เนคเทค สวทช. โชว์'เซ็นเซอร์ไทยอัจฉริยะ' ไม่ตกขบวนโลกยุคใหม่

3 เซนเซอร์ อนาคตที่มีผลต่อโลกเทคโนโลยีดิจิทัล 

ความก้าวล้ำของเทคโนโลยีในปัจจุบันจัดว่า เป็นความเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะการพัฒนาเซ็นเซอร์ (Sensor)  ที่เป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาในทุกอุตสาหกรรม เพราะเป็นอุปกรณ์ใช้ในการเปลี่ยนปริมาณทางกายภาพให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันเซ็นเซอร์ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต อย่างโรงงาน ยานยนต์ ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล บ้าน และอื่นๆอีกมากมาย ที่การทำงานของเซนเซอร์แต่ละประเภทก็จะแตกต่างกัน อาทิ เซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุ, เซ็นเซอร์การตรวจจับด้วยภาพ, เซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุ โดยใช้แสง, เซ็นเซอร์วัดระยะ, เซ็นเซอร์อ่านโค้ด, เซ็นเซอร์อัลตร้าโซนิค, เซ็นเซอร์ตรวจจับของเหลว และ  เซนเซอร์ตรวจจับสี เป็นต้น

การขับเคลื่อนเซนเซอร์ในไทยจึงเป็นกลไกสำคัญต่อการพัฒนาเทคโนโลยี ซึ่งเริ่มตั้งแต่งานวิจัยพื้นฐานไปจนถึงการนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมไปถึงมุมมองด้านนโยบายการส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยพัฒนา โอกาส ความท้าทายการลงทุน ทั้งในมิติของภาครัฐ ภาคธุรกิจ และผู้ใช้งาน ที่จะร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรม เสริมระบบนิเวศ (Ecosystem) การพัฒนาเซนเซอร์อัจฉริยะที่จะนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีอื่น ๆ ให้เกิดขึ้นภายในประเทศได้อย่างยั่งยืน

ไทม์ไลน์การพัฒนาเซนเซอร์ไทย

ในวงเสวนา “เปิดโลกเทคโนโลยียุคใหม่ ด้วยเซนเซอร์ไทยอัจฉริยะ: The Next Era of Thai Intelligent Sensors” ในการประชุมวิชาการและนิทรรศการเนคเทคประจำปี 2567 (NECTEC Annual Conference & Exhibitions 2024: NECTEC-ACE 2024) ภายใต้แนวคิด ฐานรากเทคโนโลยีก้าวไกล พัฒนาไทยก้าวหน้า เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และทิศทางการพัฒนาเซนเซอร์ไทยที่จะสร้างโอกาสในการลงทุนและการขับเคลื่อนความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในอนาคต

ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์

ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ประธานกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค สวทช.) กล่าวว่า เซนเซอร์และเซมิคอนดักเตอร์เปรียบเสมือนหัวใจสำคัญของเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นสององค์ประกอบหลักที่ขับเคลื่อนให้เทคโนโลยีสมัยใหม่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเราอย่างที่เราคาดไม่ถึง ทั้งเป็นกุญแจสำคัญของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) ที่ทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ เชื่อมต่อกันและสื่อสารกันได้ ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตในภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งยังมีผลในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ ยานยนต์ไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียน

 Ecosystem ของการผลิตเซนเซอร์

ประโยชน์ของเซนเซอร์และเซมิคอนดักเตอร์ยังถูกใช้ในระบบขนส่งอัจฉริยะ ช่วยให้การจราจรมีความปลอดภัย สะดวกรวดเร็ว และประหยัดพลังงาน ถูกใช้ในระบบดูแลสุขภาพ ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ รักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ติดตามสุขภาพของผู้ป่วยได้อย่างใกล้ชิด และถูกนำมาประยุกต์ใช้ในระบบเกษตรอัจฉริยะ ช่วยให้เกษตรกร สามารถเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน ดังนั้นเซนเซอร์และเซมิคอนดักเตอร์จึงมีความสำคัญ เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญของเทคโนโลยีต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ที่ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชน ภาคเกษตร สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย ผู้ประกอบการ และนักลงทุน สามารถแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์ รวมทั้งการสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ผลักดันผลงานวิจัยไปสู่ผู้ใช้งานจริงได้อย่างยั่งยืน

ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์

ด้านศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ปัจจุบันเทคโนโลยีเซนเซอร์อัจฉริยะในประเทศไทย ตั้งแต่งานวิจัยพื้นฐานไปจนถึงการประยุกต์ใช้ ในอุตสาหกรรม และเซนเซอร์อัจฉริยะมีความสำคัญต่ออินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) และอุปกรณ์ ที่เชื่อมต่อการใช้งานเซนเซอร์อัจฉริยะจึงมีมากมาย เปรียบเสมือนแขนขาของดิจิทัลเทคโนโลยี ทำให้การผลิตเซนเซอร์ใหม่มีมากขึ้น  สามารถบูรณาการเข้ากับแอปพลิเคชันที่หลากหลายในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา โดยในปีต่อ ๆ ไป คาดว่าอุตสาหกรรมเซนเซอร์อัจฉริยะจะยังคงเติบโตและสร้างสรรค์ช่วยสร้างโอกาสในการพัฒนาและการลงทุนในอนาคต รวมถึงช่วยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อเร่งการพัฒนาเชิงพาณิชย์สำหรับเทคโนโลยีเซนเซอร์ของไทยให้เป็นหนึ่งที่สำคัญในระบบนิเวศเซนเซอร์อัจฉริยะของโลก

ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย

ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการเนคเทค สวทช. กล่าวว่า ในของเทคโนโลยีทางด้านดิจิทัล 3 สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ 1.Intelligent Sensors 2.Network & Communication และ 3.AI & Big Data ซึ่งต้นน้ำที่ขาดไม่ได้ในการพัฒนาข้อ 2 และ 3 คือ Intelligent Sensors โดยช่วง 20 ปีที่ปผ่านมา  เมื่อปี 2538 ไทยจัดตั้งศูนย์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ หรือ TMEC ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์การผลิตเซนเซอร์ ของประเทศ และเริ่มต้นพัฒนา CMOS ซึ่งเป็นชิ้นส่วนสำคัญของไมโครคอนโทรลเลอร์ นำไปพัฒนาเป็น Pressure Sensor, MEMS ต่อยอดสู่การสร้าง Speaker, Microphone และ Gyroscope ส่งขายในตลาดต่างประเทศได้สำเร็จ แต่ความสำเร็จดังกล่าวกับไม่เกิดขึ้นในประเทศไทยซึ่งไม่มีตลาดรองรับที่เพียงพอ ประกอบกับความท้าทายของการพัฒนาเซนเซอร์ในระดับที่ส่งมอบสู่ตลาดและสังคมได้อย่างเต็มที่นั้นจำต้องใช้เงินทุนมหาศาล

ผอ.เนคเทค กล่าวต่อว่า จากความสำเร็จและฝ่าฟันข้อจำกัดในอดีตสู่การพัฒนา Onspec NECTEC SERs Chip ที่ใช้ในการตรวจวัดสารเคมีหรือโมเลกุลในตัวอย่างที่มีปริมาณน้อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารเคมีที่ยากต่อการตรวจวัด เช่น สารพิษหรือสารในสิ่งแวดล้อม โดยล่าสุดมีการนำไปใช้ในด้านการแพทย์ เช่น การตรวจวัณโรคแฝงซึ่งเป็นปัญหาเร่งด่วนของประเทศ และไข้เลือดออก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีมาตรฐาน ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันกำลังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบทางคลินิก และหวังเป็นเครื่องมือสำคัญด้านสาธารณสุขของประเทศ

“โดยการพัฒนาเซนเซอร์ 3 ตัวหลักในอนาคตที่จะมีผลต่ออุตสาหกรรมต่างๆ ได้แก่ 1.Quantum & Terahertz Sensor ซึ่งเป็นเซนเซอร์ที่มีความแม่นยำสูงมากในการตรวจจับสัญญาณ เช่น สัญญาณสมอง หรือการวัดแรงโน้มถ่วงในระดับที่ละเอียดมาก สำหรับเซนเซอร์ที่ใช้คลื่นเทราเฮิร์ตซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษในการทะลุผ่านเนื้อเยื่อโดยไม่ทำลาย ซึ่งมีศักยภาพสูงในการใช้ตรวจจับหรือทำการเอกซเรย์ในรูปแบบที่ไม่เป็นอันตราย 2.Low-Power Sensor ซึ่งสามารถทำงานด้วยตัวเองโดยไม่ต้องใช้พลังงานจากภายนอก และมีศักยภาพในการนำไปใช้ในพื้นที่ห่างไกลได้ และ3.AI Sensor คือ การ embeded AI เข้าไปในเซนเซอร์มีการประมวลผลแบบอัจฉริยะในตัวเซนเซอร์” ผอ.เนคเทค ทิ้งท้าย

ทั้งนี้ในมิติของ TMEC และ Onspec NECTEC SERs Chip เห็นได้ชัดว่าระบบนิเวศ (Ecosystem) การพัฒนาเซนเซอร์อัจฉริยะในประเทศยังต้องการส่วนเติมเต็ม เพื่อให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์อย่างยั่งยืน สำหรับผลงานเด่นด้านเซนเซอร์ของเนคเทค ที่มีความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดระดับสากล ได้แก่ GASSET แพลตฟอร์มแก๊สเซนเซอร์ชนิดสารกึ่งตัวนำสำหรับการวัดกลิ่นใช้ในเกษตร การแพทย์ อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม, DuoEye  เครื่องอ่านสารเคมีปนเปื้อนในน้ำแบบพกพา และชุดตรวจคุณภาพน้ำ ChemSense ใช้ตรวจคุณภาพน้ำแบบพกพา เป็นต้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นักวิจัยด้านกุ้ง จาก จุฬาฯ - สวทช. คว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี 2567

นักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาวิจัยที่มีผลประโยชน์สูงต่อการเลี้ยงกุ้ง จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สวทช. คว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2567 ขณะที่

แก้ปัญหาเมืองด้วย AI ส่องฟีเจอร์ใหม่ทราฟฟี ฟองดูว์

กว่า 9.4 แสนปัญหาเมือง  ทั้งน้ำท่วมขังหน้าคอนโด ถนนชำรุด  เสียงดังก่อสร้าง ทางเท้าชุ่ย ก่อสร้างผิดกฎหมาย  จุดกลับรถอันตราย  ต้นไม้โค่นล้ม รถจอดถนนแคบ ไฟฟ้าริมทางดับ และอีกสารพัดเรื่องที่สร้างความเดือดร้อนและทำให้ชีวิตคนเสี่ยงอันตราย ในจำนวนนี้ 6.4 แสนเรื่อ