สำนึกความเป็นศิลปินแห่งชาติ 'ครูรัจนา-ครูประเมษฐ์ '

อาจารย์ประเมษฐ์ บุณยะชัย และครูเล็ก -รัจนา พวงประยงค์ สองศิลปินแห่งชาติ สาธิตการรำ

เป็นอีกปีที่เหล่าบรรดาศิลปินแห่งชาติ ได้ทำกิจกรรมศิลปินแห่งชาติสัญจร  เพื่อถ่ายทอดความรู้ และปลุกพลังการสร้างสรรค์งานศิลปะ ให้แก่เยาวชน ซึ่งมีทั้งนักเรียน นักศึกษา บุคคลที่สนใจ  โดยปีนี้กิจกรรมสัญจรมีขึ้นภาคเหนือ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 15-26 สิงหาคมที่ผ่านมา  และนับว่ากิจกรรมประสบความความสำเร็จ เพราะมีเยาวชนภาคเหนือ ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมมากถึง600 คน

นางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม(สวธ.)ในฐานะหน่วยงานหลักที่ขับเคลื่อนโครงการ กล่าวในพิธีเปิดกิจกรรมว่า  กิจกรรมถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ ศิลปินแห่งชาติสัญจร เป็นโครงการที่สำคัญในการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และเป็นการเปิดโอกาสให้เยาวชนได้รับความรู้และแรงบันดาลใจ ประสบการณ์การสร้างสรรค์งานศิลปะจากศิลปินแห่งชาติทั้ง 3 สาขา ได้แก่ ทัศนศิลป์ วรรณศิลป์ และศิลปะการแสดง และเป็นเรื่องน่ายินดีที่มีศิลปินแห่งชาติมาร่วมกิจกรรมสัญจรมากถึง 20คน

นางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดี สวธ. กล่าวเปิดงาน


นอกจากนี้ในงานยังได้จัดแสดงผลงานประณีตศิลป์ด้านผ้าไทย เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนได้สัมผัสกับมรดกทางวัฒนธรรมและสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ
ด้านนางมาดา กระดังงา ผอ.หออัครศิลปิน กล่าวเสริมว่า การถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ เป็นกิจกรรมที่หออัครศิลปินให้ความสำคัญและดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเผยแพร่ผลงานและองค์ความรู้ของศิลปินแห่งชาติไปยังเยาวชนและผู้สนใจ” ประกอบด้วยฐานกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะ 8 ฐาน ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรมและสื่อผสม ภาพพิมพ์ สถาปัตยกรรม ศิลปะผ่านเลนส์ วรรณศิลป์ศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย-ละคร) และศิลปะการแสดง (ดนตรีและการขับร้อง) โดยมีวิทยากรที่มีชื่อเสียงร่วมถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้กับเยาวชน ประกอบไปด้วย ศิลปินแห่งชาติ 3 สาขา และเครือข่ายครุศิลปะที่มีชื่อเสียง อาทิ อาจารย์วนิดา พึ่งสุนทร  อาจารย์วรนันทน์ ชัชวาลทิพากร ครูประยงค์ ชื่นเย็น  อาจารย์ธงชัย รักปทุม ครูรัจนา พวงประยงค์ อาจารย์เจริญ มาลาโรจน์ (มาลา คำจันทร์) อาจารย์ชมัยภร บางคมบาง (แสงกระจ่าง) อาจารย์ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี  ครูสุดา ชื่นบาน และอาจารย์วินัย พันธุรักษ์ พร้อมด้วย อาจารย์นพเกล้า ศรีมาตย์กุล ผู้ทรงคุณวุฒิ และรองศาสตราจารย์ปกรณ์ภัทร์ จันทะไข่สร  ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีผลงานดีเด่นโครงการครุศิลปะ เป็นต้น

อ.ธงชัย รักประทุม สาธิตจิตรกรรม

“กิจกรรมศิลปินแห่งชาติสัญจร  ที่สวธ.จัดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อเปิดโอกาสนี้ให้น้อง ๆ เยาวชน ในส่วนภูมิภาคที่สนใจและชื่นชอบในงานศิลปะแขนงต่าง ๆ ได้ใกล้ชิดกับศิลปินแห่งชาติในดวงใจ พร้อมทั้งได้รับความรู้ ประสบกาณ์อันมีค่าจากศิลปินแห่งชาติผู้เป็นดั่งครูผู้ให้ที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งจะก่อให้เกิดแรงบันดาลใจและพลังในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น และร่วมกันสืบทอดมรดกองค์ความรู้ที่สำคัญของศิลปินแห่งชาติให้อยู่คู่ประเทศชาติสืบไป  โอกาสดี ๆ แบบนี้ไม่ได้มมาบ่อย ๆ “ผอ.หออัครศิลปินกล่าว

เด็กๆเรียนรู้จากฐานกิจกรรม

ในบรรดาฐานกิจกรรมต่างๆ ในสาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย-ละคร) ได้รับความสนใจจากเยาวชนประมาณกว่า 100คน ซึ่งถือว่ามากที่สุดในบรรดาฐานต่างๆ คุณแม่ รัจนา พวงประยงค์  นายประเมษฐ์ บุณยะชัย (นาฏศิลป์ – โขน) เป็นศิลปินแห่งชาติที่ถ่ายทอดความรู้ให้กับบรรดาเยาวชนในฐานนี้

 โดยครูเล็ก หรือคุณแม่รัจนา พวงประยงค์ในวัย 84 ปี นับว่าอาวุโสที่สุดในบรรดาศิลปินแห่งขาติที่ร่วมสัญจร  ในปีนี้ แต่การร่วมกิจกรรมไม่ใช่ครั้งแรกของครูเล็ก เพราะท่านออกเดินสาย ถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้ให้กับเด็กๆ ที่มีตั้งแต่ระดับประถม ไปจนถึงมัธยมฯ ตั้งแต่ปีแรกที่ได้รับยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ด้วยปณิธานว่า อยากถ่ายทอดประสบการณ์ที่ตนได้รับ ตั้งแต่เริ่มแรกที่รำไม่เป็นและมีครูคอยสอนสั่ง  คอยพร่ำบอกว่าไม่ให้ดูแค่ท่าเท่านั้น  แต่ต้องดูตั้งแต่หัวจรดเท้า จึงอยากเก็บประสบการณ์เหล่านี้มาสู่เด็กๆ  เรื่องความเหน็ดเหนื่อยไม่ต้องพูดถึงเพราะอายุ 84 ปี แล้ว แต่ด้วยความเคยชินของการเป็นนางรำนาฎศิลป์ ที่ออกแสดงเสมอๆ สมัยก่อนกว่าจะเลิกสองยามตีหนึ่ง ก็ใช้ความเคยชินอันนี้มาช่วยสอนเด็กๆ แต่สิ่งที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ  ความละอายที่ได้เงินเดือนทุกเดือนในฐานะศิลปินแห่งชาติ ที่เป็นภาษีของเด็กๆผู้ปกครองเด็กเอามาให้ ทำให้ต้องสอนเด็กๆต่อไป

ครูระจนา พวงประยงต์ แสดงเดี่ยวการร่ายรำ

” ถ้าถามว่าแม่ไหวมั๊ย  ก็ต้องบอกว่าใจบันดาลแรง เพราะเมื่อใดที่เรากวาดสายตาไปเห็นเด็กๆ  เห็นแววตาบริสุทธิ์ของพวกเขา ที่กระตือรือร้น อยากเรียนรู้  เด็กส่วนมากเป็นเด็กคอซอง บางคนเข้ามาบอกว่าขอกอดครูได้มั๊ย แล้วเขาไปลงคลิป บอกว่าวันนี้โชคดี ได้กอดยายเล็ก  เท่านี้ก็สร้างกำลังใจให้กับเรา ไม่กลัวว่าจะไหวหรือไม่ไหว  เพราะสิ่งที่เด็กๆ ให้เรา ได้ปลุกความเป็นครู ทำให้เราทรุดไม่่ได้ แม่จึงพยายามเข้าร่วมกิจกรรมศิลปินแห่งชาติสัญจรเกือบทุกครั้ง ” แม่รัจนา เล่าน้ำเสียงสั่นเครือ และน้ำตาคลอเบ้า

เทคนิคการสอนของครูเล็ก ที่ต่างวัยกับเด็กๆ ยุคนี้มาก ครูเล็กบอกว่า บางครั้งต้องแก้สถานการณ์เฉพาะหน้า เพราะเด็กบางคนมีใจ แต่ไม่มีหัวพื้นฐานด้านนาฎศิลป์มาก่อน โดยการนำเพลงสมัยปัจจุบัน อย่างเพลงพระราชนิพนธ์มาทำเป็นระบำฉิ่ง หรือเพลงสากลบางเพลงก็ปรับให้มาเป็นการรำไทย ผสมผสานกันของใหม่กับเก่า อย่างช่วงเดือนสิงหาคม เป็นเดือนแห่งวันแม่ ก็นำระบำดอกบัวมาสอนเด็กๆ โดยถวายสมเด็จพระพันปีท่าน

ระบำดอกบัว ที่ครูรัจนา พวงประยงค์ ดัดแปลงมาสอนเด็กในฐานกิจกรรมศิลปินแห่งชาติสัญจร ณ มรภ.เชียงใหม่

“ที่ครูมานี่ไม่คิดว่าตัวเองเป็นศิลปินแห่งชาติ ความเป็นศิลปินแห่งชาติ ยกให้กับคุณพ่อคุณแม่กับคุณครุซึ่งท่านควรจะได้แต่ท่านไปแล้ว และคิดว่าเราเป็นแค่คุณครูคนหนึ่งไม่ได้คิดว่าเป็นศิลปินแห่งชาติ”ครูเล็กกล่าวด้วยน้ำเสียงสั่นเครือ

อ.ประเมษฐ์   บุณยะชัย ศิลปินแห่งชาติ ด้านการแสดงโขน ที่จับมือร่วมกับครูเล็ก ในโครงการศิลปินแห่งชาติสัญจร จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า อยากมาโครงการศิลปินแห่งชาติสัญจรทุกครั้ง แต่ติดภารกิจเรืองโขน ทำให้มาด้วยไม่ได้ทุกครั้ง ส่วนครูเล็ก เห็นแล้วท่าน ทำงานด้วยความยากลำบาก ต้องปรับการสอนเด็กๆ   เพราะเวลาน้อย เราจะใช้มาตรฐานเดิมๆ ไม่ได้ จึงต้องปรับ ให้เข้าสถานการณ์และศักยภาพของครูเล็ก และตนเองในฐานะผู้ช่วย มีความตั้งใจเหมือนครูเล็ก  ที่มองว่าเรามีโอกาสและได้รับโอกาสมาแล้ว จึงอยากถ่ายทอดให้เยาชนต่อไป อย่าลืมว่านาฎศิลป์ไทยเป็นเครื่องแสดงศิลปวัฒนธรรมของชาติ ถ้าเรามีหน้าที่ไม่ทำหน้าที่นี้ให้ให้สมบูรณ์ ก็ถือว่าบกพร่อง ยิ่งเมื่อได้รับเลือกให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ก็คิดว่าอะไรที่ทำประโยชน์ให้ประเทศได้ ก็จะทำ ทำอย่างดีที่สุด

อ.ประเมษฐ์ บุณยะชัย(ซ้าย)และอาจารย์ รัจนา พวงประยงค์

“ความคิดของเรามองว่า ศิลปินแห่งชาติเป็นตำแหน่งที่ได้รับการยกย่อง แต่จริงๆแล้ว ความเป็นครูเรามีอยู่ตลอดเวลา ครูบาอาจารย์ของพวกเราก็เป็นครูจริงๆ ให้ทุกอย่างทั้งความรัก วิชาความรู้  ระเบียบวินัย กริยามารยาท ท่านได้จากในวังอย่างไร ก็มาสอนเราแบบนั้น เพราะฉะนั้น เรื่องของนาฎศิลป์ ไม่ใช่ได้แค่การฟ้อนรำอย่างเดียว แต่ได้ทุกอย่าง สิ่งหนึ่งที่มาสอนเราจะสอดแทรกเรื่องกริยามารยาท เคารพครูบาอาจารย์ ความรู้เข้าใจเรื่องจารีตประเพณี เพราะครูบาอาจารย์ของเรา ไม่ได้คิดว่าเป็นมนุษย์อย่างเดียว แต่เป็นความเชื่อตามศาสนาพราหมณ์ สิ่งที่สำคัญที่สุดให้มีความจงรักภักดีในสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะถ้าสถาบันฯไม่ให้ความสำคัญกับศิลปะ ไม่ว่าโขนหรือรำไทย ก็คงอยู่ไม่ได้ เพราะจะอาศัยการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างเดียวก็คงไม่ไหวที่จะดำรงสืบทอด “อ.ประเมษฐ์กล่าว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผลงาน'ตรี อภิรุม' ราชานิยายลึกลับสยองขวัญ

21 พ.ย.2567 - นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กล่าวว่า นายเทพ ชุมสาย ณ อยุธยา ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (นวนิยาย) พุทธศักราช 2562  นามปากกา “ตรี อภิรุม” หรือ “นายเทพ ชุมสาย ณ อยุธยา” เจ้าของผลงาน “นาคี” 

อาลัย! สิ้น 'เทพ ชุมสาย ณ อยุธยา' ศิลปินแห่งชาติ ราชานวนิยายลึกลับสยองขวัญของไทย

แฟนเพจ "ตรี อภิรุม" แจ้งข่าวการเสียชีวิตของ "อ.เทพ ชุมสาย ณ อยุธยา" ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ.2562

'น้าหงา' เขียนถึง ฝรั่งนักล่าอาณานิคม ปล้นชิงเอาสิ่งมีค่า กระทบต่อโลกอย่างไม่คาดไม่เห็นมาก่อน

น้าหงา สุรชัย จันทิมาธร ศิลปินแห่งชาติ โพสต์ข้อความว่า คิดๆเขียนๆไปงั้นแหละครับ ในยุคล่าอาณานิคมที่คนส่วนหนึ่งที่เรียกตัวเอ

ศิลปินแห่งชาติ ชี้บ่อนกาสิโน สิ่งที่ได้คือ เงิน เผยสิ่งที่เสียไป ประเทศชาติพังแน่

วินทร์ เลียววาริณ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กว่า ผมเกิดในยุคจอมพล ป. โตในยุคจอมพลสฤษดิ์และจอมพลถนอม

'เอก รังสิโรจน์-สำรวย รักชาติ' ร่ำไห้เปิดใจหลังสิ้นครู 'ฉลอง ภักดีวิจิตร'

เอก รังสิโรจน์ และ สำรวย รักชาติ 2 ผู้กำกับละครดังคนสนิท เผยรู้สึกเสียใจอย่างมากสิ้น ฉลอง ภักดีวิจิตร ศิลปินแห่งชาติเจ้าของสโลแกน ระเบิดภูเขา เผากระท่อม ฉลอง ภักดีวิจิตร หรือที่คนในวงการนิยมเรียก อาหลอง ผู้กำกับชั้นครู เจ้าของรางวัล ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ผู้กำกับ-ผู้สร้างภาพยนตร์และละครโทรทัศน์) พ.ศ.2556 ถึงแก่กรรมอย่างสงบ ในวัย 93 ปี