ขับเคลื่อน Future Food  สู่เป้า 5 แสนล้าน สอวช.นำร่องรณรงค์องค์กร-สังคมรับ Plant Based

อาหารไทย Plant Based

กล่าวได้ว่าประเทศไทยมีทรัพยากรด้านอาหารที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ และอาหารไทยได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ ซอฟต์เพาวเวอร์ สร้างชื่อเสียงในต่างประเทศมากมายและนับวันจะได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ถ้าพิจารณาในแง่การทำอาหารให้เป็น”อุตสาหกรรม” ให้เป็นอีกหนึ่งเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ถือว่ายังมีช่องว่างที่จะเติมเต็มได้อีกมาก ด้วยเหตุนี้ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)ซึ่งเปรียบเสมือน”หน่วยคิด “มองหาช่องทางพัฒนาเศรษฐกิจด้วยวิจัยและนวัตกรรม จึงได้ศึกษาเกี่ยวกับ Future Food หรืออาหารแห่งอนาคต โดยหวังให้  Plant Based เป็นส่วนช่วยกระตุ้นการเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมอาหารอนาคตของไทย

นางสาวสิรินยา ลิม

นางสาวสิรินยา ลิม ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจนวัตกรรม สอวช. กล่าวว่า กระทรวง อว. โดย สอวช.ได้มีกิจกรรมรณรงค์บริโภคอาหารโปรตีนทางเลือก (Plant Based) ในกิจกรรมและการประชุมภายในองค์กรเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นให้คนไทยหันมาบริโภคอาหารประเภท Plant Based เพิ่มมากขึ้น นำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต หรือ Future Food ของไทยให้ได้ 500,000 ล้านบาท ในปี 2570 ทั้งนี้ ข้อมูลจาก EAT Lancet ซึ่งเป็นกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านโภชนาการการเพาะปลูก และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลก ที่ระบุว่า แม้คนไทยจะทานเนื้อสัตว์น้อยกว่าหลายประเทศ แต่ก็ยังมีการบริโภคมากกว่าที่ร่างกายต้องการ และเป็นสาเหตุของโรค NCDs หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ฯลฯ


นอกจากนี้ภาคการเกษตรยังมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) คิดเป็น 1/3 ของทั้งหมด โดย 2/3 ของ GHGที่ภาคเกษตรสร้างขึ้นนั้น มาจากปศุสัตว์หรือการผลิตโปรตีนสัตว์ ดังนั้น  เราจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนผ่านระบบการผลิตอาหารของเราให้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลง มีความหลากหลายมีประโยชน์ต่อสุขภาพและทุกคนเข้าถึงได้โดยข้อดีของอาหาร Plant Based ในด้านสุขภาพ คือ มีแคลอรี่ต่ำ คลอเรสเตอรอล 0% อีกทั้งยังมีวิตามินและไฟเบอร์

“นอกจากนี้ ในด้านสิ่งแวดล้อม กระบวนการในการผลิต Plant Based มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าการผลิตเนื้อสัตว์ถึง 10เท่า และใช้พื้นที่ น้ำ อาหาร น้อยกว่าการเลี้ยงสัตว์ ในด้านเศรษฐกิจช่วยส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออก Future Food ซึ่งจะสร้างรายได้ให้เกษตรกรผลิตวัตถุดิบใหม่ ๆได้อีกด้วย”ผอ.อาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจนวัตกรรมกล่าว


นางสาวสิรินยา กล่าวว่า สอวช. ได้ร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในการจัดกิจกรรมที่มีการบริโภคอาหาร PlantBased ในสัดส่วน 30% จากอาหารทั้งหมด โดย สอวช. ได้เริ่มต้นรณรงค์เรื่องนี้จากภายในองค์กร ด้วยการบริโภคอาหารPlant Based ในกิจกรรมและการประชุมภายในองค์กร ในสัดส่วนอย่างน้อย 30% ของมื้ออาหารปกติเพื่อสร้างความตระหนักและเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมและสนับสนุนเป้าหมายการสร้างมูลค่าอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคตอย่างจริงจังอย่างไรก็ตาม สอวช. ขอเชิญชวนหน่วยงานต่าง ๆ ที่สนใจ ร่วมขับเคลื่อนส่งต่อแนวคิดจัดกิจกรรมการบริโภคอาหารPlant Based ตามนโยบายข้างต้น  เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคตของไทยไปด้วยกัน

“สอวช. เริ่มด้วยการจัดเมนูอาหารว่างและอาหารกลางวันในช่วงการประชุมภายในองค์กรให้กับพนักงานได้ลองรับประทาน ซึ่งในเบื้องต้นได้จัดอาหาร Plant Based ในสัดส่วน 30% ของเมนูอาหารปกติ  ซึ่งในปัจจุบันมีเมนูอาหาร Plant Based จากผู้ประกอบการไทยให้เลือกสรรมากมาย มีรสชาติอร่อย และดีต่อสุขภาพอาทิ โดนัท ที่ทำจากนมข้าว น้ำถั่วชิคพี เกี๊ยวซ่า ไก่ป๊อบ ที่ทำจากถั่วเหลือง และปรุงรสชาติด้วยหัวหอม กระเทียม  กุยช่าย ข้าวผัดเขียวหวานไก่ ทำจากโปรตีนถั่วเหลือง ข้าวผัดมีส่วนผสมของพริกแกงเขียวหวานเจ  น้ำปลาวีแกนที่ทำจากเห็ด และน้ำตาลดอกมะพร้าว สปาเก็ตตี้โบโลเนส ทำจากโปรตีนถั่วเหลือง  ซอสมีส่วนผสมของมะเขือเทศสด ซอสมะเขือเทศเข้มข้น น้ำมันมะกอก ปรุงรสด้วยเกลือ พริกไทย และสมุนไพร ซึ่งพนักงานต่างให้ความสนใจเกี่ยวกับวัตถุดิบที่ใช้ทำอาหารและชื่นชอบในรสชาติอาหารอย่างมาก” นางสาวสิรินยา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รมว. ปุ๋ง ชวนเที่ยวงาน‘อาหารไทยถิ่น กินด้วยภูมิปัญญา’ ครั้งแรกเปิดตัวโลโก้-เพลง Thailand Best Local Food

2 ก.ค.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)

นายกฯ เดินหน้ายกระดับไทย สู่การเป็นศูนย์กลางฮาลาลอาเซียน ปี 2570

นายกรัฐมนตรี ผลักดันศักยภาพสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาหาร และเตรียมความพร้อมด้านความมั่นคงทางอาหารของโลก ผ่านมาตรการ กลไกการผลิตและการค้าสินค้าเกษตรและอาหาร

'นายกฯ' ดันอาหาร-วัตถุดิบไทย ส่งออกบุกตลาดจีน หลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารไทย โดยเฉพาะเครื่องปรุงรสไทยให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น เพิ่มมูลค่าวัตถุดิบจากท้องถิ่น สู่การส่งออกในตลาดต่างประเทศ ยกระดับรายได้ผู้ประกอบการอาหารไทย พร้อมสนับสนุนแนวทางให้แก่ผู้ประกอบไทยที่สนใจตลาดจีน พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในจีน