับความเสียหายทั้งหมดและครูต้องใช้วิธีการเรียนการสอนออนไลน์และจัดส่งสื่อการเรียนให้กับนักเรียนที่บ้าน ในขณะที่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ยูนิเซฟ ประเทศไทย ได้ปล่อย แคมเปญ #CountMeIn โลกรวน เด็กเดือดร้อน รับฟังเสียงเด็ก เพื่อสร้างความตระหนักถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อเด็กและเยาวชน โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญในการรับฟังเสียงของเด็กและเยาวชนเมื่อโลกเผชิญกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ
ใน สปป.ลาว น้ำท่วมรุนแรงใน 8 จังหวัด ส่งผลกระทบต่อเด็กประมาณ 60,000 คน โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญได้รับความเสียหาย รวมถึงวิถีชีวิตของชุมชนทีได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอยู่ก่อนหน้าแล้ว
ยูนิเซฟและภาคีด้านมนุษยธรรมกำลังเร่งส่งมอบความช่วยเหลือให้แก่เด็กและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจัดหาน้ำดื่มที่ปลอดภัย ชุดสุขอนามัย อาหารเสริม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงการสนับสนุนด้านสุขภาพจิต และสื่อการเรียนและเล่น เพื่อให้เด็กได้กลับมาใช้ชีวิตปกติในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ยูนิเซฟยังคงทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อให้การฟื้นฟูเน้นไปที่เด็กเมื่อสถานการณ์น้ำท่วมดีขึ้น
เด็ก ๆ ในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกต้องเผชิญกับภัยพิบัติทางสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนในยุคของปู่ย่าตายายถึง 6 เท่า ภัยพิบัติที่ถี่ขึ้นขึ้นและรุนแรงขึ้นทำให้เด็ก ๆ รับมือยากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังทวีความเหลื่อมล้ำในสังคม และส่งผลกระทบต่อโอกาสในการเติบโตของพวกเขา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้
พยากรณ์ 10 วันล่วงหน้า ตั้งแต่ 18 พ.ย. อากาศเริ่มเย็นลงอีกครั้ง
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 15 -24 พ.ย. 67
กรมอุตฯ ประกาศเตือนพายุ 'โทราจี' ฉบับสุดท้าย
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “โทราจี” ฉบับที่ 10 โดยมีใจความว่า