เปิดประเพณี'กวนอาซูรอ'ชายแดนใต้

ทุกศาสนาของโลก พุทธ คริสต์ อิสลาม สืบทอดมายาวนานจนทุกวันนี้ เพราะเปิดทางให้ผู้ศรัทธาและผู้สนใจศึกษาได้เรียนรู้และนำหลักศาสนามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและสร้างสังคมที่เข้มแข็ง ศาสนาอิสลามในคัมภีร์อัลกุลอารหลักคำสอนให้คำนึงถึงการแบ่งปัน โดยมีการส่งต่อวัฒนธรรมทางศาสนาอิสลามผ่านประเพณีกวนอาซูรอ ช่วยสร้างความสามัคคี ถือเป็นประเพณีที่มีตั้งแต่ในยุคสมัยของนบีนุฮฺที่อัลกุรอานกล่าวถึงเกิดน้ำท่วมโลก บรรดาสาวกของนบีนุฮฺและผู้คนขาดอาหาร นบีนุฮฺประกาศให้ผู้ที่มีสิ่งของเหลือพอรับประทานได้ ให้เอามากองรวมกันแล้วกวนเข้าด้วยกัน ทำให้ได้กินอาหารรอดชีวิตโดยทั่วกัน

เรื่องราวของกวนอาซูรอยังกล่าวถึงสมัยมัยนบีมุฮัมมัด ขณะที่กองทหารกลับจากการรบที่บาดัร ปรากฏว่าอาหารไม่พอกิน จึงใช้วิธีการของนบีนุฮฺ ให้ทุกคนเอาข้าวของที่กินได้มากวนเข้าด้วยกันแล้วแบ่งกันกินในหมู่ทหาร ประเพณีสืบทอดมาทุกวันนี้

การกวนข้าวอาซูรอ หรือ ขนมอาซูรอ เป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คำว่า “อาซูรอ” เป็นภาษาอาหรับ หมายถึง วันที่ 10 ของเดือนมุฮัรรอม เป็นเดือนแรกของปฏิทินอาหรับ ถือเป็นช่วงเวลาปีใหม่ของชาวมุสลิม มีรากศัพท์จากภาษาอาหรับ แปลว่า การผสมหรือรวมกัน หมายถึง คือ การนำสิ่งของที่รับประทานได้หลายสิ่งหลายอย่างมารวมกัน มีทั้งชนิดคาวและชนิดหวานไม่ได้เป็นพิธีกรรมหรือศาสนกิจที่บังคับให้ชาวมุสลิมต้องปฏิบัติ แต่ทำเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต 

ประเพณีชาวมุสลิมที่เต็มไปด้วยคุณค่าและความหมายนี้ กรมการศาสนา (ศน.) จับมือจังหวัดนราธิวาสและเครือข่ายศาสนิกสัมพันธ์ จัดงานสืบสานประเพณีโครงการอาซูรอสัมพันธ์และต้อนรับปีใหม่ฮิจเราะห์ศักราช 1446 ขึ้นที่จังหวัดนราธิวาสโดยมี นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา เป็นประธาน พร้อมด้วยนายสิทธิชัย สวัสดิ์แสน รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส นายซาฟีอี เจ๊ะเลาะ ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส ผู้แทนองค์การทางศาสนาในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค องค์กรเครือข่าย และศาสนิกชนในพื้นที่ ณ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส อำเภอเมืองนราธิวาส เข้าร่วม อย่างพร้อมเพรียง

ชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดี ศน. กล่าวว่า ประเพณีการกวนข้าวอาซูรอจะใช้คนในหมู่บ้านมาช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพื่อความสามัคคีและสร้างความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อันมีผลต่อการอยู่ร่วมกันของสังคมอย่างมีความสุข ก่อนจะแจกจ่ายให้คนทั่วไปรับประทานกัน ปัจจุบันชาวมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนใต้ยังคงมีประเพณีการกวนอาซูรออยู่ตามแต่ละชุมชนดังนั้นเพื่อเป็นการสืบสาน รักษาและต่อยอดประเพณี วิถีชีวิตที่ดีงาม ศน.จึงร่วมกับจังหวัดนราธิวาสและพี่น้องมุสลิมนราธิวาสสืบสานประเพณีผ่านการประกวดอาซูรอสัมพันธ์ ถือเป็นการประกวดครั้งแรกจากทุกอำเภอใน จ.นราธิวาส แบ่งเป็นประเภทดั้งเดิมและประเภทฟิวชั่นยอดเยี่ยม ผู้เข้าประกวดเป็นกลุ่มสตรี กลุ่มผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น เครือข่ายสภาวัฒนธรรม เครือข่ายชุมชนคุณธรรม 

“ สำหรับขนมอาซูรอทำมาจากการนําวัตถุดิบที่รับประทานได้มากวนรวมกัน ได้แก่ เครื่องแกง ข้าวสาร น้ำตาล กะทิ และวัตถุดิบอื่น ๆ ที่กินได้ เช่น มัน กล้วย ผลไม้ เนื้อสัตว์ ไข่ เป็นประเพณีที่สำคัญชาวมุสลิมปฏิบัติสืบต่อยาวนานนับพันปี เริ่มจากเจ้าภาพประกาศเชิญชวนชาวบ้านว่า จะมีการกวนขนมเมื่อถึงวันนัดหมาย ชาวบ้านจะนำเครื่องปรุงขนมมารวมกันและช่วยกันกวน เมื่อเสร็จแล้ว เจ้าภาพจะเชิญบุคคลที่นับถือของชุมชนขึ้นมากล่าวขอพร (ดุอาอ์) ก่อน จึงจะแจกให้รับประทานกัน ประเพณีนี้ส่งเสริมให้ทุกคนรักและสามัคคีกัน สร้างความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ปัจจุบันในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังจัดเป็นงานประเพณีกวนขนมอาซูรอขึ้นในชุมชนเป็นประจำทุกปี “ นายชัยพล กล่าว

บรรยากาศการแข่งขันกวนขนมอาซูรอชาวมุสลิมต่างช่วยกันทำด้วยความตั้งใจ ชมรมอิหม่าม คอเต็บ บิหลั่นอำเภอจะแนะ จ.นราธิวาส คว้ารางวัลชนะเลิศประเภทฟิวชั่นยอดเยี่ยม ผู้แทนชมรมอิหม่ามฯ เผยความรู้สึกดีใจมากที่ได้รางวัลชนะเลิศ ยินดีที่กรมการศาสนาจัดกิจกรรมในภาพรวมของจังหวัด ปกติจะแยกกันทำแต่ละชุมชน หัวใจสำคัญความสำเร็จในการทำขนมอาซูรอของอำเภอจะแนะ คือ ความสามัคคีของคนในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นเยาวชน ผู้นำชุมชน อิหม่าม และพี่น้องในชุมชน ต่างช่วยกันคิดและช่วยกันทำด้วยความเต็มใจ ทำให้เกิดขนมอาซูรฟิวชั่น อยากชวนทุกคนมาเที่ยวอำเภอจะแนะ ตามคำขวัญที่ว่า “อำเภอจะแนะ แวะแล้วจะรัก”  

ด้านชมรมอิหม่าม คอเต็บ บิหลั่นอำเภอศรีสาคร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 ประกวดขนมอาซูรอประเภทฟิวชั่น ผู้แทนชมรมจากศรีสาคร กล่าวว่า อำเภอศรีสาครทำอาซูรอมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษและทำเป็นประจำทุกปี จุดเด่นเราจะใช้กะทะสำหรับทำอาซูรอโดยเฉพาะเป็นกะทะที่มีความหนามากกว่ากะทะที่ใช้ทำอาหารทั่วไป ทำให้ไม่มีรสชาติและกลิ่นของอาหารอื่นๆ เจือปน จนได้ขนมอาซูรอตามประเพณี

ภายในงานจัดกิจกรรมศาสนิกสัมพันธ์เปิดพื้นที่ให้ผู้นำศาสนาส่วนกลางและส่วนภูมิภาคได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานในมิติศาสนา ส่งเสริมความรัก สามัคคีและการอยู่ร่วมกันของคนชายแดนภาคใต้ มีการแสดงศิลปวัฒนธรรม“กอซีเดาะห์” และ “Silat Gayong”  ประกวดร้องเพลงอนาซีด ประกวดทดสอบเสียงอาซาน การสาธิตและจำหน่ายสินค่าภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ร่วมงานจำนวนมาก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พิกัด 11 วัด งานอารามอร่ามประดับไฟรับปีใหม่

เพื่อส่งมอบความสุขปลายปีและเสริมสิริมงคลแก่ชีวิต กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) จัดกิจกรรม “อารามอร่าม 11 วัด 1  โบสถ์พราหมณ์1 พิพิธภัณฑ์ ประดับไฟฉลองต้อนรับเทศกาลปีใหม่ 2568 “ ถือเป็นอีกหมุดหมายที่ห้ามพลาดและไม่ได้จัดเป็นประจำ เพราะ

วธ.จัดกิจกรรมถวายพระราชกุศล ร.9

28 พ.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ องค์การทางศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาซิกข์และกลุ่มภาคีเครือข่ายจัด “กิจ

ศน.ชวนแจ้งความประสงค์ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐิน 9 พระอาราม

ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณ และพระราชานุญาตให้กระทรวง กรม หน่วยงานองค์กร คณะบุคคล และเอกชนที่มีความประสงค์ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐินพร้อมเครื่องบริวารพระกฐิน เพื่อน้อมนำไ

'นวราตรี' พื้นที่ของทุกศาสนา

หนึ่งปีมีครั้งเดียวเทศกาล “นวราตรี” ถือเป็นช่วงเวลาที่ชาวฮินดูบูชาพระแม่อุมาเทวีจากความเชื่อตามตำนานที่พระแม่อุมาเทวีในร่างอวตารเป็นองค์ “พระแม่ทุรคา“ ปราบอสูรชื่อว่า “มหิษาสูร” ที่สร้างความเดือดร้อนวุ่นวายไปทั่วได้สำเร็จ หลังสู้รบกันมา 9 วัน 9 คืน

รุ่นใหม่วัยเยาว์ 5 ศาสนา ท่อง'กะดีจีน'

ชุมชนกะดีจีนหรือชุมชนกุฎีจีนถือเป็นชุมชนที่อยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางความวัฒนธรรมและความเชื่อมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ย่านนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับทุกวัยและทุกศาสนา ในพื้นที่มีชุมชนและศาสนสถานแต่ละศาสนา ทั้งพุทธ คริสต์ อิสลาม เพื่อส่งต่อเรื่องราวพหุวัฒนธรรม เยาวชนรุ่นใหม่จาก 5 ศาสน