ส่อง'Mission2023'อุตสาหกรรมปูน ปฏิบัติการลดโลกร้อนที่เป็นจริง

รูปแบบ Green mining ตามนโยบายเหมืองสีเขียว

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับสามรองจากอุตสาหกรรมน้ำมันและอุตสาหกรรมเหล็ก อีกทั้งแนวโน้มอุตสาหกรรมปูน ยังคงเติบโตต่อเนื่อง  เพราะรัฐลงทุนตอกเสาเข็มเมกะโปรเจ็คในประเทศ หากไม่มีมาตรการลดผลกระทบจากการผลิต  ก็จะก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน  

ถ้าผู้ผลิตปูนซีเมนต์ของไทยจับมือกันลดการปล่อยก๊าซตัวการก่อภาวะโลกร้อนจะมีส่วนสำคัญให้ประเทศไทยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้ตามเป้าที่ พล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศเจตนารมณ์ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร  

เหตุนี้ สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA)โดยผู้ผลิตปูนซีเมนต์ของไทยทุกรายในประเทศจึงได้ทำข้อตกลงร่วมกัน ประกาศเป้าหมาย “MISSION2023” ลดก๊าซคาร์บอนด์ไดออกไซด์ให้ได้ 1 ล้านตัน CO 2  ภายในปี 2566 หลังจากประสบความสำเร็จจากมาตรการส่งเสริมใช้“ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก”ที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทดแทนปูนเม็ดในปี 2564 สามารถลดก๊าซได้ 300,000 ตัน CO 2  บรรลุเป้าหมายก่อนปี 2565 ที่ได้ตั้งธงไว้

ชนะภูมี นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย

นายชนะ ภูมี นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย กล่าวว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจประเทศชะงักงันจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 นอกจากปัญหาปากท้อง ประเทศไทยยังเผชิญอุบัติภัยจากน้ำท่วม ภัยแล้งเป็นระยะ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศส่งผลกระทบมากมายต่อสิ่งแวดล้อม จนทุกคนต้องปรับตัว หลายประเทศรวมถึงประเทศไทยตั้งเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจก บนเวที COP26 มีการประกาศเป้าหมายเพิ่มจากข้อตกลงปารีสที่กำหนดขีดจำกัดอุณหภูมิโลก 1.5 องศา ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนต้องดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม TCMAจึงร่วมกับสมาชิกขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกผ่าน 3 แผนงาน1.ลดก๊าซเรือนกระจกจากมาตรการทดแทนปูนเม็ด โดยบูรณาการความร่วมมือภายใต้ “บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการบูรณาการความร่วมมือในการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อประเทศไทยบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก: มาตรการทดแทนปูนเม็ด” ระหว่าง 19 หน่วยงาน

โดยการสนับสนุนของ 5 กระทรวง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  และรายงานความคืบหน้าต่อคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ จนสามารถบรรลุเป้าหมายสามารถลดก๊าซคาร์บอนด์ได้ 300,000 ตัน    เร็วกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในปี 2565 เทียบเท่าปลูกต้นไม้กว่า 31 ล้านต้น เป็นการเปลี่ยนปูนเม็ดมาเป็นปูนไฮดรอลิกเกือบ6 ล้านตัน ซึ่งการนำนวัตกรรมปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกไปใช้ มีการวิจัย พัฒนาและได้มาตรฐาน มอก. 2594

2.ยังมีการดำเนินการการพัฒนาเหมืองหินปูนสู่ความยั่งยืน ขณะนี้โครงการ“เขาวงโมเดล”ที่เป็นการวางผังเหมืองร่วมกันเพื่อใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และ “แก่งคอยโมเดล” ได้รับความเห็นชอบในร่างแผนผังโครงการจากภาครัฐเป็นต้นแบบการทำเหมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ยังมีการพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์พื้นที่ภายหลังการทำเหมืองสิ้นสุด อาจเป็นแหล่งน้ำหรือจุดเรียนรู้สำหรับชุมชนนั้นๆตัวอย่างที่เห็นชัดคือ  เหมืองบ้านแม่ทาน จ.ลำปางซึ่งพัฒนาเป็นแหล่งน้ำ และส่งต่อไปยังบ่อน้ำชุมชนใกล้เคียงให้ได้ใช้ประโยชน์กว่า 250   ครัวเรือน ทั้งนี้ ช่วงปีที่ผ่านมาได้นำน้ำกว่า 1.3 ล้านลูกบาศ์เมตรจากบ่อเหมืองช่วยเหลือบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง ,เหมืองห้วยแร่ จ.สระบุรี เปิดคันขอบเหมืองแร่ดินซีเมนต์ที่สิ้นสุดทำเหมืองแล้วเป็นพื้นที่แก้มลิงกักเก็บน้ำถึง 6.6 ล้าน ลบ.ม.ช่วยป้องกันน้ำท่วมนาข้าวในพื้นที่ว่า 1,000 ไร่บรรเทาความเดือดร้อนช่วงน้ำท่วมที่ผ่านมา  

ถุงใส่ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก  โดยปูนชนิดนี้จะเป็นพระเอกเพราะมีกระบวนการผลิตที่สามารถลดก๊าซเรือนกระจก

3. สร้าง Ecosystem สำหรับการจัดการวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (Waste) สนับสนุนระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน TCMA ส่งเสริมสมาชิกนำ Waste ทั้งจากภาคอุตสาหกรรม ชุมชนและการเกษตรมากกว่า 1.5 ล้านตันต่อปี มาเป็นเชื้อเพลิงในเตาเผาปูนซีเมนต์แบบ Co-processing สมาคมฯร่วมลงนาม MOU กับกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการอ้อยและน้ำตาลทรายนำWaste จากอ้อยมาเผาเป็นเชื้อเพลิง ช่วยสร้างรายได้ให้เกษตรกรและลดปัญหาฝุ่น PM 2.5      

นอกจากนี้ ยังมีโครงการใหม่จะศึกษาความเป็นไปได้นำเศษคอนกรีตจากการก่อสร้างและรื้อถอนมาใช้ประโยชน์ เป็นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและลดการปล่อยก๊าซอีกทาง  

สำหรับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ปี 2564 และแนวโน้มในอนาคตนายชนะให้ภาพรวมว่า  อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทยต้องปรับตัวให้ก้าวข้ามความท้าทายที่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมสภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว การแข่งขันที่เข้มข้นขึ้นการเข้ามาของเทคโนโลยี การพัฒนานวัตกรรมการสนองตอบความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงด้านทรัพยากร สิ่งแวดล้อมด้านสังคม ชุมชนทิศทางความเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ จะสอดคล้องไปกับภาคการก่อสร้างของประเทศ ทั้งของภาครัฐซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และของภาคเอกชนเป็นงานก่อสร้างที่อยู่อาศัยในแนวราบ งานก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมแบ่งเป็นปูนซีเมนต์สำหรับงานโครงสร้างและงานหล่อผลิตภัณฑ์คอนกรีตร้อยละ 89 ปูนซีเมนต์สำเร็จรูป ร้อยละ 10 และปูนซีเมนต์สำหรับงานพิเศษ ร้อยละ 1

“ 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2559-2563) ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศประมาณ 30 – 35 ล้านตันต่อปี คิดเป็นร้อยละ 50 – 60 ของกำลังการผลิตโดยรวม  อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของไทยมุ่งเน้นหนุนการพัฒนาเติบโตของประเทศ   ไม่มีนโยบายผลิตส่งออก  ประเมินอัตราการเติบโตโดยรวมของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ปี 2564 ที่ -1% และปี 2565 เติบโตขึ้น 2%  ทิศทางปี 2565 เราเดินหน้าการลดก๊าซเรือนกระจกตลอดทั้งกระบวนการผลิต การทำเหมืองตามแนวทาง Green Mining ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจควบคู่การดูแลชุมชนโดยบูรณาการขับเคลื่อนอย่างเข้มข้น”นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนฯกล่าว

 เหมืองแม่ทาน จ.ลำปาง ที่มีการพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน หลังสัมปทานเหมืองสิ้นสุด

ส่วนการกำหนด“Mission2023” ตั้งเป้าไว้ว่าในปี 2566   ลดก๊าซจากมาตรการทดแทนปูนเม็ดให้ได้ 1,000,000 ตันCO 2  เทียบเท่าปลูกต้นไม้กว่า 122,000,000 ต้น โดยผู้ผลิตทุกรายพร้อมใจส่งปูนซีเมนต์ลดโลกร้อน ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก  เข้าสู่การใช้งานในวงกว้างทั่วประเทศเพื่อให้การลดก๊าซบรรลุเป้าหมาย และเชิญชวนประชาชนผู้ประกอบการร่วมลดภาวะโลกร้อนด้วยการใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกแทนปูนซีเมนต์ ปอร์ตแลนด์

“ เราจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ 1 ล้านตัน สมาชิกมุ่งมั่นหลังเป้าหมายแรกทำได้ดีและภาครัฐสนับสนุน นอกจากนี้มีแนวคิดยกเลิกปูนโครงสร้างเดิมออกจากตลาดสมาชิกทั้งหมดและนำปูนไฮดรอลิกใช้ทดแทนทั้งประเทศ เป็นปูนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำถือเป็นภาคอุตสาหกรรมแรกของประเทศไทยที่มีโรดแมปชัดเจน ส่วนโครงการคาร์บอนซิงค์มุ่งเน้นฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและปลูกต้นไม้ฟื้นฟูเป็นกระบวนการดูแลพื้นที่เหมืองเป็นสีเขียว “ นายกฯ TCMA กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย จับมือ TOA เดินหน้าพิชิต Net Zero มุ่งใช้นวัตกรรมสีรักษ์โลกลดก๊าซเรือนกระจก (GHG) ยกระดับที่อยู่อาศัย เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

“เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย” ผู้นำการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน จับมือพันธมิตร “TOA” ผู้นำเบอร์หนึ่งในตลาดสีทาอาคาร เคมีภัณฑ์ก่อสร้าง

บีทีเอส กรุ๊ปฯ มุ่งมั่นลดก๊าซเรือนกระจกได้รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ CALO ประจำปี 2567

บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส กรุ๊ปฯ โดย ดร.นลินรัตน์ มาสมบูรณ์ ผู้จัดการฝ่ายอาวุโสฝ่ายพัฒนาเพื่อความยั่งยืน

TCMA ประกาศความสำเร็จจัดประชุม GCCA 2024 ผสานความร่วมมือภาครัฐ-อุตสาหกรรมซีเมนต์ทั่วโลก

สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) ประกาศความสำเร็จจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ครั้งแรกในประเทศไทย “GCCA CEO Gathering and Leader Conference 2024”