ผลการจัดอันดับดัชนีนวัตกรรมโลก (Global Innovation Index) ในปี 2566 ภายใต้ธีมผู้นำนวัตกรรมท่ามกลางความไม่แน่นอน ที่เป็นผลมาจากความผันผวนทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ รวมถึงความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์ที่ยังคงส่งผลกระทบต่อนวัตกรรมในห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งประเทศไทยก็ยังสามารถรักษาอันดับที่ 43 คงเดิมจากปีที่แล้วเอาไว้ได้ เห็นถึงสัญญาณการเตรียมพร้อมเพื่อเติบโตอย่างก้าวกระโดด
แต่เป้าหมายที่ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ได้ตั้งเป้าไว้คือการผลักดันนวัตกรรมไทยสู่อันดับ 1 ใน 30 ของโลกให้ได้ภายในปี 2575 เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดย NIA ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ ภายใต้แนวคิด Create the Dot – Connect the Dot – Value Creation ผ่านกลไก Groom Grant Growth และแนวทาง 2 ลด 3 เพิ่ม ได้แก่ ลดความเหลื่อมล้ำ ด้วยการมุ่งเน้นนวัตกรรมแบบเปิดผ่านการเปิดรับแนวคิดใหม่จากสตาร์ทอัพและเอสเอ็มอี เพื่อเติมเต็มจุดอ่อนหรือปัญหาด้านสังคมและเศรษฐกิจให้มากขึ้น ลดอุปสรรคการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมให้กับทุกภาคส่วน และแก้ไขกฎระเบียบที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการเติบโต
เพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชน เพิ่มจำนวนนวัตกรและผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม เพื่อให้เกิดการจ้างงาน การเพิ่มขึ้นของ GDP และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ชาตินวัตกรรม รวมถึงเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม ให้มีโอกาสขยายตลาด และสร้างแบรนด์นวัตกรรมสัญชาติไทยที่พร้อมแข่งขันกับนวัตกรรมจากต่างประเทศ
จากที่กล่าวข้างต้นการพานวัตกรรมไทยไปสู่ตลาดโลกจึงไม่ใช่แค่การพัฒนาภายในประเทศ แต่ยังต้องเรียนรู้โมเดลจากประเทศที่เป็นชาตินวัตกรรม โดยทาง NIA ได้จัดเสวนา 15 ปี สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ทิศทางก้าวสู่ปีที่ 16 กับความร่วมมือระดับนานาชาติส่งออกผู้ประกอบการนวัตกรรมไทยสู่ตลาดโลก ที่ระดมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านระบบนิเวศนวัตกรรมทั้งไทยและต่างประเทศ ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ มุมมอง และประสบการณ์ในหลากหลายประเด็น ที่จะนำไปต่อยอด และขยายผล เพื่อให้เกิดนวัตกรรม ที่สามารถสร้างผลกระทบสูงต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมไทย
ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า ตลอดระยะวลา 15 ปีที่ NIA มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบนวัตกรรมแห่งชาติ โดยได้ให้ทุนผู้ประกอบการไปกว่า 3,500 ล้านบาท จำนวน 3,133 โครงการ ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนกว่า 50,000 ล้านบาท โดยการให้ทุนผู้ประกอบการของ NIA จะไม่ได้เข้าไปเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์หรือทรัพย์สินทางปัญญา(IP) จึงทำให้ผู้รับทุนสร้างมูลค่าการลงทุนหรือต่อยอดผลงานในการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดความอยากในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในหลายประเทศที่สนับสนุนสตาร์ทอัพในการพัฒนานวัตกรรมปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จคือ การมองตลาดต่างประเทศเป็นหลัก ดังนั้นไทยจะต้องมีการกำหนดอุตสาหกรรมที่ชัดเจนในการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปตลาดต่างประเทศ โดยในปีนี้เป็นปีที่ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนภายใต้แนวคิดได้แก่ Groom Grant Growth และปีนี้ได้เพิ่ม Global เป็น 4G ซึ่งจะเน้นหนัก เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการให้เติบโตในตลาดต่างประเทศมากขึ้น
“จุดอ่อนของนวัตกรรมไทยคือ การพัฒนาขึ้นมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในประเทศยังยากอยู่ แม้จะมีการขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรม กับทางสวทช. หรือการรับรองสินค้า Made in Thailand กับสภาอุตสาหกรรม แต่จุดสำคัญคือการสนับสนุนให้เกิดการใช้นวัตกรรมไทยทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จะช่วยให้เกิดความต้องการของตลาดภายในประเทศ ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีโอกาสเติบโต และเก็บเป็นผลงานให้ภาครัฐนำไปขายสินค้าและบริการในตลาดต่างประเทศได้ รวมถึงมีการกำหนดทิศทางกลยุทย์ะแนวทางปฏิบัติการขับเคลื่อนที่ระบุชัดเจน นำไปสู่ความร่วมมือกับต่างประเทศที่จะพานวัตกรรมไทยประสบความสำเร็จในตลาดโลก” ผอ.NIA กล่าว
ปรับโมเดลนวัตกรรมไทยให้มีศักยภาพ เป็นอีกหนึ่งทางออกที่่ช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมไทย ผอ.NIA แสดงความเห็นว่า จากการรับฟังแนวทางการขับเคลื่อนของชาตินวัตกรรม ที่ผลมีการจัดอันดับดัชนีนวัตกรรมโลกอยู่ในอันดับต้นๆ อย่าง สวีเดน อันดับที่ 3, สิงค์โปร์ อันดับที่ 5, จีน อันดับที่ 12 และลิทัวเนีย อันดับที่ 34 ซึ่งลิทัวเนีย เป็นประเทศที่มีขนาดเล็กกว่าไทยเยอะมาก แต่สามารถผลักดันโมเดลนวัตกรรมให้อยู่อันดับสูงได้ เพราะความแข็งแกร่งในการพัฒนาผู้ประกอบการ ผลิตภัณฑ์ และที่สำคัญคือ การมองตลอดต่างประเทศเป็นหลัก เห็นได้ชัดจากที่ลิทัวเนียมีผู้ประกอบการด้าน FinTech มากถึง 400 ราย ส่วนไทยมีประมาณ 70-80 ราย ดังนั้นลิทัวเนียจึงมองเห็นแนวทางในการร่วมมือกับไทยสร้าง FinTech Hub โดยเฉพาะเรื่อง Cyber Security และด้านไลฟ์สไตล์ ที่ไทยมีความเก่งทางด้านนี้ ซึ่งอาจจะมีข้อตกลงในด้านการลงทุนคือ ต้องลงทุนบริษัทไทยหรือสตาร์ทอัพไทย เพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้ เป็นการขยายตลาดผ่านการร่วมลงทุนระหว่างประเทศ
ส่วนประเทศสวีเดน ที่จะมีการขยายตลาดนวัตกรรมด้าน Climate Tech ร่วมกัน เพราะสวีเดนมีการคิดค้นพัฒนานวัตกรรมด้านการวัดค่าการปล่อยคาร์บอน ที่อาจจะครอบคลุมเกี่ยวสภาวะโลกร้อน ในอนาคตก็จะเกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกัน ซึ่งขณะนี้ไทยได้เริ่มพัฒนาเพื่อให้เกิดสตาร์ทอัพในกลุ่มนี้มากยิ่งขึ้น โดยความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เป้าหมายการขยายตลาดนวัตกรรมไทยไปตลาดต่างประเทศในปีนี้ ผอ.NIA กล่าวว่า การขยายตลาดนวัตกรรมเกษตร ที่คนไทยถือว่ามีศักยภาพอย่างมาก ไปยังประเทศที่ต้องการอย่าง แอฟริกาใต้ ตะวันออกกลาง ที่มีความต้องการในการเรียนรู้การทำเกษตร ไทยสามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่าการขยายไปยังตลาดยุโรป เพราะเทคโนโลยียังไม่สามารถแข่งขันได้ หรือ อุตสาหกรรม Health Tech ในกลุ่มผู้สูงอายุไปยังประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้, medical Tech และ AI ลุกตลาดเยอรมนี, Smart City ในตลาดออสเตรเลีย ซึ่งประเทศเหล่านี้ไม่เพียงแค่การขยายตลาด แต่เป็นเรียนรู้กลุ่มเป้าหมายและองค์ความรู้ในการกลับมาพัฒนานวัตกรรมของไทย
การส่งเสริมผู้ประกอบการออกสู่ตลาดเกาหลีใต้ ณัฐวัฒน์ จารุโชคทวีชัย ผู้จัดการสำนักงานประเทศไทย Y&ARCHER ว่า ภาพรวม Startup Ecosystem ของตลาดเกาหลีใต้ ที่มีกระทรวง SME และ Startup ในการควบคุมดูแลโดยมีสตาร์ทอัพเกาหลีใต้ที่จดทะเบียนกว่า 650,000 ราย มีมูลค่ากว่า 211 พันล้านเหรีญสหรัฐ และมี Unicorn ถึง 22 สตาร์ทอัพ ซึ่งนับว่าเป็นตลาดที่ค่อนข้างใหญ่ อย่างไรก็ตามแม้จะมีบริษัทใหญ่ที่สัดส่วน GDP มากถึง 70% แต่มีการจ้างงานเพียง 5% รัฐบาลเกาหลีใต้จึงได้สร้างสตาร์ทอัพขึ้นมาเพื่อช่วยให้คนมีงานทำ เพราะสตาร์ทอัพที่จัดตั้งขึ้น 1 บริษัท ต้องจ้างพนักงานอย่างน้อย 5-10 คน
ณัฐวัฒน์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ผู้ประกอบการที่จะเข้าไปขยายตลาดจะต้องไม่ลงทุนในด้านที่แข็งแกร่งของเกาหลีใต้ เช่น ไอซีที ไฟฟ้า เครื่องกล ชีวภาพ/เครื่องมือแพทย์ ซึ่งขณะนี้รัฐบาลเกาหลีใต้ได้ทำให้สตาร์ทอัพโตในประเทศ จุดหมายต่อไปคือการไปสู่ตลาดโลก โดยดึงสตาร์ทอัพจากต่างประเทศเข้ามามีส่วนร่วม ผ่านโปรแกรม K-STARTUP Grand Challenge และ COMEUP Stars ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น ดังนั้นการพาสตาร์ทอัพไทยไปสู่ตลาดเกาหลีใต้โดยการผ่านความร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัยหรือองค์กร ซึ่งคาดว่าในปีนี้จะมีการลงทุนสตาร์ทอัพเพิ่ม 3 ราย และปีหน้าเพิ่มเงินลงทุนเป็น 2 เท่า และมองว่าในอนาคตทั้งสตาร์ทอัพไทยและเกาหลีสามารถร่วมมือกันได้ในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
NIA ดึง 7 หน่วยงานลงนามร่วมยกระดับระบบนิเวศนวัตกรรมไทย สร้างเครือข่ายความร่วมมือในงาน SITE2024
22 กรกฎาคม 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ดึง 7 หน่วยงาน ลงนามบันทึกข้อตกลง และบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมในหลากหลายมิติต่าง ทั้งการพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรม
“ศุภมาส” เผยศักยภาพไทยพร้อมก้าวสู่การเป็น “ศูนย์กลางด้านอาหารแห่งอนาคตของภูมิภาค” พร้อมร่วมยินดีเอกชนสัญชาติไทยนำ วทน. ขับเคลื่อนธุรกิจสู่เวทีโลก
เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงานแถลงข่าวเปิดตัวนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงและผลิตภัณฑ์วูล์ฟเฟีย ซึ่งจัดโดยบริษัทแอดวานซ์ กรีนฟาร์ม จำกัด
2567 ประเทศไทย กับ AI ไม่ใช่กระแสวูบวาบ แต่จะอยู่กับเราตลอดไป
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่ทำให้ตอนนี้ เรื่องของ AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ดูจะเริ่มใกล้ตัวคนเรา เข้ามามากขึ้นทุกที จนทำให้ต่อไปในอนาคต คำว่า สังคมปัญญาประดิษฐ์ ดูจะเป็นเรื่องที่อยู่ไม่ไกลจากตัวเรา