เจาะลึกสายอาชีพ Food Science  ทำอะไรได้มากกว่าที่คิด

ในแต่ละวันคงปฏิเสธไม่ได้ว่าชีวิตของคนเราต้องเกี่ยวข้องกับอาหารตั้งแต่เช้าจรดเย็น  เพราะอาหาร เป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิต  และโลกยุคใหม่ เบื้องหลังของอาหารที่ผลิตให้เราบริโภค   ล้วนมีวิทยาศาสตร์การอาหาร (Food Science) มาเกี่ยวข้อง ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทั้งในเรื่องวัตถุดิบไปจนถึงกระบวนการผลิต  

“วิทยาศาสตร์การอาหารและเทคโนโลยีการอาหารอยู่เบื้องหลังอุตสาหกรรมอาหาร และแทรกอยู่ในทุกจุด ตั้งแต่คัดเลือกวัตถุดิบ การเก็บเกี่ยว วิธีการแปรรูปอาหาร กระบวนการผลิต และกระบวนการต่าง ๆจนไปถึงมือผู้บริโภค” รศ. ดร.สาวิตรี รัตนสุมาวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าว

รศ. ดร.สาวิตรี รัตนสุมาวงศ์

รศ. ดร.สาวิตรี  กล่าวอีกว่า จริงๆแล้ว การเรียน Food Science ไม่ได้ทำให้ผู้เรียนมีความสามารถด้านอาหารเท่านั้น  แต่ยังมีความสามารถทำอะไรได้มากกว่าที่หลายคนคิด  และการเรียนในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารหรือ Food Scienceเมื่อจบไปแล้ว  ไม่จำเป็นต้องเป็นนักวิทยาศาสตร์อาหารที่อยู่ในโรงงานหรือห้องทดลองอย่างเดียว ความจริงแล้วมีสายอาชีพอีกหลายด้านที่เด็ก Food Scienceสามารถทำได้


“เมื่อเด็กในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารเรียนจบแล้วสามารถทำงานได้ในหลากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น นักวิจัยและพัฒนา นักวิชาการ นักการตลาดด้านอาหารและเครื่องดื่มผู้ตรวจสอบคุณภาพอาหาร นักโภชนาการหรือหากสนใจเรื่องของกฎหมายอาหารเป็นพิเศษก็สามารถศึกษาต่อและประกอบอาชีพเป็นนักกฎหมายด้านอาหารและเครื่องดื่มได้  จะเห็นได้ว่าเด็กในสายนี้สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายและเปรียบเสมือนฟันเฟืองที่สำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารให้พัฒนาต่อไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด”

ในการเตรียมความพร้อม เปิดประตูสู่โลกการทำงานรศ. ดร.สาวิตรีกล่าวว่าคนรุ่นใหม่จะต้องออกไปพบกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีทางภาควิชาจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้ตอบโจทย์ต่อโลกปัจจุบันนิสิตต้องมีความสามารถและเท่าทันกับเทคโนโลยีสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่เรียนมาได้รวมทั้งความพร้อมในทักษะซอฟต์สกิล ด้วยการฝึกการทำงานเป็นทีมการทำกิจกรรมร่วมกัน

การแข่งขัน FoSTAT-Nestlé Quiz Bowlก็ถือเป็นการฝึกฝนองค์ความรู้ที่มีอยู่ของนิสิตให้นำมาตอบคำถามที่ครอบคลุมในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารครบทุกมิติและยังฝึกการทำงานเป็นทีมอีกด้วย โดยการแข่งขัน FoSTAT-Nestlé Quiz Bowl  เป็นการแข่งขันตอบปัญหาวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร ที่เปิดพื้นที่ให้นักศึกษาได้แสดงศักยภาพและประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อาหารอย่างเป็นรูปธรรม   รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้ชนะได้รับประสบการณ์การฝึกงานกับบริษัทเนสท์เล่  ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มชั้นนำของโลกและยังได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาของเนสท์เล่ที่ประเทศสิงคโปร์อีกด้วย โดยตลอดระยะเวลา 20 ปีมีนักศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารเข้าร่วมในเวทีการแข่งขันนี้มาแล้วกว่า 6,240 คนตอบรับกระแสความตื่นตัวในวงการวิทยาศาสตร์อาหาร

ทีม FST KUจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คว้ารางวัลชนะเลิศ

โดยในปีนี้ทีม FST KUจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขันตอบปัญหาวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร FoSTAT – Nestlé  Quiz Bowl 2024  และในภาวะที่โลกต้องเผชิญกับสภาพอากาศแปรปรวนเกินคาดเดาที่สำคัญ คือ อาจส่งผลกระทบต่อวัตถุดิบอาหารในอนาคต ได้เป็นโจทย์จุดประกายความคิดให้กับทีม FST KU  จนคว้าชัยมาได้

 นายณภัทร  ดุษฎีวิจัย นิสิตภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากทีม FST KU  กล่าวว่า สนใจปฏิกริยาเคมีและการเปลี่ยนแปลงของอาหารเมื่อผ่านขั้นตอนต่าง ๆ และเผยถึงมุมมองที่น่าสนใจถึงสายอาชีพ Food Science ว่า เราอาจพิจารณาการหาวัตถุดิบทดแทนที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง เช่นวัตถุดิบทดแทนเนื้อสัตว์ อาจจะเป็นแมลงที่โตเร็วกว่าใช้ทรัพยากรน้อยกว่า หรือในด้านการแปรรูปที่ปัจจุบันใช้ไอน้ำเป็นหลักก็อาจต้องใช้ทรัพยากรอย่างอื่นแทน เช่น ไฟฟ้า พลังงานสะอาดหรือทรัพยากรที่หมุนเวียนได้ เช่น ลม แสงแดด เป็นต้น

ณภัทร  ดุษฎีวิจัย

“ดีใจที่ได้มาแข่งขันตอบปัญหาครั้งนี้รวมทั้งการที่ได้โอกาสฝึกงานและดูกระบวนการทำงานของบริษัทระดับสากล จึงอยากเชิญชวนน้อง ๆ ให้เข้ามาร่วมแข่งขันเพราะเป็นการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์อาหารที่ใหญ่ที่สุดระดับประเทศเป็นการทดสอบความรู้ทุกอย่างที่ได้เรียนมา ทั้งฝึกฝนตัวเองทำงานร่วมกับเพื่อนเป็นทีม”ณภัทรกล่าว

นางสาวณัฐิดา ทรงเดชาไกรวุฒิ  นิสิตภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ อีกหนึ่งสมาชิกทีมFST KU กล่าวว่าการได้ไปดูงานเยี่ยมชมโรงงานผลิตไอศกรีมเนสท์เล่ที่บางชันเป็นประสบการณ์ที่ดีมาก ๆ จากที่ได้เคยทำโครงการไอศกรีมตอนที่เรียนอยู่ปี 3มีการใช้เครื่องมือพาสเจอร์ไรซ์ และทำไอศกรีมกันเอง  แต่เมื่อไปเห็นการใช้เครื่องจักรและขั้นตอนการผลิตในโรงงานจริงได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆและเห็นภาพที่ชัดเจนมากกว่าการเรียนในห้องเรียน

ณัฐิดา ทรงเดชาไกรวุฒิ

เส้นทางของเยาวชนไทยเหล่านี้ ยังอีกยาวไกลโจทย์ด้านวิทยาศาสตร์อาหารที่ท้าทายรออยู่เสมอในยุคที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การสนับสนุนวงการวิทยาศาสตร์อาหาร เยาวชนและอนาคตของอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ จึงต้องดำเนินต่อไปเพื่อทุกคนในวันนี้ และในอนาคต.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ดร.ธรณ์' เปิดข้อมูล 'สี่เทพโลมา' ที่จะสู้ 'ปลาหมอคางดำ' หากลงมาสู่ทะเล

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก กรณีปลาหมอคางดำลงทะเล ก็มี 4 เทพจัดการ ว่า