เปลี่ยนโมเลกุลคาร์บอนให้กลายเป็นพลาสติกชีวภาพผลงานเด็กไทยคว้ารางวัล James Dyson Award

Carbon Polymerizing System ระบบเปลี่ยนโมเลกุลคาร์บอนให้กลายเป็นพลาสติกชีวภาพอัตโนมัติ

Carbon Polymerizing System เป็นผลงานจากทีมนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลคว้ารางวัลชนะเลิศระดับประเทศของการแข่งขัน James Dyson Award ในปีนี้ โดยผลงานนี้คือระบบการผลิตพลาสติกชีวภาพจากคาร์บอนแบบอัตโนมัติที่มุ่งแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอันเกิดจากก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากขยะอาหาร โดยทีมผู้คิดค้น Carbon Polymerizing System จะเป็นตัวแทนประแทนไทยพร้อมทีมรองชนะเลิศอีก 2 ทีมในการแข่งขันระดับนานาชาติต่อไป

Carbon Polymerizing System หรือ ระบบการผลิตพลาสติกชีวภาพจากคาร์บอนแบบอัตโนมัติ จะดักจับโมเลกุลคาร์บอนเพื่อนำมาผลิตเป็นพลาสติกชีวภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เรียกว่า PHB ซึ่งเหมาะสำหรับการผลิตบรรจุภัณฑ์ทั่วไปจนถึงวัสดุทางการแพทย์ ระบบจะใช้แบคทีเรียเปลี่ยนคาร์บอนที่ได้จากแหล่งต่าง ๆ เช่น น้ำเสียจากน้ำผลไม้ ชีวมวลผักและผลไม้ หรือแม้แต่ก๊าซเรือนกระจก ให้กลายเป็นพลาสติกชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติและปลอดภัยโดยใช้ระยะเวลาย่อยสลายในดินประมาณ 2 สัปดาห์ ต่างกับพลาสติกชนิดอื่นที่อาจใช้เวลาย่อยสลายในป่านานถึง 80 ปี ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยลดคาร์บอนที่เป็นอันตรายในอากาศ แต่ยังส่งผลให้วัสดุไม่ตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เป็นนวัตกรรมที่ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อทั้งสิ่งแวดล้อมและสังคม

จากก๊าซคาร์บอน กลายเป็นพลาสติกชีวภาพ

ระบบจะทำงานอัตโนมัติโดยใช้ระบบควบคุมแบบเรียลไทม์ หรือ SCADA (Supervisory Control and Data Acquisition) เพื่อให้มั่นใจว่าการผลิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสะอาด ด้วยการจัดการกระบวนการทั้งหมดด้วยการติดตามผลแบบเรียลไทม์ จะช่วยลดของเสียและมลพิษให้เหลือน้อยที่สุด ถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับการผลิตที่ยั่งยืน  แนวทางนี้ไม่เพียงแค่ลดการปล่อยคาร์บอน แต่ยังกำจัดคาร์บอนจากบรรยากาศมากกว่าที่ปล่อยออกมาอีกด้วย

นักประดิษฐ์ทีมผู้ออกแบบ Carbon Polymerizing System ประกอบด้วยสุเมธ กล่อมจิตเจริญ  , สหรัถ ชวฤาชัย  และกัลยพัชร์ พลอยประดิษฐ์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากมองเห็นถึงปริมาณคาร์บอนจำนวนมากที่ถูกปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศผ่านกิจกรรมของมนุษย์ เพื่อจัดการกับปัญหาดังกล่าว ทีมผู้ออกแบบจึงสร้างนวัตกรรมที่สามารถเปลี่ยนขยะอาหารหรือแหล่งคาร์บอนอื่น ๆ ให้เป็นพลาสติกชีวภาพ  

ทีมผู้ออกแบบCarbon Polymerizing System

ทีมผู้ออกแบบ Carbon Polymerizing System ซึ่งเป็นทีมผู้ชนะระดับประเทศในปีนี้ จะได้รับเงินรางวัลจำนวน 224,000 บาท จาก James Dyson Award เพื่อเป็นทุนในการพัฒนานวัตกรรมและต่อยอดเชิงพาณิชย์  โดยในอนาคตมีแผนพัฒนาระบบติดตามการปล่อยคาร์บอน เพื่อเก็บข้อมูลปริมาณก๊าซที่ปล่อยออกมาระหว่างกระบวนการผลิต
สหรัถ ชวฤาชัย หนึ่งในสมาชิกทีมผู้ออกแบบ Carbon Polymerizing System กล่าวว่า การแข่งขัน James Dyson Award มอบโอกาสให้พวกเราได้นำเสนอนวัตกรรม ซึ่งพวกเราเชื่อว่ารางวัลนี้จะช่วยให้นวัตกรรม Carbon Polymerizing System เป็นที่รู้จักในตลาดและสร้างประโยชน์ให้กับโลกมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้พวกเรายังอยากให้นวัตกรรมนี้เป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่น ๆ หันมาสนใจใช้ความคิดสร้างสรรค์ออกแบบนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาในโลกของเราต่อไป

รางวัลรองชนะเลิศ ผลงานชื่อ  NANO HEMP  มีเป้าหมายที่จะจัดการกับความท้าทาย 2 ประการ ได้แก่ การจัดการของเสียจากอุตสาหกรรมกัญชง และต้นทุนการผลิตที่สูงของท่อนาโนคาร์บอน (CNT) ซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้ในแบตเตอรี่และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

 ภูวดล เสงี่ยมมีเจริญ ผู้คิดออกแบบผลงานNANO HEMP

 ภูวดล เสงี่ยมมีเจริญ ผู้คิดออกแบบผลงานNANO HEMP   กล่าวว่า การตัดสินใจแก้ปัญหาเหล่านี้โดยการสร้าง NANO HEMP ซึ่งจะใช้ขยะจากกัญชงโดยเฉพาะเศษแกนกัญชงที่มีคาร์บอนสูง เพื่อสร้างวิธีการที่ยั่งยืนและประหยัดต้นทุนในการสังเคราะห์ท่อนาโนคาร์บอน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าในด้านการกักเก็บพลังงาน อุปกรณ์ทางการแพทย์ และคอมโพสิตขั้นสูง นำไปสู่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม

รางวัล รองชนะเลิศอันดับสอง ในผลงานชื่อ PlantPoxy มีที่มาจากแนวความคิดว่า ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรทั่วไปใช้สารเคมีที่รุนแรงซึ่งเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม วัสดุและสารเคมีที่ไม่สามารถย่อยสลายได้เหล่านี้ยังก่อให้เกิดมลพิษปริมาณมากซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง ทีมผู้ออกแบบ ประกอบด้วย  สุทธวิชญ์ บุตรนนท์  จิตาภา ม่วงศิริ  ชลธกาญ ผลมะขามและฌานิทธิ์ พิทักษ์วงษ์  จึงได้คิดค้น PlantPoxy สารกำจัดแมลงชีวภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทำจากเชื้อราที่สลายตัวตามธรรมชาติเมื่อเวลาผ่านไป  โดยไม่ทิ้งสารตกค้างที่เป็นอันตราย PlantPoxy ตั้งเป้าลดการพึ่งพาสารเคมีกำจัดแมลง ด้วยการสนับสนุนการใช้สารกำจัดแมลงชีวภาพ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร รวมถึงช่วยปกป้องและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ดิน น้ำ และอากาศสะอาดขึ้น

ผู้ออกแบบ PlantPoxy  รองชนะเลิศอันดับสอง

 สิ่งประดิษฐ์ทั้งสามชิ้นจะร่วมแข่งขันในเวทีระดับนานาชาติของการแข่งขัน James Dyson Award โดยจะมีโอกาสได้รับเงินรางวัลจำนวน 1,345,000 บาท ผลงานที่เข้ารอบ 20 อันดับแรกในระดับนานาชาติจะประกาศในวันที่ 16 ตุลาคม และผู้ชนะระดับนานาชาติจะประกาศในวันที่ 13 พฤศจิกายน โดยผู้ตัดสินคือ James Dyson

 James Dyson Award คือการแข่งขันด้านการออกแบบระดับนานาชาติที่จะให้รางวัล สนับสนุน และสร้างแรงบันดาลใจให้กับวิศวกรออกแบบรุ่นใหม่ โดยในปีนี้มีการดำเนินการใน 29 ประเทศ และสนับสนุนสิ่งประดิษฐ์มากกว่า 400 รายการ ด้วยเงินรางวัลกว่า 44 ล้านบาท ดำเนินการโดยมูลนิธิ James Dyson Foundation ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลด้านการศึกษาด้านวิศวกรรมของ Sir James Dyson
โจทย์ออกแบบสิ่งประดิษฐ์คือ สิ่งประดิษฐ์ที่ออกแบบต้องสามารถสามารถแก้ไขปัญหาได้ โดยปัญหานี้อาจเป็นสิ่งที่เราพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันหรือเป็นปัญหาระดับโลกก็ได้ แต่สิ่งสำคัญคือวิธีการแก้ปัญหาต้องมีประสิทธิภาพและแสดงให้เห็นถึงการคิดเชิงออกแบบ

ขั้นตอนการตัดสิน ผู้เข้าประกวดจะถูกคัดเลือกในระดับประเทศ โดยคณะกรรมการอิสระและวิศวกรจาก Dyson โดยในแต่ละประเทศจะเฟ้นหาตัวแทนเพื่อหาผู้ชนะเลิศอันดับหนึ่งและรองชนะเลิศสองอันดับ จากนั้นวิศวกรจาก Dyson จะทำการคัดเลือก 20 ผู้เข้ารอบในระดับประเทศเพื่อทำการคัดเลือกต่อไปในระดับนานาชาติ ซึ่งผลงานจากผู้เข้ารอบทั้ง 20 โครงการจะได้รับการพิจารณาโดย James Dyson เพื่อคัดเลือกหาผู้ชนะในระดับนานาชาติต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'จักรกฤษณ์'แชมป์รุ่นใหญ่ประจำปี 'แพลน-บี มีเดีย บีอาร์ไอซี ซูเปอร์ไบค์ 2024'

สุดยอดการแข่งขันซูเปอร์ไบค์เบอร์หนึ่งของไทย “แพลน-บี มีเดีย บีอาร์ไอซี ซูเปอร์ไบค์ แชมเปียนชิพ 2024” รูดม่านปิดฉากเรียบร้อบแล้ว หลังดวลเรซสุดท้ายเมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน 2567 โดย “แสตมป์” อภิวัฒน์ วงศ์ธนานนท์ อดีตนักบิดเวิลด์ ซูเปอร์สปอร์ต แชมเปียนชิพ จาก ยามาฮ่า ทีเอ็นพี พีทีที ลูบริแคนท์ส เหมาชัย 2 เรซส่งท้ายปี ขณะ “บอล” จักรกฤษณ์ แสวงสวาท จาก อีสต์ เอ็นเจที พีทีที ลูบริแคนท์ส เรซซิ่ง ทีม ผงาดคว้าแชมป์ประจำปีในรุ่นใหญ่ เฉือนคู่แข่งเพียง 1 แต้ม หลังผ่านฤดูกาลสุดเข้มข้นที่ สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จ.บุรีรัมย์

โอลิมปิกเดย์2024วันแรก จัดเต็มกิจกรรม เอาใจคนรักกีฬาทุกประเภท

กิจกรรมเดิน-วิ่ง Olympic Day 2024 วันแรกในวันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน ที่ผ่านมา ณ สวนเบญจกิติ คลองเตย กทม. โดยในปีนี้ ฝ่ายจัดการแข่งขันฯ ได้จัดกิจกรรมรองรับนักวิ่งและผู้ที่สนใจในการเล่นกีฬา กับกิจกรรมภาควิชาการ การจัดนิทรรศการ, กิจกรรมการแข่งขันกีฬา 5 กีฬา, กิจกรรมกีฬาเยาวชน Kids Sport, กิจกรรมสิ่งแวดล้อม, กิจกรรมสันทนาการ และ มินิคอนเสิร์ตจากศิลปินชั้นนำระดับประเทศ

มาแล้ว'ราคาบัตร' ไทยแลนด์ โมโตจีพี' วิธีซื้อให้ได้'ส่วนลด'สุดคุ้ม-ถูกที่สุด

สถิติมีไว้ทำลาย! บัตรไทยโมโตจีพี 2024 เตรียมเปิดขายพร้อมกันทั่วโลกในวันที่ 18 มิ.ย.นี้ เวลา 14.00 น. ล่าสุดฝ่ายจัดการแข่งขันได้เปิดราคาจำหน่ายบัตร พร้อมสิทธิประโยชน์จาก PT ไตเติ้ล สปอนเซอร์ใหม่สุดปัง ยืนยันราคาเมื่อใช้ร่วมกับส่วนลด ถูกที่สุด สนามเดียวในโลก บัตรใช้ได้ 3 วัน สิทธิประโยชน์จัดเต็ม สนุกกับเฟสติวัลที่ยิ่งใหญ่ คอนเสิร์ต มวย ช้อป ชิม คุ้มกว่านี้ไม่มีแล้ว คาดบัตร Sold Out ทำลายสถิติเดิม 2.29 นาที ได้อย่างแน่นอน

'พีรภัทธ์'สอนเชิงนักชกหมู่เกาะคุ๊ก เข้าลุ้นต่อรอบ32คน ชิงตั๋วอลป.2024

พีรภัทธ์ เยียะสูงเนิน ยังคงทำผลงานดีต่อเนื่องด้วยการเอาชนะ ฮัลเลท ทาวิริมาธี นักชกจากหมู่เกาะคุ๊ก โดยการแข่งขันของคู่นี้ พีรภัทธ์อาศัยความคล่องตัวที่เหนือกว่าเอาชนะคะแนนไปได้ 4-0 ผ่านเข้ารอบ 3 ต่อไป ในศึกกำปั้นคัดเลือกโอลิมปิก เลค 2 ที่อินดอร์ สเตเดี้ยม หัวหมาก

'ซูเปอร์สปอร์ต 10 ไมล์ รัน ซีรีส์ 2024' เปิดสนามแรกใจกลางกรุงเทพฯ

Supersports (ซูเปอร์สปอร์ต) ในเครือเซ็นทรัลรีเทล แหล่งรวมสินค้าและแบรนด์กีฬาอันดับ 1 ของไทย ตอบโจทย์ทุกความต้องการด้านกีฬา จัดงานวิ่งสุดยิ่งใหญ่กว่าที่ผ่านมา Supersports 10 Mile Run Series 2024 Thailand ซูเปอร์สปอร์ต 10 ไมล์ รัน ซีรีส์ 2024 ไทยปลนด์ ในรูปแบบซีรีส์ 4 สนาม พร้อมเปิดสนามแรกใจกลางกรุงเทพฯ ผนึกกำลัง อาดิดาส ไทยแลนด์ ให้นักวิ่งทั้งชาวไทยและต่างประเทศสัมผัสสุดยอดประสบการณ์งานวิ่งระดับมาตรฐานสากล ในเส้นทางผ่านจุดแลนด์มาร์คของกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 26 พฤษภาคม นี้ พร้อมคาดว่านักวิ่งกว่า 8,000 คนจะร่วมสร้างประสบการณ์สุดพิเศษ ใน Supersports 10 Mile Run Series 2024 Bangkok Presented by adidas ซูเปอร์สปอร์ต 10 ไมล์ รัน ซีรีส์ 2024 แบงค็อก พรีเซ็นเต็ด บาย อาดิดาส

'อภิวัฒน์'เหมาชัยโฮมเรซ 'ชิพ'สู้เดือดคว้าอันดับ3รุ่นใหญ่ ศึกเอเชียโรดฯที่บุรีรัมย์

ทัพบิดไทยเดินหน้าสร้างผลงานกระหึ่ม “ศึกสองล้อชิงแชมป์เอเชีย” ล่าสุด "แสตมป์" อภิวัฒน์ วงศ์ธนานนท์ ยอดนักบิดไทยจาก ยามาฮ่า เทคนี เรซซิ่ง ทีม เอเชีย สร้างผลงานระดับมาสเตอร์บิดนำม้วนเดียวจบเหมาชัยชนะ 2 เรซในรุ่น ซูเปอร์สปอร์ต 600 ซีซี ทะยานนำเป็นจ่าฝูงบนคะแนนสะสม ขณะ “ชิพ” นครินทร์ อธิรัฐภูวภัทร์ จาก ฮอนด้า เอเชีย-ดรีม เรซซิ่ง วิท แอสเตโม รีดฟอร์มเก่งผงาดคว้าโพเดียมแรกในรุ่น เอเชีย ซูเปอร์ไบค์ 1,000 มาครอง หลังจบเรซสุดมันส์ที่ สนามช้างฯ์ จุ.บุรีรัมย์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา