ซุเปอร์ในชุมชน ช่วยกลุ่มเปราะบาง

“ ข้าวสาร ผักผลไม้ อาหารส่วนเกิน  น้ำมัน ผงซักฟอก ที่ส่งต่อให้ชุมชนเขตสะพานสูงและคนขาดแคลนได้อิ่มท้อง  มีประโยชน์กับคนรายได้น้อย คนป่วยติดเตียง  คนสูงอายุที่ไม่ได้ทำงาน  ธนาคารอาหารนี้จะช่วยเหลือชาวบ้าน มาเลือกของที่ต้องการได้ แล้วยังมีที่เขตส่งของให้เด็ก คนชรา คนพิการ ถึงที่บ้าน“ ยายอรุณ ศรีคำ วัย 89 ปี ชาวชุมชนวัดลาดบัวขาว เขตสะพานสูง เปิดใจภายหลังเข้ารับบริการศูนย์ BKK Food Bank บริเวณชั้น 1 ศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร เขตสะพานสูง ซึ่งเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา

ธนาคารอาหารเปรียบเหมือนร้านสะดวกซื้อที่ช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหาร เติมเต็มมื้อที่ขาดหายไปของชุมชน ในทางกลับกันช่วยลดปัญหาการเกิดขยะอาหารที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเมืองอีกด้วย โดยกรุงเทพมหานครเป็นตัวกลางรวบรวมอาหาร เครื่องอุปโภคบริโภคจากธุรกิจโรงแรม ร้านค้าสะดวกซื้อ  ห้างสรรพสินค้า วัด สุเหร่า โรงงาน  มูลนิธิต่างๆ ที่ร่วมบริจาคให้กับเขตทุกสัปดาห์ เพื่อนำไปส่งต่อและจัดเก็บที่ศูนย์เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

ปัจจุบันศูนย์ BKK Food Bank เปิดครบทั้ง 50 เขตในพื้นที่กรุงเทพฯ แล้ว  หลังจากเริ่มผลักดันธนาคารอาหารมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 โดยเขตสะพานสูง ถือเป็นเขตล่าสุด จากรายงาน กทม. ปัจจุบัน BKK Food Bank สามารถส่งต่ออาหารบริจาคได้ 488,227.29 กิโลกรัม หรือนับเป็นมื้อได้กว่า  2 ล้านมื้อ ถึงมือผู้รับซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางแล้วรวม 5,330 ราย จากข้อมูลที่ลงทะเบียนไว้ 23,476 ราย

กลุ่มที่เข้ามารับบริการมากที่สุด ผู้สูงอายุ ตามด้วยผู้มีรายได้น้อย เด็ก  ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ  เด็กในศูนย์เด็กเล็กฯ  ผู้ป่วยติดเตียง  และคนไร้บ้านตามลำดับ  5 ประเภทอาหารที่มีน้ำหนักมากที่สุด  ได้แก่ เบเกอรี่ 312,023  กก. อาหารปรุงสุกพร้อมทาน 34,664  กก. ข้าว 32,604  กก. ผักและผลไม้ 16,981.9 กก. น้ำเปล่า 14,552 กก. คิดเป็นปริมาณคาร์บอนที่ลดได้ 1,235,215.04 กิโลCO2e

นอกจากเครื่องอุปโภคบริโภคแล้ว แต่ละสำนักงานเขตยังมีการรับ – ส่งต่ออาหารส่วนเกิน (Food Surplus) จากผู้บริจาคตรงสู่ผู้รับในพื้นที่และให้ความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางครอบคลุมทุกกลุ่ม โดยจะรับอาหารส่วนเกินจากผู้บริจาค สัปดาห์ละ 3 วัน (ทุกวันอังคาร พุธ พฤหัสบดี) ก่อนส่งตรงผู้รับ ซึ่งผู้ประสงค์จะบริจาคของให้กับ BKK Food Bank สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานเขตทุกเขต

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า โครงการ BKK Food Bank เปิดครบ 50 เขต แล้วที่เขตสะพานสูง โดยเป็นจุดที่เราใช้รวบรวมของบริจาคจากประชาชนที่อยากแบ่งปัน กทม. ทำหน้าที่ส่งต่อของเหล่านี้ให้กลุ่มเปราะบาง

หลักการคือการแบ่งปัน เพราะเชื่อว่ากรุงเทพฯ มีทรัพยากรเพียงพอสำหรับทุกคน แต่อาจจะอยู่ที่คนใดคนหนึ่งเยอะ ส่วนบางคนขาด เราสามารถเป็นตัวกลางได้ เคยเห็นโครงการเหล่านี้ในหลายประเทศทั่วโลก หลักการจะมีแต้มให้กลุ่มเปราะบางใช้แลกของ สามารถมาเดินเลือกของได้อย่างมีศักดิ์ศรี นอกจากของแห้งแล้ว อีกรูปแบบคืออาหารสดที่ยังไม่หมดอายุแต่ไม่สามารถขายได้ที่จะรับโดยตรงจากผู้บริจาค ที่ผ่านมา รับบริจาคแล้ว 2 ล้านมื้อ เกือบ 5 แสนกิโลกรัม เป็นการลด food waste หรือขยะอาหารด้วย

“ ความยั่งยืนของโครงการต้องทำให้ประชาชนเชื่อใจเรา สร้างความไว้วางใจว่า ของที่บริจาคถึงมือกลุ่มเปราะบางจริง ๆ มีการทำบัญชี ให้ประชนมีส่วนร่วมช่วยตรวจสอบ หากได้ความเชื่อใจประชาชนจะหมุนเวียนเข้ามาบริจาค ต่อไปหากใครอยากช่วยเหลือผู้ที่ลำบาก อยากแบ่งปัน แวะนำของมาบริจาคที่สำนักงานเขตได้เลย” ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าว

 ด้าน พรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม. และผู้บริหารด้านความยั่งยืนของกรุงเทพมหานครกล่าวว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งการแป่งปัน  เขตเป็นตัวกลางรับบริจาคจากประชาชน ภาคเอกชน แล้วคัดแยก จัดเก็บ แจกจ่ายส่งต่อกลุ่มเปราะบางที่ต้องการความช่วยเหลือ เช่น ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้มีรายได้น้อย ตกงานที่ยังขาดแคลนอาหารและเครื่องอุปโภคบริโภคเป็นจำนวนมาก รวมถึงผู้ประสบภัยทั้งไฟไหม้หรือน้ำท่วมสามารถนำสิ่งของไปบรรเทาทุกข์ได้ นอกเหนือช่วยเหลือมิติทางสังคมแล้ว  ยังช่วยมิติสิ่งแวดล้อม  เราพบว่า 1 ใน 3 ของอาหารที่ผลิตเป็นอาหารส่วนเกินและถูกทิ้งเป็นขยะทุกวัน และขยะที่มาจากอาหาร คิดเป็น 50% ของขยะทั้งหมด ธนาคารอาหารช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

“ BKK Food Bank มี2 โมเดล รับของส่วนเกินจากร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร เป็นของสด เช่น ขนมปัง ผักผลไม้ เมื่อรับแล้วส่งตรงชุมชนเลย โดยมีภาคีอย่าง S.O.S ชี้เป้าให้กทม. อีกรูปแบบเป็นของแห้งที่มีปริมาณเยอะกว่า และได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน บริจาคที่สำนักงานเขต หรือสำนักพัฒนาสังคมที่จัดระบบรวบรวมส่งต่อกรณีธนาคารอาหารของเขตไหนมีสิ่งของไม่พอคล้ายมินิมาร์ท มี ข้าวสาร ไข่ น้ำปลา น้ำตาล เสื้อผ้า และของใช้ในชีวิตประจำวัน โดยนำแต้มที่เขตมอบให้กลุ่มเปราะบางมาแลกของที่ต้องการ มาช็อปปิ้ง   เมื่อก่อนเราแจกถุงยังชีพ สิ่งของในถุงคนเลือกไม่ได้ แต่ธนาคารอาหารให้เกียรติในการเลือกสิ่งที่ต้องการ เป้าหมายต้องช่วยเหลือใหครบ 23,000 คน   “ นายพรพรหม กล่าว

เขตสะพานสูงมีชุมชนมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ  ประวิทย์ ศรีวิเศษ ประธานชุมชนสุเหร่าซีรอ เขตสะพานสูง กล่าวว่า เขตสะพานสูงอดีตชุมชนทำเกษตรกรรม เลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ด และทำไร่ เป็นชาวมุสลิมมากกว่า 70% อย่างไรก็ตาม จากการเติบโตของพื้นที่ มีหมู่บ้านจัดสรรขึ้นมาก ส่งผลให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง การทำเกษตรให้ผลผลิตลดลง ชาวบ้านมีรายได้น้อยลง ศูนย์ BKK Food Bank มีประโยชน์กับกลุ่มเปราะบางในชุมชนโดยตรง สอดรับกับหลักศาสนาอิสลามด้านการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวมถึงการร่วมบริจาคให้กับสังคม  ซึ่งเขตสะพานสูงเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม การบริจาคเครื่องอุปโภคบริโภคที่ศูนย์แห่งนี้มาจากทั้งสุเหร่า วัด และมูลนิธิ  สังคมเกื้อกูลกัน

“ ศูนย์ BKK Food Bank ครบ 50 เขต แล้ว แสดงถึงการไม่แบ่งชนชั้นวรรณะ ผู้ที่มีมากกว่าสามารถสนับสนุนกลุ่มเปราะบาง ส่วนมากเป็นผู้ป่วยติดเตียงและคนยากจนไม่พร้อมทางฐานะ   ประชาชนในกลุ่มนี้ไม่รู้สึกถูกทอดทิ้ง การช่วยเหลือข้าวปลาอาหารแห้ง สิ่งของส่วนใหญ่มีตราฮาลาล ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ แสดงถึงความใส่ใจพี่น้องมุสลิมในพื้นที่ ช่วยลดรายจ่าย ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น “ ประวิทย์ บอกก่อนพาเด็กๆ ชาวสะพานสูงชม ช้อป ในศูนย์ BKK Food Bank สะพานสูงที่มีของกินของใช้ให้เลือกมากมาย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วัน' นำทีมเข้าพบ 'ลุงป้อม' หารือแผนพัฒนากทม. ไร้กังวลคลิปเสียงหลุด

นายวัน อยู่บำรุง สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ โพสต์รูปภาพและข้อความในเฟซบุ๊กว่า "วันนี้ ผม พร้อมด้วย นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช รองโฆษ

'ชัชชาติ' ดันศูนย์ BKK Food Bank ครบ 50 เขต แบ่งปันอาหาร 2 ล้านมื้อถึงกลุ่มเปราะบาง

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีเปิดธนาคารอาหาร หรือศูนย์ BKK Food Bank แห่งที่ 50 โดยมี นายพรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้บริหารด้านความยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร นางสาวมธุรส เบนท์ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตสะพานสูง ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร สำนักพัฒนาสังคม สำนักงานเขตสะพานสูง

ขนทราย 1,500 กระสอบ! ทหารเรือมาแล้ว ระดมกำลังป้องกันน้ำท่วมชุมชน-วัดอรุณฯ

จากสถานการณ์ปัจจุบันปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยายังไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล อย่างไรก็ตาม ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยฐานทัพเรือกรุงเทพมี

กทม. หนุนเสริมทักษะสมองส่วนหน้า (EF) ในเด็กเล็ก ตามนโยบายผู้ว่าฯ “คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น” เปิดตัวโครงการใหม่ “ภาคี ดาว-อีเอฟ พัฒนาเด็กกทม.”

กรุงเทพมหานคร ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับกลุ่มบริษัทดาว ประเทศไทย (Dow) สถาบันรักลูก เลิร์นนิ่งกรุ๊ป

ชาวกรุงอย่าปอด! ดร.ปลอดประสพ มั่นใจ 70% กทม.น้ำมีโอกาสท่วมน้อยมาก

ถ้าถามผมว่า จะทำอย่างไรในสถานการ์ณแบบนี้จึงจะดีที่สุด และเสี่ยงน้อยที่สุด ผมก็จะตอบว่า อย่าหวงน้ำ พร่องได้ ระบายได้ทำเลย น้ำท่วมเสียหายกว่าน้ำแล้งแน่นอน