แสดงอุปรากรจีนเฉลิมพระเกียรติ'เบญจกตัญญุตา'

เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567  คุณหญิงณัฐิกา วัธนเวคิน อังอุบลกุล ประธานสหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ มีความมุ่งมั่นจจัดแสดงอุปรากรจีนชุด 24  ยอดกตัญญู ซึ่งเป็นตำนานของจีนกล่าวกันมากว่าพันปีและเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมมาก เป็นอุปรากรจีนที่แสดงถึงเรื่องคุณธรรม จริยธรรม สอนให้เข้าใจว่า ความกตัญญูนั้นไม่มีวันตาย และสรรเสริญผู้กตัญญูรู้คุณ  อุปรากรเรื่องนี้ได้นำออกมาแสดงครั้งแรกในงานกาล่าดินเนอร์เฉลิมพระเกียรติฯ “เบญจกตัญญุตา” ภายใต้โครงการ “สสธวท รวมใจ เทิดเอกลักษณ์แห่งปัญจมังกร จารึกความกตัญญูต่อแผ่นดิน” ที่ห้องแกรนด์ บอลรูม โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ  ซึ่งเนรมิตรเป็นโรงอุปรากรจีนยิ่งใหญ่

การนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางฯ พระบรมราชินี ทรงเป็นประธานงานกาล่าดินเนอร์เฉลิมพระเกียรติฯ   โดยมี คุณหญิงณัฐิกา วัธนเวคิน อังอุบลกุล ประธานสหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ และประธานจัดงานฯ พร้อมด้วยคณะกรรมการจัดงานฯ ผู้แทนองค์กรภาคีร่วม ได้แก่ สภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มูลนิธิเกียรติร่วมมิตรเพื่อการศึกษา และสมาคมสตรีสัมพันธ์ เฝ้าฯ รับเสด็จฯ เมื่อค่ำวานนี้

ที่สำคัญการจัดงานกาล่าดินเนอร์ฯ ครั้งนี้ รายได้ส่วนหนึ่ง ทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อพระราชทานเป็นทุนประเดิมในการจัดสร้างถาวรวัตถุเฉลิมพระเกียรติฯ อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความกตัญญูต่อสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ต่อไป

การแสดงอุปรากรจีนครั้งประวัติศาสตร์ เปิดฉากถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ยอดกตัญญู ด้วยการแสดงอุปรากรจีนชุด 24  ยอดกตัญญู การแสดงที่ 1 ประกอบด้วย 8  เซียนถวายพระพรและการแสดงอุปรากรจีนภาคภาษาไทย (งิ้วไทย) เรื่องกตัญญูเหนือยศศักดิ์..ฮ่องเต้ฮั่นเหวินตี้ชิมพระโอสถ การแสดงช่วงที่ 2  เป็นการแสดงอุปรากรจีนภาคภาษาไทย  เรื่อง ฮัวมู่หลาน..ออกศึกแทนบิดา  นอกจากนี้ มีการแสดงขับร้องบทเพลงจากนักร้องกิตติมศักดิ์ จำนวน 18 บทเพลง อาทิ เพลงบ้านเกิดเมืองนอน,ลอดลายมังกร ,MY WAY ,อสงไขย,ใกล้รุ่ง,คนเดียวในดวงใจ,La vie en Roseฯลฯ

ภายในงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทอดพระเนตร นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา 28  กรกฎาคม 2567 , นิทรรศการอุปรากรจีนภาคภาษาไทย ตำนานจีน 24  ยอดกตัญญู ภายใต้เรื่องราว 24  บทเรียน สื่อคุณธรรม จริยธรรม สอนให้เข้าใจถึงธรรมชาติการใช้ชีวิตอย่างถูกต้องถือเป็นหลักสากล เชิงพระพุทธศาสนาแบ่งบุญคุณผู้มีอุปการะเป็น 5  ประเภท คือ อุปัตติคุณ บุญคุณที่ให้กำเนิดชีวิตและร่างกาย, อุปถัมภคุณ บุญคุณที่เลี้ยงดูให้ข้าวให้น้ำให้ที่อยู่, อารักขคุณ บุญคุณที่เฝ้าปกป้องรักษาไม่ให้เกิดอันตราย, สาสคุณ บุญคุณที่ให้การสั่งสอนให้ความรู้เกิดความสามัคคี และปิยคุณบุญคุณที่ให้ความรักความเมตตา

คุณหญิงณัฐิกา วัธนเวคิน อังอุบลกุล ประธาน สสธวท  และประธานจัดงานฯ กล่าวว่า งานครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6  รอบ และเพื่อต่อเนื่องจากวัตถุประสงค์เมื่อครั้งสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ในพ.ศ. 2525  จึงนำตำนาน “24  ยอดกตัญญูของจีน” ซึ่งยกย่องเชิดชูความกตัญญู ทั่วโลกเล่าขานมาทุกยุค จัดแสดงอุปรากรจีนภาคภาษาไทยสร้างแรงบันดาลใจและจุดประกายความคิดให้ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญเรื่องความกตัญญูกตเวที อันเป็นคุณธรรมที่แสดงถึงอารยธรรมของประเทศ น้อมนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง

“ อีกหนึ่งเป้าหมายสำคัญการรวมใจกันสร้างซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติฯ จารึกความกตัญญูต่อสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช  จุดที่ 1  บนถนนเจริญกรุงช่วงบริเวณศาลาเฉลิมกรุงลงมาถึงบริเวณสะพานดำรงสถิต และจุดที่ 2 บริเวณห้าแยกหมอมี ภายใต้ 5 แนวคิดหลัก คือ พระมหากษัตริย์ทรงได้รับการสดุดีเป็นมังกรแห่งมวลมนุษย์, นักษัตรประจำปีพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, ปีพ.ศ. 2567  เป็นนักษัตรปีมังกร ตามสุริยคติ, วัดเล่งเน่ยยี่ หรือ มังกรกมลาวาส เป็นหนึ่งในศูนย์รวมใจพุทธศาสนิกชน ท้ายสุดถนนเจริญกรุง ได้ชื่อว่า “ถนนสายมังกร” โดยจะนำรายได้งานกาล่าดินเนอร์ฯ ส่วนหนึ่ง ทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อพระราชทานเป็นทุนประเดิมในการจัดสร้างซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติฯ “ ประธาน สสธวท. กล่าว

บรรยากาศภายในห้องแกรนด์บอลรูมคับคั่งไปด้วยผู้ร่วมงานกว่า 500  คน  ทั้งสมาชิกองค์กรเครือข่ายจากหลากหลายวงการ ทูตานุทูตแขกต่างประเทศ ผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน นายกองค์กรสมาชิกทั่วประเทศพร้อมใจกันแต่งกายชุดผ้าไทยสีเหลืองอย่างพร้อมเพรียงแสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ  การจัดงานครั้งนี้เป็นไปอย่างงดงาม สมพระเกียรติ และสืบสานการแสดงอุปรากรจีนมรดกวัฒนธรรมล้ำค่า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยิ่งใหญ่งิ้วไทยเฉลิมพระเกียรติ'กษัตริย์ยอดกตัญญู'

เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6  รอบ 28  กรกฎาคม 2567  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  สหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ (สสธวท) โดยคุณหญิงณัฐิกา วัธนเวคิน อังอุบลกุล ประธานสหพันธ์ฯ

'พินิจ' ปลื้มศิลปะสุดล้ำ อุปรากรจีนเปลี่ยนหน้ากาก มรดกวัฒนธรรมเสฉวนโชว์วันตรุษจีน

ที่วิทยาลัยเพาะช่าง เขตพระนคร กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ บพิตรพิมุข จักรวรรดิ ร่วมกับ สภาวัฒนธ

'ลีลาศรื่นรมย์' เปิดฟลอร์ย้อนความทรงจำ

สภากาชาดไทย โดย คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม คณะกรรมการอำนวยการจัดงานกาชาดประจําปี 2566 เหรัญญิกสภากาชาดไทย และประธานในพิธี คุณหญิงณัฐิกา วัธนเวคิน อังอุบลกุล ประธานสหพันธ์ฯ และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์คณะกรรมการแผนกจัดการแสดงบนเวทีลีลาศสวนลุมพินี 

ยกย่องสตรีนักธุรกิจอนุรักษ์โลกตัวอย่าง

สหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ (สสธวท) ริเริ่มจัดพิธีประกาศเกียรติคุณรางวัลสหพันธ์ฯ มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกย่อง เชิดชู สตรีนักธุรกิจและนักวิชาชีพที่ประสบความสำเร็จให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่รุ่นต่อไป และเป็นแรงบันดาลใจแก่สตรีผู้ประกอบธุรกิจและนักวิชาชีพรุ่นใหม่  

ประกาศรางวัลสุดยอดสตรีผู้นำธุรกิจอนุรักษ์โลก

สหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ จัดพิธี“ประกาศเกียรติคุณรางวัลสหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ ประจำปี 2565”ณ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ   

ยกย่อง 90 ต้นแบบ 'สยามพัสตรา ภูษาสง่าศิลป์'

ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงพระวิริยะอุตสาหะปฏิบัติพระราชกรณียกิจยาวนานกว่า 6  ทศวรรษ ในการส่งเสริมและพัฒนาผ้าไทยสิ่งทอของจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกือบสูญหายให้กลับมาเป็นอาภรณ์อันทรงคุณค่า เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่คนไทยและคนทั่วโลกยอมรับ