ถ้าพูดถึงข้าวไทย คนมักจะนึกถึงแต่ข้าวภาคกลาง และข้าวหอมมะลิที่มีถิ่นปลูกหลักในภาคอีสาน แต่สำหรับภาคใต้ คนยังไม่ค่อยรับรู้ว่ามีข้าวสายพันธุ์ดีๆ โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่เป็นข้าวพื้นเมืองจำนวนมากมาย กว่า 100 สายพันธุ์ หรือรู้จักเพียงแค่ข้าวสังข์หยด แต่ในความเป็นจริงยังมีข้าวสายพันธุ์พื้นเมืองอื่นๆของภาคใต้ที่มีความโดดเด่นทั้งในแง่คุณค่าทางอาหาร และรสชาติความอร่อย ด้วยเหตุนี้ กรมการข้าวจึงได้เข้าไปส่งเสริมการพัฒนาข้าวพันธุ์พื้นเมืองของภาคใต้ ซึ่งแหล่งปลูกหลักๆอยู่ที่จ.พัทลุง และจ.ตรัง ซึ่งมีข้าวพื้นเมือง ที่ได้รับการยกระดับให้เป็นสินค้า GI ได้แก่ ข้าวสังข์หยด ข้าวเบายอดม่วงตรัง ข้าวหอมกระดังงานราธิวาส และข้าวไร่ดอกข่า
นางจรัญจิต เพ็งรัตน์ รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว กรมการข้าว กล่าวว่า การสร้างความแข็งแกร่งให้กับ “พันธุ์ข้าวพื้นเมือง” เป็นแนวทางที่จำเป็นต่อการเติบโตที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรมข้าวไทย ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้แต่ละชุมชนใช้ความได้เปรียบทางทรัพยากรข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่หลากหลาย มาต่อยอดรังสรรค์ผลิตภัณฑ์ ร่วมกับแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชน ช่วยลดอุปสรรคการแข่งขันบนช่องทางการขายที่มีอยู่ในตลาด และสามารถใช้เป็นเครื่องมือสร้างมูลค่าเมื่อเทียบกับการปลูกพันธุ์ข้าวทั่วไป นอกจากนี้ การส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากการปลูกพันธุ์ข้าวพื้นเมืองยังทำให้ชุมชนได้รับผลกระทบน้อยในช่วงที่สถานการณ์การค้าขายข้าวมีความผันผวน ทั้งยังสามารถช่วยให้เกษตรกรมีอำนาจต่อรองกับผู้กำหนดราคาในท้องตลาดได้อีกด้วย
“ภาคใต้เป็นภูมิภาคที่ยกระดับพันธุ์ข้าวพื้นเมืองได้อย่างมีศักยภาพ และมีพันธุ์ข้าวที่สามารถสร้างมูลค่าหลายสายพันธุ์ ซึ่งปัจจุบันมีหลายจังหวัดที่ให้ความสำคัญกับการใช้พันธุ์ข้าวพื้นเมืองนำการผลิต การตลาด และใช้สร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยมีชนิดพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่เป็นข้าวเจ้าถึง 182 สายพันธุ์ และข้าวเหนียว 14 สายพันธุ์ นอกจากนี้ ยังมีพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ได้การรับรองให้เป็นสินค้า GI และนิยมปลูกสูงได้แก่ ข้าวสังข์หยด ข้าวเบายอดม่วงตรัง ข้าวหอมกระดังงานราธิวาส และข้าวไร่ดอกข่า โดยแหล่งปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือจังหวัดพัทลุง ซึ่งมีพื้นที่เพาะปลูกถึง 507,768 ไร่ มีอำเภอที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญคือ อำเภอเมืองพัทลุง และอำเภอควนขนุน โดยเป็น 2 อำเภอที่มีการเพาะปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองของภูมิภาคอีกด้วย”
นางจรัญจิต กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวพันธุ์พื้นเมืองในพื้นที่ภาคใต้พบว่าวิสาหกิจชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเป็นอย่างสูง คือ 1. วิสาหกิจชุมชนชาวนาพัทลุงจังหวัดพัทลุง 2. วิสาหกิจชุมชนแม่บ้านนาท่อมร่วมใจ จังหวัดพัทลุง ซึ่งมีความโดดเด่นในการปลูกข้าวสังข์หยด จากปัจจัยทางภูมิศาสตร์เมืองลุ่มแม่น้ำทะเลสาบสงขลา จึงมีความอุดมสมบูณ์ด้วยการทับถมของตะกอนลำน้ำ ส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่ทำนาปลูกข้าวเป็นหลัก โดยข้าวพันธุ์ดังกล่าวผ่านระบบจัดการคุณภาพ มาตรฐานสินค้าเกษตรการปฎิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าว (GAP : Good Agricultural Practice of Rice Production) ควบคู่กับความเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ดีต่อสุขภาพผู้บริโภค ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง 3. วิสาหกิจชุมชนนาข้าวแปลงใหญ่ ตำบลนาพละ จังหวัดตรัง 4. วิสาหกิจลาซานสามัคคีคนทำนาโคกสะบ้า จังหวัดตรัง และ 5. วิสาหกิจชุมชนชาวนาตำบลวังคีรี จังหวัดตรัง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวเล็บนก ข้าวนางปิด ข้าวเบายอดม่วง ข้าว กข55 ข้าวเข็มเพชร และข้าวเข็มทอง
โดยเฉพาะข้าวเบายอดม่วงซึ่งเป็นข้าวเจ้าบริสุทธิ์พันธุ์พื้นเมืองที่ได้รับการรับรองสินค้า GI ประจำจังหวัดตรัง ซึ่งมีความโดดเด่นในด้านคุณค่าทางอาหาร เช่น ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง คุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ และการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ซึ่งเหมาะสำหรับการนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ
นางจรัญจิต กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมการข้าวได้ให้การสนับสนุน 5 วิสาหกิจชุมชนผ่านแนวทางต่าง ๆ อาทิ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนชาวนาพัทลุง จังหวัดพัทลุง ได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวและการตรวจคุณภาพข้าว GI วิสาหกิจชุมชนลาซานสามัคคีคนทำนาโคกสะบ้า จังหวัดตรัง และวิสาหกิจชุมชนชาวนาตำบลวังคีรี จังหวัดตรัง ได้รับการสนับสนุนการตรวจคุณภาพข้าว GI ส่วนวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านนาท่อมร่วมใจ จังหวัดพัทลุง ได้รับการสนับสนุนด้านมาตรฐานการบรรจุภัณฑ์ วิสาหกิจชุมชนนาข้าวแปลงใหญ่ ตำบลนาพละ จังหวัดตรัง ได้รับการสนับสนุนด้านเมล็ดพันธุ์ข้าว นอกจากนี้ยังช่วยจัดหาช่องทางในการจัดจำหน่ายที่หลากหลายให้ตรงกับความต้องการตลาดและผู้บริโภค
นายวิสุทธิ์ วิบูลย์พันธุ์ ประธานวิสาหกิจชุมชนชาวนาพัทลุง จังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า วิสาหกิจชุมชนชาวนาพัทลุง ประกอบไปด้วยชาวบ้านในพื้นที่รวม 18 คน 18 ครัวเรือน พื้นที่ปลูกข้าวรวม 970 ไร่ เกษตรกรจะทำการปลูกข้าวด้วยกรรมวิธีอินทรีย์ผสานกับการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เกษตรกรทำนาปีละ 1 ครั้ง มีฤดูกาลเพาะปลูกคือ เดือนกันยายน – มกราคม และเก็บเกี่ยวในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 400 กิโลกรัม/ไร่ โดยปีที่ผ่านมามีผลผลิตรวม 388 ตัน สามารถจำหน่ายข้าวเปลือกได้ตันละ 27,000 บาท โดยกลุ่มสินค้าข้าวที่ขายดีที่สุดและสร้างรายได้ให้กับชุมชนคือ ข้าวสังข์หยด (GI) วิสาหกิจยังมีความพร้อมในการผลิตเพื่อรองรับการบริโภคด้วยกำลังการผลิตที่สูงผ่านผลิตภัณฑ์ข้าวที่ออกสู่ตลาดภายใต้ “แบรนด์วิบูลย์พันธุ์” ซึ่งแบรนด์นี้มุ่งใช้กลยุทธ์ที่สำคัญทั้งความเป็นข้าวพรีเมียม ความเป็นสินค้าอินทรีย์ที่ผลิตจากแหล่งเพาะปลูกคุณภาพ ไม่มีการใช้ยาหรือสารเคมีในส่วนของการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาเพิ่มมูลค่าข้าวในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อส่งต่อไปถึงผู้บริโภค ได้แก่ ข้าวบรรจุถุง ข้าวสุญญากาศ แชมพู สบู่เหลว สบู่ก้อน โจ๊กข้าวสังข์หยด (รสผัก และรสเห็ด) และขนมขบเคี้ยวที่ทำจากข้าวสังข์หยด (รสธรรมชาติ) อีกทั้งยังได้ผลักดันผลิตภัณฑ์ข้าวให้ก้าวสู่สินค้าโมเดิร์นเทรดสำหรับผู้ประกอบการห้างค้าปลีกและค้าส่ง เพื่อนำไปจัดจำหน่าย อาทิ เมญ่า ไลฟ์สไตล์ ช้อปปิ้ง เซ็นเตอร์ เชียงใหม่ และในอนาคตที่ บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (แม็คโคร) พร้อมเดินหน้ายกระดับผลิตภัณฑ์ข้าวผ่านกลยุทธ์ทางการตลาดที่ครบวงจรการจัดจำหน่าย ผ่านออนไลน์ อาทิ เฟซบุ๊ก เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าได้ง่ายเพิ่มมากขึ้น
นางสาวโชติกา ทองขุนคำ ประธานวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านนาท่อมร่วมใจ จังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า กรมการข้าว ได้ส่งเสริมการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการต่อยอดผลิตภัณฑ์ข้าวให้มีมูลค่าสูงด้วยแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากข้าวผ่านนวัตกรรมและเทคโนโลยีในเพิ่มมูลค่าให้ข้าวที่หลากหลายให้ตรงใจผู้บริโภค โดยการใช้ข้าวสังข์หยด (GI) ข้าวพันธุ์พื้นเมืองของภาคใต้ โดยวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านนาท่อมร่วมใจ ประกอบไปด้วยชาวบ้านในพื้นที่รวม 10 คน 10 ครัวเรือน พื้นที่ปลูกข้าวรวม 37 ไร่ เกษตรกรจะทำการปลูกข้าวด้วยกรรมวิธีอินทรีย์ผสานกับการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จำเป็น ผ่านระบบจัดการคุณภาพ มาตรฐานสินค้าเกษตรการปฎิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าว (GAP : Good Agricultural Practice of Rice Production) ข้าวควบคู่ระบบสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เกษตรกรทำนาปีละ 1 ครั้งมีฤดูกาลเพาะปลูกคือ เดือน กันยายน – มกราคม และเก็บเกี่ยวในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 400 กิโลกรัม/ไร่ โดยปีที่ผ่านมามีผลผลิตรวม 14.8 ตัน สามารถจำหน่ายข้าวเปลือกได้ตันละ 27,000 บาท โดยกลุ่มสินค้าข้าวที่ขายดีที่สุดและสร้างรายได้ให้กับชุมชนคือ ข้าวสังข์หยด (GI)
นอกจากนี้ความโดดเด่นของวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านนาท่อมร่วมใจ คือ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ ข้าวสังข์หยด (GI) ใช้ในการต่อยอดเป็นอาหารอิตาเลียนที่ส่งความสุขในรูปแบบของแป้งการทำพิซซ่า ซึ่งเป็นแนวคิดในการต่อยอดความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ ให้เป็นสินค้าขึ้นชื่อประจำชุมชน ที่ใช้ความโดดเด่นของข้าวสังข์หยดให้มีกลิ่นที่หอมเป็นเอกลักษณ์ของข้าวคล้ายใบเตยที่ทำให้ผู้รับประทานได้ความอร่อย พร้อมกับสรรพคุณที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ และยังมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ให้เป็นสินค้าพรีเมียมเพื่อส่งต่อไปถึงผู้บริโภค ได้แก่ ข้าวบรรจุถุง ข้าวสุญญากาศ และข้าวเกรียบข้าวสังข์หยด อีกทั้งยังได้ผลักดันผลิตภัณฑ์ข้าวให้ก้าวสู่ตลาดสินค้าเพื่อนำไปจัดจำหน่าย อาทิ ศูนย์ OTOP พัทลุง และผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อเข้าถึงสินค้าให้ผู้บริโภคเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา
นายเธียรชัย โออินทร์ ประธานวิสาหกิจลาซานสามัคคีคนทำนาโคกสะบ้า ตำบลโคกสะบ้า จังหวัดตรัง เปิดเผยว่า ชุมชนได้รับการสนับสนุนองค์ความรู้จากกรมการข้าวในการต่อยอดข้าวให้มีคุณภาพที่มีราคาสูง ซึ่งมีการปลูกข้าวพื้นเมือง 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย ข้าวเล็บนก ข้าวเข็มเพชร ข้าวเข็มทอง และข้าวเบายอดม่วง (GI) โดยวิสาหกิจ ลาซานสามัคคีคนทำนาโคกสะบ้า ประกอบไปด้วยชาวบ้านในพื้นที่รวม 110 คน 110 ครัวเรือน พื้นที่ปลูกข้าวรวม 600 ไร่ เกษตรกรจะทำการปลูกข้าวด้วยกรรมวิธีอินทรีย์ผสานกับการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จำเป็น ทำนาปีละ 1 ครั้ง มีฤดูกาลเพาะปลูกคือเดือน สิงหาคม – มกราคม และเก็บเกี่ยวในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 400 กิโลกรัม/ไร่โดยปีที่ผ่านมามีผลผลิตรวม 240 ตัน สามารถจำหน่ายข้าวเปลือกได้ตันละ 19,000 บาท โดยกลุ่มสินค้าข้าวที่ขายดีที่สุดและสร้างรายได้ให้กับชุมชนคือ ข้าวเบายอดม่วง (GI) วิสาหกิจยังมีความพร้อมในการผลิตเพื่อรองรับการบริโภคด้วยกำลังการผลิตที่สูง ผ่านผลิตภัณฑ์ข้าวที่ออกสู่ตลาด ความเป็นสินค้าอินทรีย์ที่ผลิตจากแหล่งเพาะปลูกคุณภาพ
นอกจากนี้ วิสาหกิจฯ ยังมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาเพิ่มมูลค่าให้ข้าวด้วยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ต่าง ๆ ได้แก่ ข้าวบรรจุถุง ข้าวสุญญากาศ ข้าวแต๋นธัญพืช แป้งขนมจีน และน้ำนมข้าวเบายอดม่วง อีกทั้งยังได้ผลักดันผลิตภัณฑ์ข้าวให้ก้าวสู่ตลาดสินค้า เพื่อนำไปจัดจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ อาทิ เฟซบุ๊ก ซึ่งเป็นช่องทางออนไลน์ที่เข้าถึงผู้บริโภคได้หลากหลายมากขึ้น
นางกุหลาบ หนูเริก ประธานวิสาหกิจชุมชนนาข้าวแปลงใหญ่ ตำบลนาพละ จังหวัดตรัง เปิดเผยว่า ชุมชนมุ่งเน้นการปลูกและพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวด้วยการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของเกษตรกร โดยวางระบบการผลิตและการบริหารจัดการในแนวทางเดียวกัน เพื่อประหยัดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พร้อมนำเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทุกขั้นตอนเป็นการเพิ่มอำนาจการต่อรองของเกษตรกรตลอดกระบวนการผลิต เพื่อยกระดับพื้นที่ชุมชนนาพละ ซึ่งผลิตภัณฑ์ข้าวเป็นที่ต้องการของตลาดและผู้บริโภค มีข้าวพื้นเมือง 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย ข้าวเล็บนก ข้าวนางปิด ข้าวเบายอดม่วง และข้าว กข55 ด้วยเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดี และแหล่งเพาะปลูกที่สร้างผลิตภัณฑ์ข้าวได้มีคุณภาพที่หลายสายพันธุ์ ช่วยพัฒนาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
“วิสาหกิจชุมชนนาข้าวแปลงใหญ่ ตำบลนาพละ ประกอบไปด้วยชาวบ้านในพื้นที่รวม 56 คน 56 ครัวเรือนพื้นที่ปลูกข้าวรวม 898 ไร่ เกษตรกรจะทำการปลูกข้าวด้วยกรรมวิธีอินทรีย์ผสานกับการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จำเป็น เกษตรกรทำนาปีละ 1 ครั้ง มีฤดูกาลเพาะปลูกคือเดือน สิงหาคม – มกราคม และเก็บเกี่ยวในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 400 กิโลกรัม/ไร่ โดยปีที่ผ่านมามีผลผลิตรวม 360 ตัน สามารถจำหน่ายข้าวเปลือกได้ตันละ 19,000 บาท โดยกลุ่มสินค้าข้าวที่ขายดีที่สุดและสร้างรายได้ให้กับชุมชนคือ ข้าวเบายอดม่วง (GI) วิสาหกิจยังมีความพร้อมในการผลิตเพื่อรองรับการบริโภคด้วยกำลังการผลิตที่สูง โดยใช้กลยุทธ์ที่สำคัญทั้งเรื่องคุณภาพที่สูงกว่าตลาด ความเป็นสินค้าอินทรีย์ที่ผลิตจากแหล่งเพาะปลูกที่ไม่มีการใช้สารเคมี พร้อมทั้งมีผลิตภัณฑ์ที่จัดจำหน่าย อาทิข้าวบรรจุถุง ข้าวสุญญากาศ ขนมคุ้กกี้ เค้ก และสแน็กบาร์ อีกทั้งยังได้นำไปจัดจำหน่าย อาทิ ศูนย์ OTOP ตรัง สิริบรรณ ช็อปปิ้งเซ็นเตอร์ สำนักงานสหกรณ์การเกษตรเมืองตรัง และยกระดับผลิตภัณฑ์ข้าวในการจัดจำหน่ายผ่านออนไลน์เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าได้ง่ายเพิ่มมากขึ้น
นางสาวกมลศรี พลบุญ ประธานวิสาหกิจชุมชนชาวนา ตำบลวังคีรี จังหวัดตรัง เปิดเผยว่า กรมการข้าวได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการต่อยอดผลิตภัณฑ์ข้าวให้มีมูลค่าเพิ่มส่งต่อผู้บริโภคด้ายการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆจากการปลูกข้าวพื้นถิ่นของชุมชนวังคีรี โดยมีข้าวพื้นเมือง 3 สายพันธุ์ ประกอบด้วย ข้าวเล็บนก ข้าวเข็มทอง และ ข้าวเบายอดม่วง โดยวิสาหกิจชุมชนชาวนา ตำบลวังคีรี ประกอบไปด้วยชาวบ้านในพื้นที่รวม 25 คน 25 ครัวเรือนพื้นที่ปลูกข้าวรวม 130 ไร่ เกษตรกรจะทำการปลูกข้าวด้วยกรรมวิธีอินทรีย์ผสานกับการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ทำนาปีละ 1 ครั้งมีฤดูกาลเพาะปลูกคือเดือน กันยายน – ธันวาคม และเก็บเกี่ยวในช่วงเดือน มกราคม ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 400 กิโลกรัม/ไร่ โดยปีที่ผ่านมามีผลผลิตรวม 52 ตัน สามารถจำหน่ายข้าวเปลือกได้ตันละ 19,000 บาท โดยกลุ่มสินค้าข้าวที่ขายดีที่สุดและสร้างรายได้ให้กับชุมชนคือ ข้าวเบายอดม่วง (GI)
นอกจากนี้ ยังมีความโดดเด่นคือการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ข้าวเบายอดม่วง (GI) เป็นกาแฟสำเร็จรูปข้าวเบายอดม่วง ซึ่งเป็นแนวคิดในการต่อยอดความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ ให้เป็นสินค้าขึ้นชื่อประจำชุมชนที่ใช้ความโดดเด่นของข้าวเบายอดม่วง ที่มากด้วยสรรพคุณจากสารต้านอนุมูลอิสระและสารฟิโนลิคสูง มีประโยชน์ต่อสุขภาพป้องกันโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคเบาหวาน และยังสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาต่อยอดแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้แก่ ข้าวบรรจุถุง ข้าวสุญญากาศ ขนมคุ้กกี้ ทองม้วน และโรตีกรอบ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ชวน' ชี้การเมืองปี 68 สภาแข็งโป๊กไม่มีล่ม เตือนรบ.อย่าประมาทนักร้อง ระวังซ้ำรอยเศรษฐา
'ชวน' ชี้การเมืองปี 68 เสียงรัฐบาลในสภาแข็งเป๊กไม่มีล่ม ใครโดดประชุมโดนหักเงินครั้งละ2หมื่น เตือนอย่าประมาทนักร้องเรียน ยอมรับ ‘ปชป.’ มีทั้งเป๋-ไม่เป๋ เผยไม่มีกำหนดวางมือ ปัดตอบลง สส.สมัยหน้าต่อ
"วราวุธ" ย้ำ พม. ห่วงใย เหตุน้ำท่วมใต้ กำชับเยียวยากลุ่มเปราะบาง
วันที่ 21 ธันวาคม 2567 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวง พม. ดำเนินการขับเคลื่อนศูนย์บริหารการดูแลกลุ่มเปราะบางจากภัยพิบัติ
มูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์ ส่งมอบความช่วย สู่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในจังหวัดปัตตานี
มูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์ เดินหน้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ ส่งมอบอาหารแห้งและขนมขบเคี้ยวกว่า 100 ลังใหญ่ ให้กับชาวบ้านในจังหวัดปัตตานี หลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสถานการณ์น้ำท่วมในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
ประกาศฉบับสุดท้าย เตือนฝนถล่ม 8 จังหวัดใต้ เรือเล็กงดออกจากฝั่ง
เมื่อเวลา 05.00 น. ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก ออกประกาศฉบับที่ 9 ซึ่งเป็นฉบับสุดท้ายเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ในวันที่ 16 ธันวาคม 2567 โดยมีใจความว่า
'อิ๊งค์' ร่อนข้ามน้ำท่วมใต้ ยกครม.เยือนมาเลย์
นายกฯ เกาะติดน้ำท่วมใต้ ยืนยันลงพื้นที่แต่เป็นช่วงฟื้นฟู นำรมต.เยือนมาเลเซีย 15-16 ธ.ค. กระชับความร่วมมือระหว่างสองประเทศ
กรมอุตุฯออกประกาศ ฉ.13 ตอนบนอากาศลด 1-3 องศาฯ 12 จว.ใต้ฝนตกหนัก มีผล 16 ธ.ค.
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับที่ 13 เรื่อง อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย