บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ ARV ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ชั้นนำของไทย ได้รับการคัดเลือกตีพิมพ์ผลงาน “เทคโนโลยีติดตามบุคคลด้วยเครือข่ายกล้องอัจฉริยะ (Multi-Camera People Tracking)” จากการเข้าร่วมประกวดผลงานวิจัยในหัวข้อ “Online Multi-camera People Tracking with Spatial-temporal Mechanism and Anchor-feature Hierarchical Clustering” จากการแข่งขันในงาน “AI City Challenge” ภายใต้งานประชุมวิชาการ Computer Vision and Pattern Recognition Conference 2024 (CVPR) ซึ่งเป็นงานประชุมวิชาการชั้นนำระดับโลกในด้านคอมพิวเตอร์วิทัศน์ (ศาสตร์ที่ใช้ในการเข้าใจว่าคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจภาพหรือวิดีโอในรูปแบบเดียวกับที่ระบบการมองเห็นของมนุษย์) และได้รับเสียงตอบรับอย่างดีจากผู้เข้าร่วมงาน
ผลงานวิจัยชิ้นนี้นำเสนอการพัฒนาระบบติดตามบุคคลจากเครือข่ายกล้องวงจรปิดแบบเรียลไทม์ สามารถทำงานได้อย่างแม่นยำ ได้ในหลากหลายสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นออฟฟิศ โรงงาน หรือ บ้าน โดยอัลกอริทึมของผลงานชิ้นนี้ได้รับการประเมินผลโดยบริษัทและแล็บวิจัยชั้นนำจากทั่วโลก การเข้าร่วมแข่งขันนี้ช่วยให้ ARV บรรลุเป้าหมายในด้านการวัดผลประสิทธิภาพของอัลกอริทึม ซึ่งจะทำให้ทางทีมสามารถรู้จุดเด่น จุดด้อย และความสามารถของเทคโนโลยี จากนั้น ARV จะนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพเทคโนโลยีนี้ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ซึ่งความสำเร็จนี้สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของ ARV ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ พร้อมตอกย้ำความมุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีล้ำสมัยเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน
ดร.ธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด (ARV) เปิดเผยว่า ทีม Machine Learning ของ ARV ได้มีการวิจัยและพัฒนาอัลกอริทึมของเทคโนโลยีติดตามบุคคลด้วยเครือข่ายกล้องอัจฉริยะ (Multi-Camera People Tracking) เพื่อนำมาเพิ่มเป็นฟีเจอร์ใหม่ให้กับทางระบบ DeepZoom ซึ่งเป็นโซลูชันของ ARV ที่มีความโดดเด่นด้านการติดตามวัตถุจากกล้องวงจรปิดให้มีประสิทธิภาพและความสามารถมากยิ่งขึ้น พร้อมตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว ด้วยกลไกเชิงพื้นที่และเทคนิคการจัดกลุ่มแบบลำดับชั้น ช่วยให้ระบบสามารถติดตามบุคคลได้อย่างแม่นยำแม้ในสภาพแสงน้อย หรือสภาพแวดล้อมที่วุ่นวาย เพื่อยกระดับความปลอดภัยและการเฝ้าระวังให้กับธุรกิจ องค์กร หรือประเทศชาติอย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น
ดร.ธนา กล่าวเพิ่มเติมว่า เทคโนโลยีติดตามบุคคลด้วยเครือข่ายกล้องอัจฉริยะ (Multi-Camera People Tracking) กำลังกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของธุรกิจในหลากหลายด้าน ที่ไม่ได้เป็นเพียงแค่เครื่องมือในการเฝ้าระวังความปลอดภัยแต่ยังเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยจุดเด่นของเทคโนโลยีติดตามบุคคลด้วยเครือข่ายกล้องอัจฉริยะนี้ ประกอบด้วย
การผสานรวมอัลกอริทึมล้ำสมัยหลากหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน ครอบคลุมทั้ง การตรวจจับวัตถุ (Object Detection) ด้วยเทคโนโลยี AI ที่ใช้ในการตรวจจับวัตถุ เช่น มนุษย์ รถยนต์ อาคาร ในรูปภาพหรือวิดีโอ การติดตามวัตถุ (Object Tracking) เป็นกระบวนการต่อเนื่องจาก Object Detection ที่ช่วยลดการใช้ทรัพยากรจากการประมวลผล การประมาณท่าทางของมนุษย์ (Human Pose Estimation) เป็นการติดตามบุคคลในรูปภาพ พร้อมตรวจจับการเคลื่อนไหวท่าทางของมนุษย์ทั้งในรูปภาพหรือวิดีโอ การระบุตัวตนซ้ำ (Re-identification) คือ การระบุบุคคลที่เคยปรากฏตัวในภาพหรือวิดีโอ และการเชื่อมโยงกล้อง (Camera Association) เชื่อมโยงกล้องวงจรปิดหลายตัวเพื่อเห็นภาพรวมการเคลื่อนไหวของบุคคลได้อย่างต่อเนื่องจากเครือข่ายกล้องวงจรปิดหลายตัว
การใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่และเวลา (Spatial and Temporal Data) เป็นเทคนิคสำคัญที่ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำและครอบคลุมพื้นที่ได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น ช่วยให้ระบบสามารถระบุตำแหน่งที่แน่นอน และการติดตามการเคลื่อนไหวแบบเรียลไทม์ สามารถใช้งานได้ในหลากหลายสถานที่ เช่น อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โรงงานอุตสาหกรรม สถานที่สาธารณะ ฯลฯ ให้มีความสามารถในการทำงานที่ซับซ้อนและแม่นยำมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการทำงานร่วมกันของกล้องหลายตัวแบบเรียลไทม์ ซึ่งมีประโยชน์ในการติดตามวัตถุหรือบุคคล การวิเคราะห์พฤติกรรม และการตรวจจับเหตุการณ์ผิดปกติ
นอกจากนี้ ARV ยังมุ่งมั่นที่จะตอบสนองนโยบายของรัฐบาลไทยในการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยวางเป้าหมายที่จะพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ให้สามารถใช้งานได้จริงในหลากหลายภาคส่วน เช่น ภาคการแพทย์ ภาคการเกษตร ภาคการขนส่ง และภาคพลังงาน อีกทั้ง ARV ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยี Multi-Camera People Tracking อย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการขยายขอบเขตการใช้งาน เพื่อนำเสนอโซลูชันที่ครบวงจรและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สภาผู้บริโภคเผย 3 ปี พบคนไทยเสียหายจากภัยออนไลน์สูงถึง 65,000 ล้านบาทต่อปี!
สภาผู้บริโภคเผย 3 ปี พบคนไทยเสียหายจากภัยออนไลน์สูงถึง 65,000 ล้านบาทต่อปี หรือประมาณ 180 ล้านบาทต่อวัน ครึ่งแรกปี 2567 สถิติร้องเรียนสูงถึง 1,386 กรณี จากช่องทางเฟสบุ๊คสูงสุด เตรียมเปิดเวทีสัมมนาใหญ่ “โครงการสานพลังอาเซียนบวกสาม เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในเศรษฐกิจดิจิทัล และปัญญาประดิษฐ์” ครั้งแรกในอาเซียน อัพเดทกลโกง ถกหาความร่วมมือที่เข้มแข็ง 29-30 ส.ค.นี้
กรอบการพัฒนา AI Roadmap ขององค์กร
ในยุคที่ AI เป็นประเด็นสุดร้อนแรงในทุกวงการ องค์กรต้องการได้ชื่อว่าได้ นำ AI มาใช้งานแล้ว เพื่อสร้างภาพลักษณ์ความทันสมัย และ มีประสิทธิภาพ มีความพยายามส่งคนไปอบรมใช้งาน Chatbot เพื่อช่วยทำงานด้านการตลาด การใช้วาดรูป วาดกราฟ หรือ ช่วยจัดทำเอกสารวิเคราะห์รายงานต่าง ๆ