‘หมอธีระวัฒน์’ ยกรายงานญี่ปุ่น ประเมินผลวัคซีนโควิดกับการเกิดมะเร็ง

23 ก.ย..2567-ศ.นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง “วัคซีนโควิดกับการเกิดมะเร็ง” ระบุว่า รายงานจนกระทั่งถึงปลายเดือนเมษายน 2024 ตอกย้ำความเชื่อมโยงของวัคซีน mRNA กับอัตรา ตายสูงขึ้นอย่างผิดปกติ (statistically significant increases) ของมะเร็งทุกชนิดโดยเฉพาะในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen- related cancers) ตามหลังการระดมฉีดเข็มสาม

รายงานจากประเทศญี่ปุ่นในวันที่แปดเมษายน 2024 ในวารสาร Cureus ในเครือเนเจอร์ โดยที่เป็นการรายงาน ประเมินผลกระทบของการระบาดโควิดในประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้เป็นการวิเคราะห์อัตราการตายของมะเร็ง 20 ชนิดในประเทศญี่ปุ่น โดยใช้ข้อมูลของทางการที่เกี่ยวข้องกับการตาย การติดเชื้อโควิดและการฉีดวัคซีนโควิด โดยเป็น การปรับตัวแปรในช่วงอายุต่างๆ (age adjusted mortality)

ผลที่ได้ถือเป็นการค้นพบ ที่น่าตกใจ ในช่วงหนึ่งปีแรกของการระบาดโควิด ไม่พบการตายที่เกิดจากมะเร็งที่เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ (excess cancer deaths) แต่การตาย กลับเพิ่มขึ้นโดยแปรตามการฉีดวัคซีนโควิด

ประเทศญี่ปุ่นมีอัตราการฉีดวัคซีนสูงที่สุด และในปี 2024 กำลังระดมการฉีดวัคซีนโควิดเข็มที่เจ็ด https://www.cureus.com/…/196275-increased-age-adjusted… การระดมฉีดทั้งประเทศญี่ปุ่นเริ่มในปี 2021 และ เริ่มเห็นตัวเลขของการตายจากมะเร็งเพิ่มขึ้นคู่ขนานไปกับการฉีดฉีดวัคซีนเข็มที่หนึ่งและเข็มที่สอง

หลังจากที่มีการฉีดเข็มที่สามในปี 2022 พบว่ามีการตายจากมะเร็งที่เกิดขึ้นอย่างผิดปกติ ในมะเร็งทุกชนิดและโดยเฉพาะกับมะเร็งที่ไวหรือตอบสนองต่อ ฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่เรียกว่า estrogen and estrogen receptor alpha( ERalpha)-sensitive cancers โดยรวมทั้งมะเร็งรังไข่ มะเร็งเม็ดเลือดขาว ต่อมลูกหมาก มะเร็งริมฝีปาก ช่องปาก ช่องลำคอ มะเร็งตับอ่อนและมะเร็งเต้านม

สำหรับมะเร็งเต้านมนั้นในช่วงระยะเวลาปี 2020 พบการตายจากมะเร็งเต้านมลดลง แต่แล้วเปลี่ยนมาเป็นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญในปี 2022 พร้อมกับการระดมฉีดทั่วประเทศของวัคซีนเข็มที่สาม มะเร็งตับอ่อนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นคงที่ก่อนหน้าระบาดโควิดและมะเร็งอีกห้าชนิดมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตามมะเร็งหกชนิดยังมีการตายเพิ่มกว่าที่คาดการณ์ไว้ในในปี 2021 ในปี 2022 หรือในช่วงระยะเวลาทั้งสองปี

ยิ่งไปกว่านั้น มะเร็งสี่ชนิดซึ่งมีการตายสูงอยู่แล้ว ได้แก่มะเร็งปอด ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งตับ ซึ่งมีการตายลดลงก่อนปี 2020 แต่เมื่อเริ่มมีการใช้วัคซีนนั้นอัตราการตายกลับไม่ลดลงมากดังก่อนมีการระบาด

อัตราตาย ของมะเร็งที่พุ่งขึ้นทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้าการระบาดของโควิดในช่วงระหว่างปี 2010 ถึง 2019 ในประเทศญี่ปุ่น พบว่าการตายจากมะเร็งมีแนวโน้มลดลงในทุกอายุ ยกเว้นที่อายุ90 หรือสูงกว่า 90ปี

และแม้แต่ในปี 2020 ช่วงที่ยังไม่มีการระดมฉีดวัคซีนและมีการระบาดของโควิดแล้ว อัตราการตายจากมะเร็งก็ยังลดลงในช่วงแทบทุกอายุยกเว้นช่วงอายุ 75 ถึง 79 ปี ในปี 2021 เริ่มเห็นแนวโน้มในอัตราการตายของมะเร็งที่สูงขึ้นและสูงขึ้นต่อเนื่องจนกระทั่งถึงในปี 2022 ในช่วงทุกอายุ ในปี 2021 มีอัตราตายเพิ่มขึ้นจากทุกสาเหตุอย่างมีนัยสำคัญ 2.1% และ 1.1% สำหรับการตายที่เกิดจากมะเร็ง ในปี 2022 การตายจากทุกสาเหตุกระโดดขึ้นเป็น 9.6% และสำหรับมะเร็งสูงขึ้นเป็น 2.1%

การศึกษานี้ได้แยกแยะตามอายุและพบว่าจำนวนการตายจากมะเร็งทุกชนิดจะสูงสุดในช่วงอายุ 80 ถึง 84 ปีซึ่งประชากรในกลุ่มนี้มากกว่า 90% ได้รับวัคซีนสามเข็ม และวัคซีนที่ได้รับนั้นเกือบ 100% เป็น mRNA และเป็นไฟเซอร์ 78% โมเดนา 22%

คณะผู้รายงานยังได้เพ่งเล็งประเด็นของการตายจากมะเร็งดังกล่าวที่ อาจจะมาจากสาเหตุที่มีการคัดกรองมะเร็งน้อยลง และ การเข้าถึงการรักษาได้จำกัดในช่วงที่มีการล็อคดาวน์ แต่อย่างไรก็ตาม คณะผู้รายงานระบุว่า ไม่สามารถอธิบายการกระโดดขึ้นของการตายโดยเฉพาะในมะเร็งหกชนิดในปี 2022 ซึ่งไม่มีข้อจำกัดในการคัดกรองมะเร็งและการรักษาแล้ว และมะเร็งที่มีอัตราตายสูงขึ้นจะตกอยู่ในกลุ่มที่เป็น ERalpha-sensitive ทั้งนี้สามารถอธิบายได้จากกลไกหลายอย่างของวัคซีน mRNA ซึ่ง อยู่ในอนุภาคนาโนไขมัน มากกว่าที่จะอธิบายจากการติดเชื้อโควิดหรือการที่มีการรักษาลดลงในช่วงล็อกดาวน์

นักวิทยาศาสตร์วิจัยอาวุโส ของ MIT  Stephanie Seneff ได้ให้ความเห็นว่ารายงานดังกล่าวชี้ชัดเจนในข้อมูลทางระบาดวิทยาซึ่งสามารถเชื่อมโยงอัตราตายที่สูงขึ้นของมะเร็งหลายชนิดและการที่ได้รับวัคซีนหลายเข็ม ทั้งนี้โดยที่ได้เคยให้ความเห็น ก่อนหน้านี้แล้วโดยยึดถือพื้นฐานกลไกทางวิทยาศาสตร์ทางด้านระบบภูมิคุ้มกันว่าวัคซีนควรจะมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็ง

โดยที่วัคซีนนั้นทำให้ระบบการตรวจตราเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดมะเร็งนั้นถดถอยลงโดยเฉพาะในระบบ ที่เรียกว่า innate immunity และความบกพร่องห่วงโซ่ ในระบบภูมิคุ้มกัน ที่นำไปถึงการติดเชื้อโรคได้ง่ายขึ้นและมีโรคภูมิคุ้มกันแปรปรวนทำร้ายตัวเองมากขึ้นและทำให้มะเร็งมีการเติบโตแพร่กระจายได้เร็ว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วี  ธนาศิวณัฐ' แชมป์'ฮอนด้า วัน เมค เรซ2024' คว้ารองชนะเลิศที่ญี่ปุ่น

“ฮอนด้า วันเมคเรซ 2024” โดย บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนลจำกัด (มหาชน) หลังปิดฉากอย่างยิ่งใหญ่ดวลสนามสุดท้ายที่ สงขลา สตรีท เซอร์กิต  ซึ่งแชมป์คนล่าสุด “วี” ธนาศิวณัฐ พงสินนัชอาชัญ นักขับฟอร์มแรงจาก PT Autobacs X Mugen Thailand ที่สร้างผลงานระดับมาสเตอร์เหมาชัยชนะไปครั้งทั้ง 2 เรซ ผงาดแชมป์ประจำปีโอเวอร์ออลล์ พร้อมคว้ารางวัลในโปรเจ็กต์พิเศษ แลกเปลี่ยนนักแข่งทั้งสองประเทศ ได้สิทธิ์ร่วมทีม M&K Racing จากประเทศญี่ปุ่นลุยศึก ซูเปอร์ ไทคิว 2024 สนามสุดท้ายที่ สนามฟูจิ สปีดเวย์ 

'สับปะรดห้วยมุ่น' ขึ้นทะเบียน GI ยกระดับตลาดสินค้าเกษตรไทย

“คารม“ เผย ญี่ปุ่นขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ “สับปะรดห้วยมุ่น”  เป็นสินค้ารายการที่ 3 ต่อจาก กาแฟดอยช้าง และกาแฟดอยตุง ยกระดับตลาดสินค้าเกษตร

PRINC ปักหมุดอีสานล่าง เตรียมเปิด “ศูนย์มะเร็งและรังสีรักษา” แห่งแรกของศรีสะเกษ ธ.ค. นี้ มุ่งครอบคลุมทุกสิทธิการรักษาโรคมะเร็งและให้บริการครบวงจร

โรคมะเร็งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ กระทบชีวิตของประชาชนเป็นอันดับที่ 1 ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 10 ซึ่งครอบคลุมจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ตอนล่าง จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และมุกดาหาร (ที่มา: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข, มี.ค. 66)