ประเทศไทย นับว่าเป็นหนึ่งในประเทศชั้นนำด้านการให้บริการหัตถการเสริมความงามและศัลยกรรมอันดับต้นๆ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยเคยประเมินว่า ธุรกิจศัลยกรรมและเสริมความงามของไทยปี 2566 มีมูลค่าตลาดสูงประมาณ 71,000-72,000 ล้านบาท ขยายตัวราว 2.3%-3.6% (YoY) ตัวเลขนี้สะท้อนให้เห็นว่าธุรกิจด้านศัลยกรรมและเสริมความงามมีแนวโน้มเติบโตได้ดีเลยทีเดียว
แต่สิ่งหนึ่งที่พ่วงมาพร้อมกับความสวยคือ ขยะ ที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ อาทิ กล่อง ขวดพลาสติก ขวดแก้ว ฯลฯ สอดคล้องกับรายงานของ TRVST ระบุว่า ในแต่ละปีมีขยะที่เกิดจากอุตสาหกรรมความงามทั่วโลกมากกว่า 1.2 แสนล้านชิ้น โดยเฉพาะกลุ่มหัตถการความงาม (Aesthetics Waste) แม้ว่าธุรกิจนี้อาจจะไม่ใช่ส่วนประกอบทั้งหมดที่มีส่วนทำให้เกิดโลกร้อนโดยตรง แต่ในปัจจุบันกลุ่มธุรกิจด้านความงามก็ได้หันมาให้ความสนใจกับเทรนด์ Green Beauty มากยิ่งขึ้น
ด้วยเหตุนี้ เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย บริษัทชั้นนำระดับโลก ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเวชภัณฑ์สำหรับใช้ในคลินิกเสริมความงาม จึงได้ทำโครงการ “Merz Aesthetics Set Zero Aesthetics Waste” ครั้งแรกของโลก ชูแนวคิด Merz Aesthetics WORK for Sustainability ขับเคลื่อนความยั่งยืนในหลากมิติ โดยเฉพาะการจัดการขยะที่เกิดจากหัตถการความงาม ที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ของเมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย เช่น หัว Ultherapy Transducer และกล่องบรรจุภัณฑ์ต่างๆ อย่างถูกวิธี ตามเป้าหมายลดการฝังกลบขยะสู่พื้นผิวโลกให้เป็นศูนย์ (Zero Waste to Landfill) ผ่านความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์คลินิก และพันธมิตร ได้แก่ บริษัท รีไซเคิลเดย์ จำกัด, แบรนด์ควอลี่ และ บริษัท เคอรี่ โลจิสติคส์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อร่วมผลักดันสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนของประเทศไทย
เภสัชกรหญิง กิตติวรรณ รัตนจันทร์ ผู้บริหารสูงสุดบริษัท เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย และสิงคโปร์ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาเก้าปีที่เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย ได้จัดจำหน่ายเวชภัณฑ์เสริมความงามที่ผลิตและนำเข้าจากทวีปยุโรป บริษัทจึงเล็งเห็นถึงปัญหาของขยะที่เกิดจากหัตถการความงาม โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่ 1. หัว Ultherapy Transducer 2.กล่องกระดาษ ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ฉีด 3.เข็มฉีดยาต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ติดเชื้อที่จะมีการจัดทำลายตามกระบวนที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย เมื่อมาจำแนกปริมาณขยะ พบว่า หัว Ultherapy Transducer ที่ใช้แล้ว มีจำนวนมากกว่า 40,000 หัว สามารถนำมาเรียงสูงถึง 3,900 เมตร และกล่องบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ที่หนักรวม 18 ตัน แม้จำนวนตัวเลขจะสะท้อนมุมของธุรกิจที่เติบโต แต่ขยะก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน จึงมีเป้าหมายในการช่วยจัดการขยะได้อย่างถูกวิธีและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
เภสัชกรหญิง กิตติวรรณ กล่าวต่อว่า ดังนั้นเมิร์ซฯ จึงได้จัดทำโครงการนำร่องในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา เพื่อมุ่งดำเนินการตามเป้าหมายลดการฝังกลบขยะสู่พื้นผิวโลกให้เป็นศูนย์ (Zero Waste to Landfill) และสร้างความมั่นใจให้แก่สังคมในการร่วมผลักดันสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนของประเทศไทย โดยจะมีการเก็บกลับขยะหัว Ultherapy Transducer จากคลินิกที่เป็นคู่ค้าที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 12 คลินิก สามารถเก็บกลับได้จำนวน 1,936 หัว จากนั้นจะมีการส่งต่อเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ซึ่งจะมีการแยกส่วนประกอบของหัว Ultherapy Transducer ที่มีพลาสติก 3D และแผงวงจรไฟฟ้า โดยส่วนของพลาสติก 3D จะนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อปรับโฉมออกมาเป็นถังอเนกประสงค์ชื่อว่า มานะ จำนวน 193 ถัง เทียบได้กับการปลูกต้นไม้ได้ 82 ต้น และส่งคืนให้กลับคลินิกที่เข้าร่วมโครงการ ส่วนแผงวงจรไฟฟ้าและกล่องบรรจุภัณฑ์ได้นำเข้าสู่กระบวนรีไซเคิล โดยกล่องบรรจุภัณฑ์ได้รีไซเคิลไปแล้วกว่า 130 กิโลกรัม
“จากการนำร่องของโครงการข้อมูลล่าสุด ได้เทียบเคียงการลดคาร์บอนฟุตพรินต์ไปแล้วถึง 787 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ และภายในปี 2570 ตั้งเป้าที่จะขยายความร่วมมือกับคลินิกคู่ค้าสีเขียวเพิ่มขึ้น 180 แห่ง ซึ่งคาดว่าจะสามารถช่วยกันลดคาร์บอนฟุตพรินต์จากขยะที่เกิดจากหัตถการความงามเท่ากับ 9,000 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์” เภสัชกรหญิง กิตติวรรณ กล่าว
ชนัมภ์ ชวนิชย์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท รีไซเคิลเดย์ จำกัด กล่าวว่า ที่ผ่านมาในการเก็บกลับหัว Ultherapy Transducer จะไม่มีผู้รับซื้อหรือเก็บกลับมารีไซเคิล จึงมีกระบวนการในการจัดการเผาทำลายอย่างถูกต้องตามแนวทางของแต่ละคลินิก และต้องมีกระบวนการในการแยกส่วนประกอบเพื่อให้ได้ส่วนที่สามารถนำไปรีไซเคิลต่อได้ ดังนั้นในการเข้าร่วมโครงการนี้เพื่อเก็บกลับหัว Ultherapy Transducer เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดปริมาณขยะที่เกิดจากกลุ่มหัตถการความงาม โดยเฉพาะหัว Ultherapy Transducer ในการนำมารีไซเคิล และสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้
ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์ นักออกแบบและผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์ควอลี่ กล่าวว่า การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนไปพร้อมกับการรักษ์โลก จึงเป็นที่มาของถังอเนกประสงค์มานะ ซึ่งผลิตมาจากหัว Ultherapy Transducer ที่ใช้แล้ว ที่มีส่วนประกอบที่ซับซ้อน ในกระบวนการจึงแยกส่วนประกอบจึงต้องละเอียดในการแยกส่วนที่เป็นพลาสติก เพื่อนำมารีไซเคิล นับเป็นการสร้างผลิตภัณฑ์จากขยะอีกประเภทหนึ่ง ที่จะเป็นแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนการลดขยะที่เกิดจากกลุ่มหัตถการความงามได้.
————————–
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
PFP มอบคุณค่าที่มากกว่าความอร่อย พร้อมนำเสนอแนวคิด Zero Waste และเทคโนโลยีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในงาน “Green Technology Expo 2024” ร่วมขานรับนโยบายของสหประชาชาติ
พี.เอฟ.พี ผู้นำด้านการผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปครบวงจร ขานรับนโยบายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ด้วยการนำเสนอแนวคิด “Zero Waste”
ขอนแก่น..ต้นแบบแก้ไขขยะมูลฝอย ขับเคลื่อนไทยสู่สังคม Zero Waste
แรงบันดาลใจให้ชุมชนไร้ขยะ เป็นคุณสมบัติสำคัญที่ผู้นำชุมชนต้องสร้างพลังให้ชุมชนแข็งแรง พร้อมที่จะสร้างคนรุ่นใหม่ หาญกล้ากระจายอำนาจสร้างความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี
ปฏิรูประบบจัดการขยะ กทม. ท้าทายความเป็น' Great Governor'
แต่ขยะที่แม้จะอยู่ในถัง หรือนำไปที่ ที่ทิ้งขยะแล้ว ยังมีเบื้องหลังที่จะทำให้เมืองหลวงและประเทศไทย ดูเป็นประเทศที่พัฒนาน่าชื่นชมได้ยิ่งขึ้นอีก ก็คือ "การจัดการแยกขยะ "ขยะที่แยกได้ มีข้อดีคือ การลดปริมาณขยะ นำกลับไปใช้ใหม่ หรือที่เรียกว่ารีไซเคิล และนำมาใช้ซ้ำ ฯลฯลดงลประมาณ ในการบริหารจัดการขยะ ที่ทั้งกระบวนการจัดการต้องใช้งบฯแตะ เกือบหมื่นล้าน ในแต่ละปี(เฉพาะกทม.)
‘อุทยานเบญจสิริ’สวนสาธารณะต้นแบบ Zero Waste
ภาพที่ไม่น่ามองทั้งขยะที่ล้นออกมาจากถัง ขวดน้ำพลาสติกที่ไม่ได้คัดแยก การใช้ถุงพลาสติกอย่างพร่ำเพรื่อ เป็นภาพที่เห็นจนชินตาในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ จากข้อมูลกรุงเทพมหานคร ปี 2564 ขยะที่เกิดขึ้นใน กทม.มีปริมาณ 8,675 ตันต่อวัน มีค่าใช้จ่ายในการกำจัด 7,127 ล้านบาท จัดเก็บค่าธรรมเนียมการกำจัดขยะได้เพียง 512 ล้าน ขณะที่แนวโน้มปริมาณขยะเพิ่มสูงขึ้น