เที่ยวหน้าฝน ยลวิถีบนยอดดอยโมซัมเบียง

บ้านป๋าแป๋ ทุ่งนาเขียวขจี

สายฝนที่ตกชุ่มฉ่ำในช่วงนี้หลายๆคงจะพับแพลนเดินทางเพราะไม่อยากจะต้องเผชิญกับความเปียกปอน แต่เชื่อเถอะหากได้ลองเปิดใจเที่ยวแล้วจะตกหลุมรักหน้าฝนขึ้นมาทันทีเลย หากยังไม่รู้ว่าจะไปที่ไหนดี แนะนำให้มาเปิดประสบการณ์ที่แม่ฮ่องสอน จังหวัดที่เต็มไปกลิ่นอายของธรรมชาติอันเขียวขจี วิถีชนชาวเขา และอาหารน่าลิ้มลองหลากหลายเมนู

บ้านละอูบ ท่ามกลางสายหมอก

 สำหรับจุดหมายปลายทางของการไปเยือนแม่ฮ่องสอนในทริปนี้คือ บ้านละอูบ ต.ห้วยห้อม อ.แม่ลาน้อย หมู่บ้านของชาวเขาเผ่าลเวือะ หรือ ลั๊วะที่ตั้งอยู่บนยอดดอยสูงโอบล้อมไปด้วยธรรมชาติอันสวยงาม แต่ก่อนจะไปถึงปลายทางเราอยากจะพาทุกคนเดินทางไปบ้านละอูบโดยใช้เส้นทางสายใหม่ บ้านป่าแป๋ อ.แม่สะเรียง -บ้านละอูบ อ.แม่ลาน้อย  ซึ่งเส้นทางนี้ได้มีการปรับปรุงเมื่อต้นปีที่ผ่านมา เป็นถนนคอนกรีตตลอดเส้น ระยะทาง 33 กิโลเมตร

จากสนามบินเชียงใหม่เส้นทางที่คดโค้งไปมาตามแนวเขาทำให้บางช่วงต้องหลับเพื่อสยบอาการเวียนหัวกันเลยทีเดียว เมื่อเข้าเขตบ้านป่าแป๋ อ.แม่สะเรียง แวะชมความสวยงามของสมเด็จพระพุทธนิรมิตต์ศรีวชิระมงคล พระภาวนาชิรปราการ(พระอาจารย์บารมีสุรยทโธ) พระพุทธองค์สีขาวที่ตั้งอยู่ท่ามกลางหุบเขาน้อยใหญ่  เรามองจากจุดชมวิวทางเข้าบ้านป่าแป๋ยังมองเห็นชัดถึงความงดงาม

โฮมสเตย์บ้านขาวละว้า แบบดั้งเดิม

ขับรถต่อมาอีกสักพักก็เข้าสู่ข้านป่าแป๋ เพื่อกินข้าวกลางวันที่นี่ ความเหนื่อยล้าจากการเดินทางมาราวๆ 2 ชั่วโมง รู้สึกสดชื่นขึ้นมาทันทีด้วยวิวทุ่งนาขันบันไดอันเขียวขจีตัดกับฉากหลักของภูเขาและฟ้าสีสดใส ชาวบ้านที่นี่ตอนรับอย่างอบอุ่นพร้อมเรียกให้เราและเพื่อนร่วมทริปมากินข้าวที่เป็นเมนูพื้นถิ่นง่ายๆ ให้อิ่มท้อง

หลังจากกินข้าวเสร็จเรามาเดินชมรอบหมู่บ้านที่นี่ ส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผาลั๊วะ มีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายโดยมีการยึดหลักการใช้ชีวิตแบบพอเพียงด้วยการทำนาข้าวขันบันได ซึ่งเป็นแนวทางของในหลวงรัชกาลที่ 9 สายน้ำที่ไหลผ่านตามคันล่องในหมู่บ้านใส่ราวกับกระจก ฝูงปลาชุกชุม คงเปรียบได้กับท่อนเพลงๆหนึ่งที่ว่า ในน้ำทีปลา ในนามีข้าว คงเห็นภาพได้ชัดเจนที่บ้านป่าแป๋

บ้านละอูบบนยอดดอยโมซัมเบียง

พร้อมลุยกับเส้นทางสายใหม่ บ้านป่าแป๋ -บ้านละอูบ ระหว่างเดินทางในวันนั้นโชคดีที่ฟ้าเป็นใจ ท้องฟ้าสีสดใสตลอดทั้งวัน เส้นทางยังคงคอนเซ็ปท์การเดินทางขึ้นดอยคือต้องคดโค้งบ้าง แต่ไม่เท่ากับความสวยข้างทางที่มีทิวเขา และนาขับบันได วิถีทำนาของชาวเขาที่ไม่มีพื้นที่ราบ อีกทั้งยังลดปัญหาการกัดเซาะหน้าดินในยามที่ฝนตกน้ำหลาก เรียกได้ว่าตลอดเส้นทางได้ขมนาขันบันไดกันอย่างเพลิดเพลินเลยทีเดียว

หญิงชาวละว้า

ในที่สุดก็เดินทางมาบ้านละอูบ เดิมทีมีชื่อว่า โมซัมเบียง แปลว่า ภูเขาโมซัมเบียง ต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อละอูบ ชาวบ้านเล่าว่า มีบริวารเจ้าเมืองลเวือะ ได้แบก “อูบ” ภาษาไทย แปลว่า ภาชนะ ใส่ของมีค่า แต่เมื่อมาถึงที่โมซัมเบียงแล้วขนไปไม่ได้เลย “ละ” ภาษาไทย แปลว่า ทิ้ง  ต่อมาเลยมีการเรียกว่า บ้านละอูบ ในปัจจุบัน และส่วนใหญ่ชาวเขาที่นี่แทนตัวเองว่าเป็นชาวละว้า เพราะให้ความรู้สึกที่สุภาพและอ่อนโยน

ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ

ต้อนรับการมาเยือนของเราด้วยการแสดงของเด็กชาวลั๊วะสนุกสนาน และมีการแต่งกายของผู้หญิงละว้าที่มีเอกลักษณ์ โดยสวมเสื้อและกระโปรงทอมือ ประดับด้วย ฮังยาง คือ สร้อยลูกปัดสีส้ม หรือสีแดง และสีอื่นๆ สื่อถึงของแทนใจระหว่างชาวกะเหรี่ยงและชาวละว้าที่เคยอยู่พื้นที่เดียวกัน หรือเป็นของแทนใจของชายหนุ่ม หากเป็นหญิงที่แต่งงานก็จะสร้อยพดด้วงเงินแท้ ซึ่งเป็นสินสอดของฝ่ายชาย นอกจากนี้ยังต้องสวมปลอกแขนปลอกขา ดูมีสไตล์มากๆ

กาแฟอารายิก้า แบรนด์ย่าทา คอฟฟี่

บ้านละอูบ ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ยวมฝั่งซ้าย ห่างจากอ.แม่บาน้อย 25 กิโลเมตร บนเขาสูงชันโอบล้อมไปด้วยป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบชื้น  ทำให้ที่นี่มีอากาศเย็นตลอดทั้งปี และยิ่งช่วงหน้าฝนก็จะมีหมอกให้ได้ชมอีกด้วย เอกลักษณ์ของชาวละว้า บ้านละอูบ มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนที่อื่น ทำให้ผู้ที่มาเยือนจะได้สัมผัสธรรมชาติและเรียนรู้วิถีของชาวละว้าไปพร้อมๆกัน

เครื่องเงิน หัตถกรรมของขาวละว้า

สำหรับที่พักในค่ำคืนนี้เป็นโฮมสเตย์  กฎการเข้าพักโฮมเสตย์ของที่นี่คือ นักท่องเที่ยวจะอยู่บ้านของชาวละว้าเป็นหลัง อย่างเราและเพื่อนร่วมทริปอีก 7-8 คน ก็ต้องแบ่งนอน 2 คนต่อบ้าน 1 หลัง เพื่อให้ทุกคนที่ได้มไดใช้ชีวิตร่วมกับเจ้าของบ้านสัมผัสวิถีของชาวละว้าอย่างใกล้ชิด  ซึ่งการสร้างบ้านของชาวละว้าก็มีเอกลักษณ์ หากเป็นบ้านแบบดั้งเดิมจะเป็นบ้านไม้ยกพื้นสูง มุงหลังคาด้วยหญ้าแฝก มีระเบียงที่ทอดยาวจากตัวบ้าน และมีเพียง 1 ห้องนอน โดยภายในห้องนอนจะมีเตาไฟโบราณ เหนือเตาไฟทำเป็นที่เก็บเครื่องครัว เรียกว่า กระด้ง ที่ยังคงมีให้เห็นและทำเป็นโฮมสเตย์ แต่การเปลี่ยนแปลงย่อมผันเปลี่ยนไปตามกาลเวลา บ้านแบบดั้งเดิมก็มีการแทนที่ด้วยบ้านสไตล์โมเดิร์นสมัยใหม่ร่วมอยู่ด้วย

ถนนเข้าสู่บ้านละอูบ

ในช่วงเย็นพระอาทิตย์ลาลับขอบฟ้า อากาศเริ่มเย็นสบาย ทุกคนเตรียมพร้อมมากินมื้อเย็นด้วยกัน กับเมนูพื้นถิ่น โต๊ะสะเบือก ซึ่งคำว่า โต๊ะ หมายถึง เนื้อหมู ส่วนคำว่า สะเบือก หมายถึง ยำ เมนูนี้ถือว่าเป็นอาหารมงคล ที่จะใช้ในงานพิธีสำคัญ มีรสชาติเค็มๆเผ็ดๆ ต้องทานคู่กับน้ำซุปต้มจากเนื้อหมูเข้ากันมากๆ

การแสดงตอนรับ และการแต่งกายของชาวละว้า
 เตาไฟโบราณ กลางบ้าน วิถีดั้งเดิมชาวละว้า

ในช่วงเช้าเจ้าของบ้านจะมาจุดเตาไฟ เพื่อให้ความอบอุ่น เราก็มานั่งห้อยขาที่ชานบ้านรับไอหนาว ชมพระอาทิตย์ขึ้นและทิวทัศน์บ้านเรือบของชาวละว้าท่ามกลางม่านหมอกที่ปกคลุมเขาโมซัมเบียงแห่งนี้ มื้อเช้าอุ่นท้องด้วยข้าวต้มพร้อมกับฝนที่ตกโปรยปรายลงมาให้ความรู้สึกเย็นสบายเหลือเกิน หลังจากนั้นเราไปเดินชมหมู่บ้านเจอชาวบ้านกำลังเตรียมอุปกรณ์ไปทำนา บางก็มานั่งคุยใต้ถุนบ้าน เมื่อเดินผ่านทุกคนต่างยิ้มแย้มทักทายอย่างเป็นกันเอง และมาชมวิถีการตีเหล็กใต้ถุนบ้าน ซึ่งชาวละว้าจะตีขึ้นมาเองจากจอบ เสียม หรือชิ้นส่วนเหล็กเก่านำมาเผาตีขึ้นรูปใหม่เพื่อใช้งาน มาต่อที่การทำเครื่องเงิน งานหัตถกรรมภูมิปัญอันล้ำค่าของชาวละว้าที่สืบทอดมากว่า 100 ปี มีความประณีตงดงามและมีแบบเงินแท้ 100% ซึ่งส่วนใหญ่หญิงสาวละว้ายังสวมใส่เป็นเครื่องประดับ หรือใช้เป็นสินสอดสู่ขอเจ้าสาวอีกด้วย

อากาศยามเย็นสดชื่น

งานฝีมือถือขึ้นชื่ออีกชิ้นหนึ่งคือ ผ้าฝ้ายทอมือ เสื้อผ้าที่ชาวละว้าจะสวมใส่ด้วยสีสัน ลวดลาย ที่สวยงาม  โดยลวดลายที่โดดเด่นของชาวละว้ามี 2 ลาย คือ ลายตวน มาจากลายงูเหลือม ซึ่งเป็นลายที่ศักดิ์สิทธิ์ ทุกคนจะมีผ้าลายติดตัวตั้งแต่แรกเกิดจนวันสุดท้ายของชีวิต นอกจากนี้ยังมีลายไก่ฟ้า ลายมัดหมี่ เป็นต้น ปัจจุบันผ้าทอบ้านละอูบ มีการพัฒนาเป็นสินค้า ทั้งเสื้อ กระเป๋าย่าม สร้อยคอละว้าประดับเหรียญเงิน  

กินข้าวเช้าพร้อมเสียงฝน

ก่อนจากลาบ้านละอูบ อีกสิ่งหนึ่งที่ห้ามพลาดคือ การลิ้มรสกาแฟอาราบิก้า  เพราะที่นี่เป็นอีกแหล่งปลูกกาแฟชั้นเยี่ยม ซึ่งยังได้พัฒนาเป็นสินค้าของชุมชนภายใต้แบรนด์ ย่าทา คอฟฟี่(YaTha Coffee) และกาแฟโมซัมเบียง ที่มีรสชาติกลมกล่อมนุ่มนวล ตลอดการเดินทางผ่านเส้นทางสายใหม่จนได้มาพักที่บ้านละอูบ อบอวนไปด้วยความสุขและความประทับใจ เป็นอีกหมุดหมายในแม่ฮ่องสอนที่ไม่ควรพลาด

.นั่งชิวๆชมวิวเขาโมซัมเบียง
โต๊ะสะเบือก เมนูพื้นถิ่นน่าลิ้มลอง
พระพุทธรูปสีขาว ท่ามกลางหุบเขา
ชมวิธีตีเหล็กของบ้านละอูบ
นาขันบันได ความงดงามของภูมิปัญญาชาวเขา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แม่ฮ่องสอน-ตรัง-อยุธยา ติดเทรนด์เป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวทั่วโลก

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยข้อมูลแนวโน้มการท่องเที่ยวในประเทศไทยจาก Airbnb แพลตฟอร์มการจองที่พักยอดนิยมใน

ชาวสาละวิน ร้อง กสม. หลังถูกอุทยานฯยึดที่ดิน-ดำเนินคดี เรียกค่าเสียหาย 2.3 แสน

ชาวบ้านหมู่บ้านแม่ก๋อน หมู่ที่ 5 ต.แม่คง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน กว่า 20 คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงซึ่งอาศัยอยู่และทำกินในป่าบริเวณนี้มาก่อนอุทยานแห่งชาติสาละวิน ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อ

10 กองทุนสวัสดิการชุมชนดีเด่นรับรางวัล ‘ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์’ (3) กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลแม่ฮี้ จ.แม่ฮ่องสอน “คนเมืองปายสุขภาพดี 80 ปียังแจ๋ว”

ในปี 2567 ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ข้อมูลจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ระบุว่าในปี 2566 ประเทศไทยมีประชากรอายุ

ชาวแม่ลาน้อย รวมพลังค้านเหมืองแร่ฟลูออไรต์

ชาวแม่ลาน้อยรวมพลังค้านเหมืองฟลูออไรต์ ผู้นำท้องถิ่น-ท้องที่-สส.ร่วมต้าน เผยเป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญ-ป่าสมบูรณ์แต่ถูกอ้างเสื่อมโทรม ชุมชนประกาศสู้ตายปกป้องแผ่นดินเกิด