เส้นทางสักการะหลวงปู่ทวด ย้อนตำนานพระเถระ

หลวงปู่ทวด เป็นพระสงฆ์ที่มีผู้เลื่อมใสศรัทธามากที่สุดรูปหนึ่ง มีการสร้างรูปเหมือนหลวงปู่ทวดและพระหลวงปู่ทวดในทุกภูมิภาค สถานที่ที่เป็นที่รู้จักและลูกศิษย์นิยมไปกราบสักการะเป็นอย่างมาก คือ หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ จ.ปัตตานี แต่ยังมีวัดที่มีประวัติศาสตร์และตำนานที่เกี่ยวข้องกับหลวงปู่ทวดอีกมาก กรมการศาสนา (ศน.) กระทรวงวัฒนธรรม เปิดกิจกรรม “ตามรอยเส้นทางธรรมแห่งศรัทธา : เส้นทางสักการะพระเถราจารย์ หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด” เป็นโครงการสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ  โดยนางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รมว.วัฒนธรรม เป็นประธาน พร้อมด้วย นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา นายสมนึก พรหมเขียว ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา เข้าร่วมกิจกรรมที่วัดต้นเลียบ จ.สงขลา  อันเป็นสถานที่ฝังรกของหลวงปู่ทวด

นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล  กล่าวว่า กรมการศาสนาได้ต่อยอดกิจกรรม “ตามรอยเส้นทางธรรมแห่งศรัทธา : เส้นทางสักการะพระเถราจารย์ หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด”  โดยการนำ Soft Power ด้านศาสนา สอดคล้องกับนโยบาย วธ. ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากและส่งเสริมศักยภาพชุมชนคุณธรรมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิต พร้อมทั้งส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน พัฒนาความรู้ คู่คุณธรรม ถือเป็นครั้งแรกที่ตนมาร่วมตามรอยเส้นทางสักการะหลวงปู่ทวด เห็นถึงพลังความเลื่อมใสศรัทธา นอกจากศาสนา สงขลายังมีอัตลักษณ์ท้องถิ่น วิถีชีวิตที่งดงาม ศิลปวัฒนธรรม อาหารถิ่น  เป็นทุนวัฒนธรรม

“ สมเด็จพะโคะหรือหลวงปู่ทวด เป็นที่รู้จักของชาวไทยทุกภูมิภาค ในฐานะพระเถระที่มีอิทธิปาฏิหาริย์และอภิญญาแก่กล้าจนได้สมญาว่า “หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด” ประวัติอันพิสดารของท่านเล่าสืบกันมายาวนาน และขยายวงกว้างออกไปกลายเป็นความเชื่อความศรัทธา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวมิติศาสนาจึงเปิดเส้นทางสักการะหลวงปู่ทวดที่ จ.สงขลา ซึ่งมีความศรัทธาต่อหลวงปู่ทอด เริ่มตั้งแต่เกิด เติบโต บรรพชา จำพรรษา ปฏิบัติธรรม ประกอบด้วยวัดต้นเลียบ สำนักสงฆ์นาเปล วัดดีหลวง วัดราชประดิษฐาน หรือวัดพะโคะ ซึ่งแต่ละวัดมีประวัติที่น่าสนใจต่อการศึกษาเรียนรู้ และมีความเชื่อของท้องถิ่นหากได้มากราบไหว้จะเสริมสร้างบุญบารมีด้วย อยากชวนมาท่องเที่ยวในเชิงศาสนา ซึ่งในแต่ละภาคจะมีความศรัทธาที่ต่างกัน ภาคเหนือสักการะครูบา  ภาคอีสานศรัทธานาคา นาคี  ส่วนภาคกลางเคารพนับถือสมเด็จพระพุฒาจารย์โต วธ.จะส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้พื้นที่ “ รมว.วธ กล่าว

สำหรับพิกัดวัดในเส้นทางศรัทธา ประกอบด้วยวัดต้นเลียบที่มีความเชื่อด้านรากฐานชีวิตที่มั่นคง เมื่อ 400 ปีก่อน วัดแห่งนี้เป็นสถานที่ฝังรกของหลวงปู่ทวดบริเวณโคนต้นเลียบ หากได้มากราบไหว้สักการะบูชาสถูปที่ฝังรกของหลวงปู่ทวดที่นี่ ช่วยเสริมสร้างบุญบารมีและเป็นมงคลแห่งชีวิต

ส่วนสำนักสงฆ์นาเปล มีความเชื่อทางด้านเลี้ยงลูกง่าย เป็นเด็กดี และสุขภาพแข็งแรง  เล่ากันว่านายหูและนางจันทร์ พ่อแม่นำลูกน้อยผูกเปลไว้ใต้ต้นมะม่วงบริเวณทุ่งนาแล้วไปทำนา กลับขึ้นมาเห็นพญางูจงอางตัวใหญ่มาขดพันอยู่รอบเปล รีบหาดอกไม้มาขอขมาเทพยดาให้ปกปักคุ้มครองลูก หลังจากนั้นพญางูจึงคลายลำตัวออกจากเปลเลื้อยหายไป แต่ปรากฏมีฟองน้ำลายพญางู แข็งตัวเป็นลูกแก้วอยู่ที่อกลูกชาย ต่อมากลายเป็นลูกแก้วคู่บารมีหลวงปู่ทวด  ปัจจุบันที่สำนักสงฆ์นาเปลสร้างประติมากรรมปูนปั้นจำลองเหตุการณ์เอาไว้

 ส่วนวัดดีหลวง มีความเชื่อด้านการศึกษา การงาน การเงิน เป็นวัดที่หลวงปู่ทวด เมื่ออายุ 14 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ศึกษาวิชา โดยมีสมภารจวง อดีตเจ้าอาวาส เป็นผู้บรรพชาสามเณรให้ สถูปของสมภารจวงประดิษฐานอยู่ด้านหน้าอุโบสถ ถ้ามากราบไหว้จะสร้างบุญบารมีและเป็นมงคลด้านมีความเฉลียวฉลาด รอบรู้และประสบความสำเร็จทางการศึกษา

อีกวัดสำคัญในเส้นทาง วัดราชประดิษฐาน หรือวัดพะโคะ มีความเชื่อด้านความเจริญรุ่งเรือง เป็นสถานที่จำพรรษาของหลวงปู่ทวด มีโบราณสถาน โบราณวัตถุประดิษฐานอยู่มากมาย เช่น พระสุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งหลวงปู่ทวดได้นำลูกแก้วคู่บารมีมาบรรจุไว้บนยอดเจดีย์อีกด้วย แล้วยังมีบ่อน้ำซักจีวร ที่หลวงปู่ทวดใช้ซักจีวรของท่าน เชื่อว่า เป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ใช้รักษาโรคภัยไข้เจ็บให้หาย  ภายในวัดมีวิหารรอยพระบาท เป็นสถานที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทข้างซ้าย เชื่อว่า เป็นรอยที่หลวงปู่ทวด แสดงอิทธิปาฏิหาริย์เหยียบไว้ก่อนจะหายไปจากวัดพะโคะ

สำหรับปี 2567 นี้ ศน. ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนเที่ยวมิติศาสนา  5 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางสักการะพระธาตุประจำปีเกิดจังหวัดเชียงใหม่  ,เส้นทางสักการะพระเถราจารย์ หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด จังหวัดสงขลา , เส้นทางสักการะ 4 ครูบา 5 พระเจ้า 9 พระธาตุ จังหวัดน่าน ,เส้นทางตามรอยพระเถราจารย์ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต (โต พรหมรังสี) จ.พระนครศรีอยุธยา และเส้นทาง 9 ทางเชื่อมแห่งศรัทธา นาคา-นาคี จ.อุดรธานี ประชาชนที่สนใจสามารถเที่ยวตามรอยได้ตามความศรัทธา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชาวมาเลย์แห่ขอพรหลวงปู่ทวด วัดพะโคะสงขลา

วันหยุดสุดสัปดาห์ นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียและนักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางนำครอบครัวมากราบไหว้ขอพรหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว

เจริญพระพุทธมนต์ถวายพระราชกุศลพระพันปีหลวง

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสิงห์บุรี จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระราชกุศล และจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ โดยทำความสะอาดบริเวณลานวัด อุโบสถ วิหาร และศาลาการเปรียญ และปลูกต้นไม้ผลและไม้ประ

วธ.จัดงาน'แพรพัสตรา บรมราชินีนาถ' เฉลิมพระเกียรติ พระพันปีหลวงฯ

1 ส.ค. 2567 ที่หอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) จัดแถลงข่าวงานแพรพัสตรา บรมราชินีนาถ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2567

สร้าง'ศาสนทายาท' สานพระราชปณิธานในหลวง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาและทรงสนพระทัยศึกษาธรรมของพระพุทธเจ้าที่ได้ทรงแสดงสั่งสอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพระไตรปิฎก ทรงมีพระราชประสงค์ส่งเสริมการเรียนการสอนพระบาลีเพื่อให้เข้าถึงพระไตรปิฎก

ศน.จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ 3 ภาษา ถวายพระราชกุศล

26 ก.ค.2567 - เวลา 10.00 น. ที่มหาวชิราลงกรณบาลีเถรวาทราชวิทยาลัย จ.นครปฐม พระธรรมวชิราจารย์ เจ้าอาวาสวัดสุวรรณาราม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร

'วันอาสาฬหบูชา' เปิดพื้นที่อนุรักษ์วิถีแห่งศรัทธา

วันอาสาฬหบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ปีนี้ ตรงกับวันที่ 20 กรกฎาคม 2567  ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสน อาสาฬหบูชา ย่อมาจากคำว่า "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่ 4 ตามปฏิทินของประเทศอินเดีย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย มักตรงกับเดือน ก.ค. หรือ