สปสช. เทงบ 1,514 ล้านบาท จ่ายชดเชย “ค่าบริการผู้ป่วยใน” ให้ รพ.ระบบบัตรทองภายในสิ้นเดือน ส.ค. นี้ จากข้อมูลเบิกจ่ายบริการตั้งแต่ 1 – 15 ส.ค. ที่ผ่านมา พร้อมนำงบคงเหลือรวมกับงบผู้ป่วยใน และงบที่ได้จากการปรับเกลี่ยงบประมาณ เตรียมเพิ่มเติมในเดือน ก.ย. นี้
นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 26 ส.ค. ที่ผ่านมา สปสช. ได้มีประชุมหารือ “ข้อเสนอบริหารการจ่ายค่าบริการผู้ป่วยใน ปีงบประมาณ 2567” การพิจารณาครั้งนี้ ยึดหลักการตามมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7/2567 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2567 ที่รับทราบสถานการณ์กรณีผลงานบริการมากกว่าเป้าหมายที่ได้รับงบประมาณ ปีงบประมาณ 2567 และได้เห็นชอบการปรับอัตราการจ่ายกรณีการให้บริการในเขตพื้นที่ ตามประมาณผลงานบริการที่จะเกิดขึ้น ในปีงบประมาณ 2567 ภายใต้วงเงิน Global budget ระดับเขตพื้นที่ ตั้งแต่ข้อมูลที่ส่งขอรับค่าใช้จ่ายในเดือนมิถุนายน 2567 ในอัตรา 7,000 บาท/adjRW และเห็นชอบในหลักการให้ สปสช. ใช้เงินกันระดับประเทศกรณีมีงบประมาณเหลือหลังจ่ายเพิ่มเติมให้กับหน่วยบริการที่ได้รับผลกระทบ DRG ฉบับที่ 6 สำหรับเขตที่มีวงเงิน Global budget ไม่เพียงพอจ่ายในอัตรา 8,350 บาท/adjRW
ประกอบกับมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8/2567 วันที่ 5 กรกฎาคม 2567 ในการเห็นชอบการปรับเกลี่ยงบประมาณทุกรายการนำไปชดเชยรายการที่ติดลบ ยกเว้นรายการที่เป็นปลายปิด เพื่อให้งบประมาณในรายการต่างๆ ได้ใช้หมดในเวลาที่ใกล้เคียงกันและไม่ให้มีเงินเหลือค้าง ในกรณีงบประมาณยังไม่เพียงพอ ให้ของบกลางเพิ่มเติมระหว่างปีงบประมาณ 2567
นพ.จเด็จ กล่าวต่อว่า สำหรับงบบริการผู้ป่วยใน ปีงบประมาณ 2567 สปสช. ได้กำหนดงบประมาณตั้งต้นจำนวน 40,269.39 ล้านบาท ที่ผ่านมาใช้งบประมาณไปแล้ว 39,488.55 ล้านบาท ปัจจุบันคงเหลืองบประมาณ 780 ล้านบาท สำหรับการจ่ายในช่วงเดือน ส.ค.- ก.ย. 2567 อย่างไรก็ตามจากเงินคงเหลือของงบประมาณที่ได้กันไว้ เพื่อเพิ่มเติมให้กับหน่วยบริการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับเปลี่ยน DRG ฉบับที่ 6 สำหรับเขตที่มีวงเงิน Global budget ไม่เพียงพอ จำนวน 1,514 ล้านบาท จะเป็นงบที่นำมาเพิ่มเติมเพื่อจ่ายค่าบริการผู้ป่วยในให้กับโรงพยาบาลในเดือน ก.ย. ต่อไป
“จากงบประมาณจำนวน 1,514 ล้านบาทนี้ ขณะนี้ สปสช. ได้ทำการประมวลผลการเบิกจ่ายค่าบริการผู้ป่วยใน โดยเป็นข้อมูลบริการตั้งแต่วันที่ 1-15 สิงหาคม 2567 ซึ่งในส่วนนี้ สปสช. จะทำการโอนจ่ายให้กับหน่วยบริการภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2567 นี้ โดยไม่รอสิ้นปีงบประมาณ และเงินที่เหลือจะนำไปรวมกับงบผู้ป่วยในที่คงเหลือ เพื่อเบิกจ่ายให้กับโรงพยาบาลในช่วงกลางเดือนกันยายนต่อไป” เลขาธิการ สปสช. กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลตีปี๊บ ปชช. ปลื้ม '30 บาท รักษาทุกที่' รับบริการร้านยาชุมชนอบอุ่น
ายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า “นโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่” บริการที่ “ร้านยาคุณภาพ”
รัฐบาลเดินหน้าเฟส 3 นโยบาย 30 บาท รักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว
นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เปิดเผยความคืบหน้า ตามที่รัฐบาลได้เดินหน้านโยบาย “30 บาท รักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว” โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2567
พท. จัดใหญ่! '10 เดือนที่ไม่รอ ทำต่อให้เต็ม 10' ตีปี๊บผลงาน 'รัฐบาลเศรษฐา'
'เพื่อไทย' เตรียมจัดงาน '10 เดือนที่ไม่รอ ทำต่อให้เต็ม 10' สรุปผลงาน 'รัฐบาลเศรษฐา' 3 พ.ค.นี้ เดินหน้าเติมนโยบายที่สัญญาไว้กับประชาชน พร้อมเปิดตัวผู้สมัครนายก อบจ.
รัฐบาล อวดผลสำเร็จ 30 บาทรักษาทุกที่ใน 8 จว.นำร่อง ลั่นลดความเหลื่อมล้ำ
โฆษกรัฐบาล อวด ความสำเร็จ 30 บาทรักษาทุกที่ ใน 8 จังหวัด ระบุ นายกฯ มุ่งมั่นดำเนินการขยายผลให้บริการด้านการสาธารณสุขต่อเนื่อง
ลุยเฟส 2 โครงการ ‘30 บาทรักษาทุกที่ด้วยบัตร ปชช. ใบเดียว' เพิ่มอีก 8 จังหวัด เดือน มี.ค.นี้
นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข เป็นประธานมอบนโยบายและปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายดิจิทัลสุขภาพ “30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”