110 บุคคลที่ร่วมส่งเสริมการพัฒนาประชากรในมิติต่างๆ ช่วยเพิ่มโอกาสและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้นตบเท้าเข้ารับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติโครงการ “HER AWARDS, UNFPA THAILAND 2024 ประชากรหญิงผู้สร้างแรงบันดาลใจ “ เช่น สายสุนีย์ จ๊ะนะ อัศวินวีลแชร์ฟันดาบหญิงของไทย ,กรุณา บัวคำศรี นักข่าวที่ทำให้ข่าวต่างประเทศเป็นเรื่องใกล้ตัว ,ศุภลักษณ์ อัมพุช นักธุรกิจหญิงเดอะมอลล์กรุ๊ป , บุษบา ดาวเรือง นักบริหารนักสร้างสรรค์ , ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการ ททท. หญิงแกร่ง , อุรีรัชต์ เจริญโต นักการทูต แล้วยังมีชื่อของลิซ่าหรือ ลลิษา มโนบาล ซุปเปอร์สตาร์ชื่อดังระดับโลกอีกด้วย
นอกจากส่วนกลาง ยังมีผู้ได้รับรางวัลจาก 5 ภูมิภาค ในจำนวนนี้มีผู้สร้างแรงบันดาลใจพัฒนาผู้คนผ่านผลงานศิลปะและการออกแบบสร้างสรรค์ จ.บึงกาฬ สุทธิพงษ์ สุริยะผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต จังหวัดบึงกาฬ ผู้นำศิลปะและงานออกแบบมาสร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน จ.ชัยภูมิ พีระพงษ์ วงศ์ศรีจันทร์ ครูผู้ใช้หัวใจและศิลปะพัฒนาคน ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนชัยมงคลวิทยาและผู้ก่อตั้ง”ห้องเรียนไร้กำแพง” จ.เพชรบุรี ดร.กรกต อารมย์ดี นักออกแบบผู้เพิ่มมูลค่างานจักสานไม้ไผ่ไทยให้โด่งดังไกลไปทั่วโลก จนเกิดการสร้างอาชีพชุมชน แก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน งานมอบรางวัลครั้งใหญ่จัดโดยกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ประจำประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท ทีวีบูรพา และบริษัท นินจา เพอร์เฟคชั่น จำกัด ณ ห้องประชุม ESCAP HALL องค์การสหประชาชาติ กรุงเทพฯ เมื่อวันก่อน
“HER AWARDS, UNFPA THAILAND 2024 ประชากรหญิงผู้สร้างแรงบันดาลใจ” เป็นการเชิดชูเกียรติและสร้างขวัญกำลังใจแก่บุคคล ทุกเพศทุกวัย และองค์กรต่างๆ ที่อุทิศตนทำงานขับเคลื่อนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพประชากร โดยสรรหาบุคคลหรือองค์กรที่มีผลงานเชิงประจักษ์ แบ่งเป็น 77 รางวัล จาก 77 จังหวัดทั่วประเทศ และ 23 รางวัล จากส่วนกลาง รวม 110 รางวัล พิจารณาตัดสินจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และการโหวตโดยคนไทยทั้งประเทศผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อน 10 รางวัล
สิริลักษณ์ เชียงว่อง หัวหน้าสำนักงาน UNFPA ประจำประเทศไทย กล่าวว่า โอกาสครบรอบ 30 ปี การประชุมนานาชาติว่าด้วยเรื่องประชากรและการพัฒนา(ICPD30) และครบรอบ 45 ปีของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบเป็นวาระที่ดีจัด “โครงการ Her Awards, UNFPA Thailand 2024 ประชากรหญิงผู้สร้างแรงบันดาลใจ” เป็นรางวัลเกียรติยศมอบให้แด่บุคคลหรือองค์กรจากทั่วประเทศที่สร้างแรงบันดาลใจและส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพประชากรทุกเพศ ทุกวัย ทุกกลุ่ม ทั้งด้านสุขภาพ สังคมและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะความเท่าเทียมระหว่างเพศและการส่งเสริมพลังของผู้หญิง เด็กผู้หญิง และเยาวชน ทุกคนล้วนเป็นแรงบันดาลใจแก่บุคคลและองค์กรทำประโยชน์ต่อประเทศ
สุทธิพงษ์ สุริยะ ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิตจังหวัดบึงกาฬ เผยหลักการทำงานเพื่อส่วนรวมว่า ใช้คอนเซ็ปต์จาก Local สู่เลอค่า เป็นแนวคิดที่ให้เราภาคภูมิใจในบ้านเกิด ความเป็นรากเหง้าของเรา สิ่งที่เราถนัดคือศิลปะการออกแบบ นำสิ่งนั้นมาเติมเต็มเพื่อให้ท้องถิ่นมีความร่วมสมัย เพราะสิ่งที่ท้องถิ่นมีคือทุนทางวัฒนธรรม เพียงแต่ขาดการจัดการด้วยศิลปะการออกแบบ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็น เมื่อเราถนัดก็ทำสิ่งนี้ให้เกิดเป็นต้นแบบของประเทศ ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นที่รู้จักในระดับประเทศและนานาชาติแล้ว เราดำเนินการนำศิลปะไปพัฒนาชุมชนจากที่พื้นที่รกร้างเมื่อ 8 ปีก่อนปัจจุบันได้รับการพูดถึงในฐานะแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม แหล่งเรียนรู้ชุมชนท้องถิ่น สร้างโอกาสทางสังคมและเศรษฐกิจชุมชน
“ชุมชนมีความงามอยู่แล้ว แต่เราช่วยไปออกแบบให้มีความงามในแบบมาตรฐานสากล มีนักท่องเที่ยวเข้ามาชื่นชม ทำให้คนในชุมชนรู้สึกว่าได้รับการยอมรับ รู้สึกรักและหวงแหนพื้นที่มากยิ่งขึ้น ความงามที่เกิดขึ้นเป็นความงามที่ทรงคุณค่าและทรงพลัง ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ด้วยความงาม” สุทธิพงษ์ กล่าว
ส่วน อุรีรัชต์ เจริญโต เอกอัครราชทูต ณ สิงค์โปร์ กล่าวว่า การทำงานในฐานะเอกอัครราชทูตเป็นบทบาทสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศไทย การที่เราสามารถสร้างความเข้าใจที่ดีระหว่างประเทศ ช่วยให้เกิดความร่วมมือในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการค้า การลงทุน การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม หรือการศึกษา ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันคือการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชน ส่งผลให้ประเทศไทยได้รับการสนับสนุนและยอมรับจากต่างประเทศ มีบทบาทเวทีโลก
“ ผู้หญิงและผู้ชายมีความสามารถที่ทัดเทียมกัน แต่ในบางสังคมอาจยังมีทัศนคติที่กีดกันหรือจำกัดบทบาทของผู้หญิงในบางสายงาน เป็นความท้าทายที่เราต้องข้ามผ่าน มองว่า การสร้างโอกาสให้ผู้หญิงได้รับการยอมรับและสนับสนุนอย่างเท่าเทียมกับผู้ชาย เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างสังคมที่สมดุล การทำงานทูตก็ต้องเผชิญความท้าทายเหล่านี้ แต่สิ่งสำคัญความมั่นใจในศักยภาพของเราทำงานด้วยความมุ่งมั่นก้าวข้ามประเด็นเรื่องผู้หญิงหรือผู้ชาย อยากบอกกับผู้หญิงทุกคนว่า เรามีศักยภาพในการสร้างความเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะในบทบาทไหนก็ตาม เชื่อมั่นในตัวเอง อย่าหยุดที่จะพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นอยู่เสมอ ความท้าทายมีอยู่ทุกที่ การเผชิญหน้ากับมันด้วยจิตใจที่เข้มแข็งจะทำให้เราประสบความสำเร็จในสิ่งที่เราตั้งใจ” อุรีรัชต์ กล่าว
ศุภลักษณ์ อัมพุช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า ตลอด 4 ทศวรรษ เดอะมอลล์กรุ๊ป มุ่งมั่นพัฒนาศูนย์การค้า มีเป้าหมายเพื่อสร้างปรากฏการณ์รีเทลระดับโลกที่บุกเบิกและบริหารงานโดยคนไทย เป็น Shopping Destination สำคัญระดับโลก มีศักยภาพขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจประเทศไทย ยุคสมัยหนึ่งของการเริ่มต้นธุรกิจ การสร้างความเชื่อมั่นต่อคู่ค้า นักลงทุน พันธมิตรธุรกิจ ความเป็นผู้หญิงอาจเป็นอุปสรรคต่อการสร้างธุรกิจ แต่ไม่เคยย่อท้อตรงกันข้ามเป็นพลังสำคัญ ให้อดทน มุ่งมั่น ทุ่มเท คิดหาวิธีสร้างความเชื่อมั่น สร้างบทพิสูจน์ใหม่ให้เห็นถึงศักยภาพที่ไม่ได้พิสูจน์ด้วยเพศสภาพที่ปรากฏเท่านั้น ทุกความสำเร็จของผู้หญิงในงาน Her Awards จะเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้หญิงอีกมากได้สร้างปรากฏการณ์ที่เป็นประโยชน์แก่สังคมไทยและสังคมโลกต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เสียงของ'ผู้หญิง' สู่ความเท่าเทียม
ผู้หญิงในประเทศไทยมีจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งประเทศ แต่ละคนมีบทบาทสำคัญในฐานะต่างๆ ของสังคม ทั้งนักธุรกิจ นักการเมือง นักกีฬา นักแสดง พิธีกร แพทย์ และอีกหลากหลายสาขาอาชีพ แต่ขณะเดียวกันในหลายครั้งที่บทบาทหรือคุณค่าของผู้หญิงถูกลดคุณ
'สายสุนีย์'คว้าเหรียญทอง 'วีลแชร์ฟันดาบเวิลด์คัพ 2023'ที่ฝรั่งเศส
สายสุนีย์ จ๊ะนะ ยังคงทำผลงานได้อย่างต่อเนื่องคว้าเหรียญทอง ประเภทเอเป้ คลาสบีหญิง ในการแข่งขันวีลแชร์ฟันดาบ เวิลด์คัพ “IWAS Wheelchair Fencing World Cup 2023” ที่เมืองนิมส์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อคืน 20 เม.ย.ที่ผ่านมา
‘ภาษาไทย’มาแรงในเวียดนาม ต้นแบบความร่วมมือ 2 ประเทศ
พลังการลงทุนภาคธุรกิจไทยในเวียดนาม ซึ่งไทยเป็นนักลงทุนอันดับ 9 ของการลงทุนในเวียดนาม ผลักดันให้ ”ภาษาไทย” ขึ้นชาร์ทที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ติด 1 ใน 5 ของภาษาที่มีคนเวียดนามเรียนและเติบโตอย่างรวดเร็ว จากรายงานของกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ
ส่องวิถีชุมชนร่วมสมัยที่พิพิธภัณฑ์มีชีวิตบึงกาฬ
สถานที่ท่องเที่ยววิถีชุมชนที่มนุษย์สร้างขึ้นของจังหวัดบึงกาฬ โดยต่อยอดจากพื้นที่แห่งความศรัทธาพญานาคลุ่มน้ำโขง กลายมาเป็นภาพวาดกราฟฟิตี้พญานาคร่วมสมัยแห่งเดียวในโลก ที่ต้องได้มาสัมผัสด้วยตัวตาตัวเองกว่า 100 ภาพถูกวาดกระจายไปตามจุดต่างๆ เปิดพื้นที่จากการพัฒนาชุมชนขับเคลื่อนไปสู่การท่องเที่ยวชุมชนยั่งยืน