แนะศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์-SEA ตอบโจทย์ แก้ไขปัญหาพื้นที่ลุ่มน้ำยม เขื่อนแก่งเสือเต้น

ภาพจาก เพจ :อุทยานแห่งชาติแม่ยม-แก่งเสือเต้น

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย แนะ ศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์(SEA) ตอบโจทย์แก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งของพื้นที่ลุ่มน้ำยม เพื่อลดความขัดแย้ง หาทางออก สร้างหรือไม่ควรสร้าง เขื่อนแก่งเสือเต้น

4ก.ย.2567- ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊กว่า

ศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์(SEA) ตอบโจทย์แก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งของพื้นที่ลุ่มน้ำยม...เพื่อลดความขัดแย้ง..

1.หากบอกว่าต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นกั้นลำน้ำยมเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งบริเวณจังหวัดในพื้นที่ลุ่มน้ำยม นั่นคือ การเอาคำตอบมาตั้งเป็นโจทย์ จึงมีทาง ออกแค่ 2 ทางเท่านั้นคือสร้างหรือไม่ควรสร้าง..yes or No!

2.แต่หากตั้งโจทย์ใหม่ว่า"ต้องการบริหารจัดการลุ่มน้ำยมเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งในพื้นที่จังหวัดพะเยา แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก."จะทำให้มีคำตอบเกิดขึ้นเป็นทางเลือกมากมาย หนึ่งในนั้นมีการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นด้วย ซึ่งในส่วนของภาครัฐจะต้องเลือกคำตอบที่ดีที่สุดที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สังคมและสุขภาพของประชาชนน้อยที่สุด

3.ดังนั้นรัฐบาลต้องให้หน่วยงานที่มีความเป็นกลางทางวิชาการมาทำการศึกษาเพื่อประเมินสิ่งแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ในระ ดับพื้นที่หรือSEA (Strategic Environmen tal Assessment)ซึ่งผลการศึกษาจะเป็น การสนับสนุนการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้แน่ใจว่าประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนต่างๆได้รับการพิจารณาอย่างมีประสิทธิภาพแล้วสามารถใช้กำหนดนโยบาย แผน และแผนงานต่อไปได้

4.SEAจะช่วยบอกว่าต้องทำโครงการอะไรบ้างก่อนหรือหลังเพื่อสามารถป้องกันการเกิดน้ำท่วม น้ำแล้งในจังหวัดพื้นที่ลุ่มน้ำยม โดยจะต้องก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยา กรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สังคมและสุข ภาพของประชาชนน้อยที่สุด อย่างมีเหตุมีผลและมีความยั่งยืน รวมทั้งต้องมีความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมด้วย
...ซึ่งการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น อาจต้องสร้างหรือไม่สร้างก็ได้...

5.ทำการศึกษาไม่เกิน1ปีโดยหน่วยงานที่เป็นกลางทางวิชาการ ข้อมูลต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้..เน้นจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของนักวิชาการ(Technical hearing)ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชา ชน (Public hearing)ของคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำและท้ายน้ำของพื้นที่ลุ่มน้ำยม...เสนอทางเลือกของโครงการและนำความเห็นของนักวิชาการและประ ชาชนในพื้นที่มาประมวล เพื่อกำหนดเป็นนโยบายของรัฐ เดินหน้าได้ทันที..ทั้งนี้ให้ใช้วิชาการและความเห็นประชาชนส่วนใหญ่เป็นคำตอบ..
ทั้งนี้ห้ามประท้วง..เดินขบวน..

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นักวิชาการ' ยกมาตรฐานรถบัสทัศนศึกษาในยุโรป กับ โศกนาฎกรรมไฟไหม้รถบัสนักเรียน

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า

'เรียงหิน' อ้างโดนต้านเขื่อนทำแก้น้ำท่วมยาก ชี้ทำเขื่อนถูกกว่าใช้งบช่วยเหลือทุกปี

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยสส.พรรคเพื่อไทย อาทิ นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ สส.สุโขทัย เขต 1 นายชูศักดิ์ คีรีมาศทอง ส.ส.สุโขทัย เขต 2 นายนพพล เหลืองทองนรา

'นักวิชาการ' อัดจนท.ปล่อยปละละเลย ปลูกพืช ทำเกษตรบนภูเขา สาเหตุหลักน้ำท่วมรุนแรง

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊กว่า

เตือนควันไฟไหม้ โรงงานพลาสติกและเคมีภัณฑ์ มาบตาพุด อันตรายสารก่อมะเร็ง

เกิด ไฟไหม้ บริเวณ Plant VCM1 ภายในโรงงานบริษัทไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด ในพื้นที่นิคมมาบตาพุด จ.ระยอง ทำให้เกิดกลุ่มควันสีขาวและสีดำปริมาณมาก